Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23229
Title: การศึกษาวิเคราะห์เรื่องเสภาเพื่อการเรียนการสอนวรรณคดีไทย
Other Titles: An analytical study of "Sepa" for Thai literature instruction
Authors: ไพศาล วงษ์ศิริ
Advisors: ประภาศรี สีหอำไพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: เสภา
ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์การวิจัย มี 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษารวบรวมเกี่ยวกับเรื่องเสภาด้านประวัติความเป็นมา วิธีการขับเสภาจากเอกสารและผู้ทรงคุณวุฒิ 2) เพื่อวิเคราะห์ฉันทลักษณ์ด้านการใช้คำและวิเคราะห์ลีลาการขับเสภา 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูภาษาไทยเกี่ยวกับสภาพการเรียนการสอนวรรณคดีที่เป็นบทเสภา วิธีดำเนินการวิจัย คือ 1) ผู้วิจัยศึกษารวบรวมประวัติความเป็นมาของเสภา ประวัติครูเสภา วิธีการขับเสภา การทำกรับและการตีกรับเสภาจากเอกสารและผู้ทรงคุณวุฒิ 2) นำบทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน 4 ประเภท คือ ชม รัก โกรธ โศก ประเภทละ10 บทกลอน มาวิเคราะห์ฉันทลักษณ์ด้านการใช้คำด้วยแบบวิเคราะห์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และนำเทปบันทึกเสียงขับเสภา 4 ประเภท ที่ครูเสภา 2 ท่าน ขับให้เวลาประเภทละ 10 นาที มาวิเคราะห์ลีลาการขับด้วยแบบวิเคราะห์ที่ผู้วิจัยดัดแปลงจากแบบวิเคราะห์พฤติกรรมทางวาจาของแฟลนเดอร์ส (Flanders’ Interaction Analysis Technique) โดยการหาค่าร้อยละ เสนอผลการวิเคราะห์ในรูปตารางและการบรรยาย 3) ส่งแบบสอบถามครูภาษาไทยผู้สอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายในจังหวัดอยุธยา ซึ่งเคยมีการเล่นการขับเสภาในอดีตและในกรุงเทพมหานคร ซึ่งยังมีการเล่นการขับเสภาอยู่ในปัจจุบัน จำนวน 93 คน ด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบธรรมดา นำมาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเสนอผลในรูปตารางและการบรรยาย ผลการวิจัยสรุปว่า จากผลการศึกษาทางเอกสารและผู้ทรงคุณวุฒิได้มีการรวบรวมเรื่องราวต่อไปนี้ คือ 1) การรวบรวมข้อสันนิษฐานความหมายคำว่าเสภาที่ผู้รู้ให้ไว้ ลักษณะของกลอนเสภา มูลเหตุ วิวัฒนาการ เรื่องที่ใช้ขับและแสดง 13 เรื่อง อุปกรณ์การขับ ประวัติครูเสภาในอดีตและปัจจุบัน การละเล่นเกี่ยวกับเสภา การขับเสภาไทยที่เป็นบทสะเทือนอารมณ์ คือ บทชม บทรัก บทโกรธ และบทโศก ในด้านกลวิธีการขับ คือ การตีความและคำ การเริ่มต้นขับท่วงทำนองการขับ การขับเสภามอญและลาวในด้านประวัติและวิธีการขับ 2) ผลการวิเคราะห์การใช้คำในบทเสภาพบว่า บทเสภาที่สะเทือนอารมณ์ทั้ง 4 ประเภท มีลักษณะคล้ายกัน คือ แต่ละบทมีเสียงวรรณยุกต์สามัญมาก มีสระเสียงยาวมากกว่าสระเสียงสั้น มีคำเป็นสระเสียงยาวมากกว่าคำเป็นสระเสียงสั้น ที่เป็นคำตายจะมีคำตายสระเสียงสั้นมากกว่าคำตายสระเสียงยาว พยัญชนะต้นมีเสียงอักษรต่ำมาก รองลงมามีเสียงอักษรกลางและสูงตามลำดับ มีเสียงควบกล้ำน้อย 3) ผลการวิเคราะห์ลีลาการขับเสภาพบว่า ครูเสภาทั้ง 2 ท่าน ขับดำเนินความมากในบทชม คือ ร้อยละ 62.00 ของเวลาการขับทั้งหมด และลดลงตามลำดับในบทรัก บทโกรธและบทโศก ศิลปะการขับที่ใช้มากสม่ำเสมอ คือ การกลั้นสียง ซึ่งเป็นลักษณะทั่วๆ ไป ของการขับเสภาทั้ง 4 ประเภท การขับบทชมและบทรัก ครูเสภาผู้ขับจะใช้ศิลปะการขับบางชนิด คือ ขับเน้นคำและความ เล่นลูกคอ และเล่นทำนองและใช้ไม่มาก การขับบทโกรธพบว่า ครูเสภาขับโดยใช้ศิลปะเพียง 3 ชนิด คือ ขับดำเนินความเน้นคำและความโดยวิธีกระแทกเสียงและการกลั้นเสียง การขับบทโศก ครูเสภาทั้ง 2 ท่าน ขับดำเนินความน้อยลงใช้ศิลปะการขับทุกชนิดยกเว้นการกระแทกเสียงเพียงอย่างเดียว 4) ผลการวิเคราะห์แบบสอบถามครูภาษาไทยพบว่า ด้านการเรียกการสอนโดยเฉลี่ยแล้ว ครูภาษาไทยสังเกตพบว่า นักเรียนชอบฟังครูขับเสภาให้ฟังเองในเวลาสอนวรรณคดีที่เป็นบทเสภา นักเรียนชอบเรียนวรรณคดีที่บทเสภาแบบขับเสภามากกว่าอ่านแบบทำนองเสนาะธรรมดา การเชิญผู้ทรงคุณวุฒิทางเสภามาบรรยายและขับเสภาให้นักเรียนฟัง ครูภาษาไทยทำอยู่ในระดับน้อยที่สุด ด้านความรู้และความสนใจเกี่ยวกับเรื่องเสภา ครูมีความรู้เรื่องการใช้ศิลปะการขับเสภาอยู่ในระดับน้อยแต่ก็สนใจ อยากรู้อยากเรียนเกี่ยวกับเรื่องเสภาเรื่องการขับการอ่านที่ถูกวิธีเพื่อช่วยการเรียนการสอนภาษาไทยในระดับมาก ครูภาษาไทยมีความคิดเห็นพ้องกันเป็นส่วนมากกว่า ครูภาษาไทยควรรักและหวงแหนวรรณคดีมรดกของไทย ควรขับเสภาและอ่านทำนองเสนาะเป็นเองเป็นอย่างดีอันจะช่วยให้การเรียนการสอนในส่วนตัวครูเองด้านการเรียนการสอนวรรณคดีประเภทวรรณคดีมรดกและช่วยให้นักเรียนมีความซาบซึ้งในวรรณคดีมรดกของไทยมากยิ่งขึ้น
