Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23280
Title: เกียรติภูมิของอาชีพในเขตเมือง
Other Titles: Occupational prestige in Thai urban areas
Authors: วชิรา วิชยานุวัติ
Advisors: สุภางค์ จันทวานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการจัดช่วงชั้นทางสังคมในเขตเมือง โดยใช้เกียรติภูมิของอาชีพเป็นเกณฑ์ในการวัด ในการศึกษาครั้งนี้มีอาชีพที่ใช้ศึกษาจำนวน 89 อาชีพ และมีกลุ่มตัวอย่าง 357 คน เมื่อได้รับค่าเกียรติภูมิในเขตเมืองแล้ว ก็จะนำค่าเกียรติภูมิที่ได้นี้ไปเปรียบเทียบกับงานวิจัยของไทรแมนที่ทำไว้เป็นมาตรฐานสากล เพื่อดูว่ามีความสอดคล้องหรือแตกต่างกัน ผลการศึกษาวิเคราะห์สรุปได้ว่า คนไทยในเขตเมืองให้ค่าเกียรติภูมิสูงสุดแก่อาชีพแพทย์ฯ ส่วนอาชีพที่ได้คะแนนเกียรติภูมิต่ำที่สุดคือ หญิงบริการ โดยผู้ตอบได้ให้เหตุผลแก่อาชีพที่ได้คะแนนสูงสุดคือ มีเกียรติ ต้องรับผิดชอบสูง ใช้สมอง, ความคิดสร้างสรรค์ เสียสละและมีรายได้ดี ส่วนเหตุผลในการให้คะนนต่ำสุดคือ สังคมรังเกียจ ไม่ต้องใช้ความรู้ มีรายได้น้อยไม่ก้าวหน้าและไม่มั่นคง เมื่อนำค่าเกียรติภูมิของเขตเมืองนี้ไปเปรียบเทียบกับค่าเกียรติภูมิมาตรฐานสากลของไทรแมนแล้วก็พบว่า มีค่าเกียรติภูมิที่ไม่แตกต่างกัน 19 อาชีพ คือ 1. โหร หมอดู 2. นักกีฬาอาชีพ 3. ข้าราชการระดับกลาง 4. พนักงานคุมเครื่องคำนวณ 5. คนรับใช้ 6. ช่างแต่งผม 7. ผู้ให้บริการความปลอดภัย 8. เกษตรกรที่ถือครองที่ดินขนาดกลาง 10-14 ไร่ 9. ผู้เช่านา 10. ผู้ทำงานป่าไม้ 11.ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับโลหะ 12. ช่างปฏิบัติงานด้านเคมี 13. ผู้ทำงานโรงงาน 14. ช่างเหล็ก 15. ช่างปรับเครื่องจักร 16. ช่างก่ออิฐ 17. ช่างยนต์ 18. นายร้อย-นายพันตำรวจ 19. คณบดี อาชีพที่นอกเหนือจากนี้เป็นอาชีพที่ไม่มีความสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ทั้งที่มีคะแนนสูงกว่ามาตรฐานสากลและต่ำกว่ามาตรฐานสากล
Other Abstract: The research aimed at studying Thai social stratification in urban areas by using the prestige scores of occupations. Eighty-nine occupations were given scores by a sampling of three hundred and fifty-seven urban dwellers. After having the prestige scores, the researcher compared them with Treiman’s Standard International Occupational Prestige Scale. The result of the analysis was that urban thais gave the highest prestige score to doctor. The second was minister. The third was ambassador. The lowest score was masseuse and bar partner. Reasons given for the highest score were prestige, responsibility, ability, creativity and devotion. Helpfulness and good income were also emphasized. The reasons for the lowest score were : no recognition, lack of knowledge. Unstability and low income. When we compared the Thai prestige scores with Treiman’s international standard scores, we found that scores in nineteen occupations were not significantly different from Treiman’s scores : they are fortune-teller, professional athlete, middle civil servant, computer operator, servant, hairdresser, protective service worker, farmer with medium size tenure, tenant farmer, logger, metal processer, food and beverage processer, blacksmith, machinery fitter, bricklayer, carpenter, power station operator, lieutenant-colonel police, and people live off inheritance income. The scores of other professions were significantly different from treiman’s scores.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23280
ISBN: 9745687804
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wachira_wi_front.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open
Wachira_wi_ch1.pdf8.46 MBAdobe PDFView/Open
Wachira_wi_ch2.pdf6.74 MBAdobe PDFView/Open
Wachira_wi_ch3.pdf10.28 MBAdobe PDFView/Open
Wachira_wi_ch4.pdf7.81 MBAdobe PDFView/Open
Wachira_wi_ch5.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open
Wachira_wi_back.pdf19.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.