Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23309
Title: ความคิดเห็นของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและกลุ่มคนอาชีพอื่น เกี่ยวกับหลักสูตรประถมศึกษาที่เหมาะสมกับสภาพและความต้องการ ของท้องถิ่นในจังหวัดลพบุรี
Other Titles: Opinions of educational personnel and groups of people from other occupations concerning contents in the elementary school curriculum suitable for local situations and needs in Lop Buri Province
Authors: ประสิทธิ์ บุญถนอม
Advisors: สวัสดิ์ จงกล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จุดมุ่งหมายของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครู ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา นักวิชาการคณะกรรมการประถมศึกษา และผู้ประกอบอาชีพต่าง ๆ ในจังหวัดลพบุรี เกี่ยวกับเนื้อหาหลักสูตรประถมศึกษาที่เหมาะสมกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่นในจังหวัดลพบุรี 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครู ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา นักวิชาการ คณะกรรมการการประถมศึกษา และผู้ประกอบอาชีพต่าง ๆ ในจังหวัดลพบุรีเกี่ยวกับเนื้อหาหลักสูตรประถมศึกษาที่เหมาะสมกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่นในจังหวัดลพบุรี วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ครูในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดลพบุรี จำนวน 744 คน ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดลพบุรี จำนวน 103 คน นักวิชาการซึ่งเป็นอาจารย์วิทยาลัยครูเทพสตรี และศึกษานิเทศก์สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดลพบุรี จำนวน 59 คน คณะกรรมการการประถมศึกษาจำนวน 22 คน และผู้ประกอบอาชีพต่าง ๆ จำนวน 72 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1000 คน ได้รับแบบสอบถามคืนมาทั้งสิ้น 959 ฉบับ คิดเป็นแบบสอบถามที่สมบูรณ์ 925 ฉบับหรือคิดเป็นร้อยละ 92.50 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบบประเมินค่า (rating scale) สร้างตามวิธีของ Likert เนื้อหาที่ศึกษากำหนดเป็นกลุ่มประสบการณ์ตามโครงสร้างของหลักสูตรประถมศึกษา 2521 โดยเลือกเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับสภาพของจังหวัดลพบุรีจำนวน 76 เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าร้อยละ (percentage) คะแนนเฉลี่ย (mean) ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างกลุ่มโดยการทดสอบแบบ F-test และแบบ Scheffe’s method สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. เนื้อหาที่เหมาะสมกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่นในจังหวัดลพบุรี แยกเป็นกลุ่มประสบการณ์ ดังนี้ 1.1 กลุ่มทักษะ (ภาษาไทย) 3 เรื่อง ได้แก่ 1.1.1 ตำนานเรื่องท้าวกกขนาก 1.1.2 ตำนานเรื่องขันหมากเมืองจีน 1.1.3 ระบำลพบุรี 1.2 กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต 29 เรื่อง ได้แก่ 1.2.1 อนุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช 1.2.2 ประวัติความเป็นมาของจังหวัดลพบุรี 1.2.3 สภาพภูมิศาสตร์ของจังหวัดลพบุรี 1.2.4 โรคเกี่ยวกับระบบหายใจ 1.2.5 โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร 1.2.6 ศาลากลางจังหวัดลพบุรี 1.2.7 ศาลพระกาฬ 1.2.8 วงเวียนศรีสุริโยทัย 1.2.9 สวนสัตว์สระแก้ว 1.2.10 ปัญหา โดยทั่วไปของจังหวัดลพบุรี 1.2.11 อาชีพและเศรษฐกิจของชุมชนในจังหวัดลพบุรี 1.2.12 พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ 1.2.13 ตึกวิชาเยนทร์ 1.2.14 ปรางค์สามยอด 1.2.15 ปรางค์แขก 1.2.16 พระที่นั่งเย็น 1.2.17 บ้านวิชาเยนทร์ 1.2.18 วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ 1.2.19 ข้าวโพด 1.2.20 ฝ้าย 1.2.21 ละมุด 1.2.22 น้อยหน่า 1.2.23 ไก่เนื้อ 1.2.24 สุกร 1.2.25 โคนม 1.2.26 การทำอิฐ 1.2.27 การทำดินสอพอง 1.2.28 การเจียรนัยพลอย 1.2.29 การทอผ้ามัดหมี่ 1.3 กลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย 3 เรื่อง ได้แก่ 1.3.1 ประเพณีกำฟ้า 1.3.2 ประเพณีใส่กระจาด 1.3.3 ประเพณีกวนขาวทิพย์ 1.4 กลุ่มการงานพื้นฐานอาชีพ 26 เรื่อง ได้แก่ 1.4.1 การทำส้มฟัก 1.4.2 การทำหน่อไม้ดอง 1.4.3 การทำปลารมควัน 1.4.4 การทำสวนไม้ดอกไม้ประดับ 1.4.5 การทำเสื่อกก 1.4.6 การสานเสื่อลำแพน 1.4.7 การสานกระบุง ตระกร้า 1.4.8 การสานงอบด้วยใบลาน 1.4.9 งานช่างไม้ 1.4.10 งานช่างปูน 1.4.11 งานแกะสลัก 1.4.12 งานประดิษฐของชำร่วย 1.4.13 งานดอกไม้ใบตอง 1.4.14 การเลี้ยงสุกร 1.4.15 การเลี้ยงไก่พันธุ์เนื้อ 1.4.16 การเลี้ยงโคนม 1.4.17 การเลี้ยงโคพันธุ์เนื้อ 1.4.18 การเพาะเลี้ยงปลาช่อน 1.4.19 การเพาะเลี้ยงปลาตะเพียนขาว 1.4.20 การทำไร่ข้าวโพด 1.4.21 การทำไร่ฝ้าย 1.4.22 การทำไร่ถั่วเขียว 1.4.23 การทำไร่ข้าวฟ่าง 1.4.24 การทำสวนละมุด 1.4.25 การทำสวนน้อยหน่า 1.4.26 การทำสวนมะม่วง 1.5 กลุ่มประสบการณ์พิเศษ ไม่มีเนื้อหาที่ศึกษามีความเหมาะสมกับความต้องการของท้องถิ่นในจังหวัดลพบุรี 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคคลในกลุ่มตัวอย่าง มีดังนี้ เนื้อหาส่วนใหญ่ทุกกลุ่มประสบการณ์ที่ศึกษา กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ มีส่วนน้อยเท่านั้นที่ความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญซึ่งได้แก่ 1.1 กลุ่มทักษะ (ภาษาไทย) มีเนื้อหาที่กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญเพียง 1 เรื่องคือ คำพื้นฐานของท้องถิ่น 1.2 กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต มีเนื้อหาที่กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ 2 เรื่อง คือ 1.2.1 ประวัติความเป็นมาของจังหวัดลพบุรี 1.2.2 พระเครื่องเช่นพระร่วงรางปืน 1.3 กลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย มีเนื้อหาเพียงเรื่องเดียวที่กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ คือ ประเพณีกำฟ้า 1.4 กลุ่มการงานพื้นฐานอาชีพ มีเนื้อหาที่กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ 5 เรื่องคือ 1.4.1 งานดอกไม้ใบตอง 1.4.2 การเลี้ยงไก่พันธุ์เนื้อ 1.4.3 การเพาะเลี้ยงปลาช่อน 1.4.4 การทำไร่ข้าวโพด 1.4.5 การทำสวนทุเรียน 1.5 กลุ่มประสบการณ์พิเศษ ไม่มีเนื้อหาที่กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ
Other Abstract: Purposes of the study 1. To investigate the opinions of elementary school teachers, school administrative personel, educators, elementary school committees and other occupations about the appropriateness of primary educational curriculum contents for the local environments and needs of Lop Buri province 2. To compare the opinions of elementary school teachers, school administrative personel, educators, primary school committees and other occupations about the appropriateness of primary educational curriculum contents for the local environments and needs of Lop Buri province Research Procedures One thousand questionaires of Likert type were distributed to 744 elementary school teachers, 103 elementary school administrators, 59 educators, 22 elementary school committees members and 72 people from various occupations. Nine hundred and fifty-nine questionairs were returned from the sampling groups. Nine hundred and twenty-five of all the questionaires obtained (92.50%) were completed the contents of the questionaires concerned the groups of experiences stated in the outline of the elementary school curriculum B.E. 2521. Available data was analyzed to find percentage, arithmeticmean, and standard deviation, F-test and Scheffe’s method were applied to compare the opinions of each group of samples. Finding 1. The contents of the curriculum suitable for local conditions and needs in Lop Buri province can be divided into experience groups as follows. 