Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23326
Title: การวิจัยและพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการศึกษาผ่านการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนของนักศึกษาครู
Other Titles: Research and development of learning process organization based on learning study approach to enhance instructional design ability of student teachers
Authors: รินรดี พรวิริยะสกุล
Advisors: พิมพันธ์ เดชะคุปต์
ชาริณี ตรีวรัญญู
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Pimpan.d@chula.ac.th
Charinee.T@Chula.ac.th
Subjects: นักศึกษาครู
การเรียนรู้
การสอน -- การออกแบบ
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิจัยและพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการศึกษาผ่านการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนของนักศึกษาครู 2) ศึกษาผลการทดลองใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการศึกษาผ่านการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนของนักศึกษาครู กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักศึกษาครูชั้นปีที่ 4 สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 13 คน การทดลองใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 นักศึกษาครูเรียนรู้การออกแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการศึกษาผ่านการเรียนรู้ในบริบทการเรียนรายวิชาการออกแบบการสอนเพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ ระยะที่ 2 นักศึกษาครูดำเนินการตามกระบวนการศึกษาผ่านการเรียนรู้ในบริบทการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานศึกษา 6 แห่ง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบประเมินความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนอย่างหลากหลายและเป็นระบบ 2) แบบประเมินความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบประเมินความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการศึกษาผ่านการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนของนักศึกษาครู โดยมีหลักการ ได้แก่ 1) การวิเคราะห์และกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับปัญหาเชิงวิกฤตของนักเรียน 2) การเรียนรู้ด้วยการศึกษาเชิงประจักษ์ทำให้เข้าใจถึงปรากฏการณ์ที่เป็นจุดเน้นสำคัญในบทเรียนนั้น 3) การวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อนำไปสู่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4) การออกแบบการเรียนการสอนและปรับปรุงการสอนโดยนำการออกแบบการเรียนการสอนด้วยการวิจัยมาใช้อย่างเป็นระบบ 5) การกำหนดวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ที่มาจากการค้นหาความเข้าใจก่อนเรียน 6) การดำเนินการตามกระบวนการศึกษาผ่านการเรียนรู้ที่มีลักษณะเป็นวงจร และ 7) การเรียนรู้อย่างมีความหมาย ขั้นตอนการเรียนการสอนมี 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การเตรียมความพร้อมเพื่อปฏิบัติการออกแบบการเรียนการสอนตามกระบวนการศึกษาผ่านการเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1.1) กำหนดปัญหาเชิงวิกฤตของนักเรียน 1.2) วางแผนบทเรียน 1.3) ทดลองจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน 1.4) ปรับปรุงแก้ไขบทเรียน 1.5) สะท้อนความคิดโดยผู้สอนและเพื่อนนักศึกษาครู ระยะที่ 2 การปฏิบัติการออกแบบการเรียนการสอนในสถานศึกษาตามกระบวนการศึกษาผ่านการเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 2.1) วางแผนบทเรียนจากปัญหาเชิงวิกฤตของนักเรียน 2.2) จัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน 2.3) ปรับปรุงแก้ไขบทเรียน 2.4) จัดการเรียนรู้ตามบทเรียนที่ปรับปรุงแก้ไขแล้ว 2.5) สะท้อนความคิดโดยอาจารย์นิเทศก์ อาจารย์พี่เลี้ยง ผู้เชี่ยวชาญและเพื่อนนักศึกษาครูฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 2. ผลการทดลองใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการศึกษาผ่านการเรียนรู้ พบว่า หลังเรียนตามกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการศึกษาผ่านการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น นักศึกษาครูมีความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นอกจากนี้ นักศึกษาครูได้พัฒนาความสามารถในการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบและสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในบริบทจริงได้ ดังนั้น กระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการศึกษาผ่านการเรียนรู้ สามารถเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนของนักศึกษาครูได้
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to research and develop learning process organization based on Learning Study Approach to enhance instructional design ability of student teachers; and 2) to study the implementation result of learning process organization based on Learning Study Approach on instructional design ability of student teachers. The samples of this study were 13 forth year student teachers, in Computer Education program, the Faculty of Technical Education, Rajamangala University of Technology Thanyaburi. The experiment of the developed learning process organization was divided into two phases. Phase one, student teachers learned instructional design based on Learning Study Approach in the Teaching Design on Problem Solving course. Phase two, student teachers implemented the learning study process in the Teaching Profession Experience course in 6 schools under the Office of the Basic Education Commission. The research instruments were 1) evaluation form for varied and systematically instructional design ability, 2) evaluation form for lesson plan writing ability, and 3) evaluation form for organizing learning activities ability. The data were analyzed by using One-Way ANOVA: repeated measurement, arithmetic mean, percentage, and content analysis. The research findings were as follows: 1. The developed learning process organization, based on Learning Study Approach, consisted of principles: 1) analyzing and determining learning objectives in congruent with students’ critical aspects; 2) learning by empirical study led to understanding the key phenomenon of the lesson; 3) analyzing the individual differences in order to organize learning activities; 4) designing and improving instruction systematically based on design-based research instruction; 5) determining methods of learning assessment and evaluation in congruent with learning objectives based on students’ understanding before learning; 6) implementing the cycle of learning study process in the classroom; 7) learning meaningfully. Instructional process consisted of two phases: 1) instructional design preparation, based on learning study process, consisted of 5 steps: 1.1) defining students’ critical aspects; 1.2) planning a lesson; 1.3) implementing in the classroom; 1.4) revising the lesson; and 1.5) reflecting with instructor and other student teachers; and 2) instructional design practice in school, based on learning study process, consisted of 5 steps: 2.1) planning the lesson from students’ critical aspects; 2.2) learning management in the classroom; 2.3) revising the lesson; 2.4) implementing the revised lesson; and 2.5) reflecting with the supervisor, mentors, professionals, and other student teachers. 2. After implementing the developed learning process organization, instructional design ability of student teachers were significantly higher than this before learning by using developed learning process organization at .01 level of significance. In addition, student teachers worked together systematically and were able to apply this process in real contexts. Therefore, learning process organization based on learning study approach was qualified to enhance instructional design ability of student teachers.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: หลักสูตรและการสอน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23326
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.988
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.988
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
rinradee_po.pdf2.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.