Other Abstract: 1.To collect sepa and study its historical background, including its various styles of recitation from relevant documents and resource persons. 2. To analyze the diction and recitation of sepa, 3. To investigate Thai teachers' opinions on learning and teaching sepa. The methods of this research were as follows : 1.The researcher studied the historical background of sepa. the biographical backgrounds of khru sepa (those who recite it), krub (a musical instrument made of wood to be tapped along while sepa is being recited) making and krub playing from various documents and resource persons,2. (a) Analyzing the diction in the ten selected verses drawn from four types of aepa entitled Khun Chang Khutt Phaen. Which were dealing with beauty, love, anger and grief, A speaciai type of analytical form was used in this diction analysis, (b) Analyzing the styles of sepa recitation by having two khru sepa recite and record the same selected verses of each type of sepa within ten minutes. The analytical method adapted from Flanders' Interaction Analysis Technique was used in this recitation- style analysis to find out values in percentage. Then these values were presented in tables and explained in a descriptive form, 3. Investigating the Thai teachers' opinions on teaching sepa from questionnaires answered by 93 teachers in secondary schools in Ayuthaya and Bangkok, The random sampling technique was used to find out values in percentage together with mean and S. D, values. Then they were presented in tables and explained in a descriptive form. The results of the research were as follows : 1. From the study through numbers of documents and resource persons, the researcher could collect information on sepa in various aspects : (a) presuraatipn on possible definitions of sepa given by resource persons ; (b) sepa and its poetic forms ; its origin and evolution; (d) thirteen sepa which were frequently recited and performed; (e) performance of sepa; (f) styles of recitation of emotional sepa verses on beauty, love, anger and grief; (g) styles of recitation of Mon and Laotian sepa,including their historical backgrounds.2. The diction analysis revealed that there were some similarities in the four emotional types of sepa. Most words were in a normal tone. Moreover, it Was found out that the first consonants in most words were low consonants. Comparatively, there were less middle and high consonants in those words. And there were very small numbers of cluster sounds,3. The analysis of recitation styles demonstrated by two khru sepa revealed that 62% of recitation was dealing with narrating a story. This technique of narration was found mostly in descriptive verses on beauty. There was less and less of this technique used in verses dealing with love, anger and grief, Moreover, it happened that there was a consistent use of the art of uttering only sounds with no words following them. These sounds were usually let out after the final sounds of some words in order to make a continuation from one word to another, and, sometimes make the recitation more beautiful. This art was found all over in the four types of sepa. As for the recitation of sepa verses on beauty and love, a special emphasis on each word Was made in order to arouse certain emotions. Sometimes, there was vibration of some sounds articulated from the throat to indicate firmness or greatness. Besides, there wa a little tune playing. The recitation of sepa verses on anger employed the technique of narration, the technique of stressing each word and the art of creating sounds after some words. In reciting sepa verses on grief, khru sepa used less the technique of narration. All other techniques were used except emphasizing each word, 4. It was found out from the questionnaires that learners liked teachers to recite aepa verses to them. They also would rather have poetic works in sepa form to be recited than having them read out loud with certain rhythmic patterns. At school, there was the lowest rate of inviting resource persons to lecture on sepa and recite sepa verses. The teachers themselves were interested in the art of reciting sepa. but they had very little knowledge of it. Most of them agreed that Thai teachers should be able to both read poetic works rhythmically and should be able to recite sepa verses properly, This ability, they thought, could make their teaching of Thai literature more interesting and effective. As for the students, having listened to the recitation, they would be able to find Thai literary works appreciable.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23229
ISBN: 9745617946
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phaisal_Wo_front.pdf879.97 kBAdobe PDFView/Open
Phaisal_Wo_ch1.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open
Phaisal_Wo_ch2.pdf14.69 MBAdobe PDFView/Open
Phaisal_Wo_ch3.pdf627.65 kBAdobe PDFView/Open
Phaisal_Wo_ch4.pdf2.54 MBAdobe PDFView/Open
Phaisal_Wo_ch5.pdf648.6 kBAdobe PDFView/Open
Phaisal_Wo_ch6.pdf1.96 MBAdobe PDFView/Open
Phaisal_Wo_back.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.