Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23213
Title: | ทัศนคติต่อการบริจาคโลหิตและพฤติกรรมเสี่ยงของนักเรียนมัธยมศึกษาตอยปลายในส่วนถูมิภาคที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคโลหิต |
Other Titles: | Attitude and risk behavior regarding blood donation of secondary school student in provincial regions |
Authors: | ดุษณี วินิจฉัย |
Advisors: | อานนท์ วรยิ่งยง ทัสสนี นุชประยูร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติต่อการบริจาคโลหิต พฤติกรรมเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคโลหิตของ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 1,965 คน จากจังหวัดที่เป็นที่ตั้งของภาคบริการโลหิตแห่งชาติจำนวน 4 จังหวัดคือ ชลบุรี นครราชสีมา เชียงใหม่ และนครศรีธรรมราช เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามส่งไปโรงเรียนที่สุ่มเลือกได้ โดยทางไปรษณีย์ ระหว่างเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2544 ถึง กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 เปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้ Mann – Whitney U – test และ Chi – Square test ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 16-23 ปี (ร้อยละ 87.5) มีน้ำหนักตัวเฉลี่ย 53.1 กิโลกรัม, ร้อยละ 85.3 ไม่มีโรคประจำตัว, ร้อยละ 13.8 เคยบริจาคโลหิต เหตุผลในการตัดสินใจบริจาคโลหิตครั้งแรก คือช่วยเหลือชีวิตเพื่อนมนุษย์ร้อยละ 96.7 และในกลุ่มนักเรียนที่เคยบริจาคโลหิต มีความตั้งใจที่จะบริจาคโลหิตเป็นประจำ ร้อยละ 37.6 ส่วนกลุ่มนักเรียนที่ไม่เคยบริจาคโลหิต มีความตั้งใจที่จะบริจาคโลหิตเป็นประจำเพียง ร้อยละ 8.5 จะมีบริจาคเป็นครั้งคราวร้อยละ 45.9 จากการศึกษาพบว่า นักเรียนที่เคยบริจาคโลหิตและไม่เคยบริจาคโลหิตมีทัศนคติต่อการบริจาคแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และพบว่ามีความแตกต่างกันในเรื่องพฤติกรรมเสี่ยง (ที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคโลหิต) เฉพาะเรื่องการมีเพศสัมพันธ์และการใช้สารเสพติด (การสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนการใช้ของใช้ร่วมกับผู้อื่น (ประเภทของมีคมและแปรงสีฟัน) และการเที่ยวสถานเริงรมย์พบว่าไม่มีแตกต่างระหว่างนักเรียนที่เคยบริจาคโลหิตและไม่เคยบริจาคโลหิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p>0.05) ยกเว้นในเรื่องการใช้มีดโกนร่วมกับผู้อื่นที่พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากเกณฑ์กำหนดคุณสมบัติผู้บริจาคโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย พบว่า ร้อยละ 24.2 ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายมีคุณสมบัติที่บริจาคโลหิตได้ ดังนั้นการศึกษานี้แสดงให้เห็นแนวทางในการจัดหาโลหิตที่ปลอดภัยเพิ่มขึ้นได้ จากนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายได้ โดยสร้างแรงจูงใจ ให้ความรู้เกี่ยวกับการบริจาคโลหิต ซึ่งจะทำให้เด็กนักเรียนเกิดทัศนคติที่ดีต่อการบริจาคโลหิต และรู้จักหลีกเลี่ยงจากพฤติกรรมเสี่ยงที่มีผลต่อการบริจาคโลหิต |
Other Abstract: | The objective of this descriptive study was to evaluate the attitude and risk behavior regarding blood donation among 1,965 secondary school students. The study was conducted in 4 rural provinces where he Regional Blood Transfusion Services of the Thai Red Cross Society are located, i.e. Chonburi, Nakorn Ratchasima, Chiengmai, and Nakorn Srithamaraj. Data were collected through questionnaires, which were sent by mail during December 2001 to February 2002. Mann-Whitney U-test and Chi square test were used to test for significance. Most student were 16-23 years old of age (87.5%) with an average weight of 53.1 kilograms. 8.3% were in good health; 13.8% had past experience of blood donation; 96.7% gave blood by the expectation that blood will save other people ‘live. Among those who donated blood, 37.6% of them intended to become regular blood donor. Among those who had never donated blood ,8.5% of them intended to become regular blood donor in the future while 45.9% intended to donate blood occasionally. There were statistically significant difference between donated and never donated groups in risk behavior related to blood donation, especially sexual relation, smoking , alcohol consumption (p<0.05) Other risk behavior except sharing used blades were not statistically significant different among those two groups (p>0.05). This study also showed that 24.2% of the secondary school students fulfil the national criteria for being blood donors. This group will become long last safe blood donors if more efforts would be done through the head of school mater’ s participation, more education on risk behavior and blood related diseases, the usefulness of blood donation and providing mobile blood collection at school regularly. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เวชศาสตร์ชุมชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23213 |
ISBN: | 9741704437 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Dutsanee_wi_front.pdf | 3.08 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Dutsanee_wi_ch1.pdf | 2.86 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Dutsanee_wi_ch2.pdf | 6.96 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Dutsanee_wi_ch3.pdf | 2.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Dutsanee_wi_ch4.pdf | 11.83 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Dutsanee_wi_ch5.pdf | 5.01 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Dutsanee_wi_back.pdf | 4.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.