1.1 Tool Subjects (Thai Language) 3 items 1.1.1 The Tale about Tow Kokhanak 1.1.2 The Tale about Chinese Marriage Settlement 1.1.3 Lop Buri folk-Dance 1.2 Life Experiences 29 items 1.2.1 King Narai’s Monument 1.2.2 The History of Lop Buri 1.2.3 Geographical Conditions of Lop Buri province 1.2.4 Diseases of the Respiratory System 1.2.5 Diseases of the Digestive System 1.2.6 Office of Local Government 1.2.7 Prakarn Joss-House 1.2.8 Srisuriyothai Circle 1.2.9 Srakew Zoo 1.2.10 General Problems of Lop Buri province 1.2.11 Occupations and Economy in the communities of Lop Buri province 1.2.12 King Narai’s Palce 1.2.13 Wichayan Building 1.2.14 Prang Sam Yod 1.2.15 Hindu Shrine 1.2.16 Cool Throne 1.2.17 The Royal Reception House 1.2.18 Wat Pra Sri Mahatad 1.2.19 Corn 1.2.20 Cotton 1.2.21 Sapodilla 1.2.22 Custard Apple 1.2.23 Chickens. 1.2.24 Pigs 1.2.25 Cows 1.2.26 Brick Making 1.2.27 Soft Chalk Making 1.2.28 Gem Cutting 1.2.29 Mud Mee Weaving 1.3 Character Development 3 items 1.3.1 Gum Fa Custom 1.3.2 Sai Kajad Costom 1.3.3 Guan Koa Tip Custom 1.4 Work-Oriented Experiences 26 items 1.4.1 Som Fuk Making 1.4.2 Bamboo-Shoot Preserving 1.4.3 Fish Fumigating 1.4.4 Horticulture 1.4.5 Making Mats from Reeds 1.4.6 Making Mats from Bamboo 1.4.7 Basket Weaving 1.4.8 Making Hats from Falipot Palm 1.4.9 Carpentry 1.4.10 Concrete Work 1.4.11 Carving 1.4.12 Gift Making 1.4.13 Handiwork with Flowers and Banana Leaves 1.4.14 Pig Raising 1.4.15 Raising Chickens for Meat 1.4.16 Raising Cows (for dairy) 1.4.17 Raising Cows (for beef) 1.4.18 Snakehead Fish Raising 1.4.19 White Carp Raising 1.4.20 Corn Growing 1.4.21 Cotton Growing 1.4.22 Green Gram Growing 1.4.23 Sorghum Growing 1.4.24 Sapodilla Growing 1.4.25 Custard Apple Growing 1.4.26 Mango Growing 1.15 Extra Learning Experiences. There was no specific topic in the group of extra learning experiences which agrees to the local environments and need of Lop Buri province. 2. Result of the comparison between opinions of sampling groups are as follows. The opinions of the sampling groups about the contents of every group of experiences in the curriculum are significantly different. The sampling groups show insignificantly different opinions on some topics in the groups of experiences in the curriculum which are as follows 1.1. One topic in the group of Tool Subjects which is “Local Basic Words” 1.2 Two topics in the group of life experiences 1.2.1 The History of Lop Buri 1.2.2 Buddha votive tablet 1.3 One topic in the group of Character Developments which is “Gum Fa custom” 1.4 Five topics in the group of work-oriented experiences 1.4.1 Handiwork with Flowers and Banana Leaves 1.4.2 Raising Chickens 1.4.3 Snakehead Fish Raising 1.4.4 Corn Growing 1.4.5 Durian Growing 1.5 The opinions of the sampling groups about the topics in the group of extra experiences are not significantly different.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23309
ISBN: 9745646466
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prasit_Bo_front.pdf755.64 kBAdobe PDFView/Open
Prasit_Bo_ch1.pdf755.78 kBAdobe PDFView/Open
Prasit_Bo_ch2.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open
Prasit_Bo_ch3.pdf485.47 kBAdobe PDFView/Open
Prasit_Bo_ch4.pdf3.55 MBAdobe PDFView/Open
Prasit_Bo_ch5.pdf594.64 kBAdobe PDFView/Open
Prasit_Bo_back.pdf811.61 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.