Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23337
Title: ความรับผิดในค่าภาษีขาเข้าตามกฎหมายศุลกากร
Other Titles: Liability to the payment of import duty according to customs law
Authors: โชคชัย กุลประภา
Advisors: สนั่น เกตุทัด
Issue Date: 2517
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: 1. กรณีที่ถือว่าการนำเข้าสำเร็จลง การนำสินค้าต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยนั้น อาจทำได้ทั้งทางบก ทางทะเล และทางอากาศ ตลอดจนทางไปรษณีย์ ในการนำเข้าทางบกนั้นเพื่อ[สะดวก]แก่การควบคุม ประเทศส่วนใหญ่จึงได้กำหนดเส้นทางสำหรับนำสินค้าเข้ามาในประเทศไว้ โดยเฉพาะเรียกว่าทางอนุมัติซึ่งอาจเป็นถนนหรือทางรถไฟระหว่างประเทศก็ได้ ส่วนเวลาที่ถือว่าการนำเข้าจะสำเร็จลงเมื่อใดนั้น ในแต่ละประเทศถือหลักต่างกันคือ ก. ในด้านการนำเข้าทางทะเลมี 2 ระดับคือ ระบบที่ 1 ถือว่าการนำเข้าสำเร็จนับแต่เรือที่บรรทุกสินค้าเข้ามาในอาณาเขตประเทศ ได้แก่ประเทศคานาดา, ฟิลิปปินส์ ระบบที่ 2 ถือว่าการนำเข้าสำเร็จนับแต่เรือที่บรรทุกสินค้าเข้ามาในอาณาเขตท่าที่จะถ่ายสินค้า ได้แก่ ไทย, อิสราเอล, อังกฤษ, สิงคโปร์ ข. ในด้านการนำเข้าทางบก ทุกประเทศถือหลักว่าการนำเข้าจะสำเร็จลงทันทีนับแต่เวลาที่สินค้าขนข้ามพรมแดนเข้ามา ค. ในด้านการนำเข้าทางอากาศ มี 2 ระบบคือ ระบบที่ 1 ถือว่าการนำเข้าสำเร็จนับแต่อากาศยานล่วงล้ำพรมแดนเข้ามา ได้แก่ อิสราเอล, ฟิลิปปินส์ ระบบที่ 2 ถือว่าการนำเข้าสำเร็จนับแต่เวลาที่อากาศยานร่อนลงจอดในประเทศได้แก่ อังกฤษ, สิงคโปร์ แต่สำหรับไทยเพียงแต่อากาศยานมาถึงเขตท่าหรือสนามการบินศุลกากรที่จะถ่ายของจากอากาศยาน ก็ถือว่าการนำเข้าสำเร็จลงแล้ว 2. ผู้มีหน้าที่เสียภาษี กฎหมายศุลกากรของแต่ละประเทศกำหนดตัวผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการชำระค่าภาษีศุลกากรไว้ไม่เหมือนกัน โดยแบ่งได้เป็น 2 ระบบคือ ระบบที่ 1 กำหนดให้เฉพาะบุคคลจำพวกหนึ่งเท่านั้นที่จะเสียภาษีศุลกากรได้ ได้แก่ จีน,¹ ฮ่องกง, ฟิลิปปินส์ ระบบที่ 2 กำหนดบุคคลที่มีสิทธิและหน้าที่ในการเสียภาษีศุลกากรไว้หลายคน ด้วยกันได้แก่ คานาดา, อังกฤษ, ญี่ปุ่น, เกาหลี, อิสราเอล, ไทย ในด้านการนำสินค้าออกไปจากการควบคุมของศุลการกรนั้น ผู้มีสิทธิที่จะมาติดต่อทำพิธีการศุลกากรได้ในแต่ละประเทศกำหนดไว้ต่างกัน โดยอาจแยกเป็น 2 ระบบคือ ระบบที่ 1 กำหนดให้เฉพาะบุคคลที่ประกอบอาชีพเป็นนายหน้าศุลกากรเท่านั้น ที่จะมารับจ้างทำพิธีการศุลกากรให้แก่บุคคลทั่วไปได้ ได้แก่ จีน, อิสราเอล, คานาดา, เกาหลี, ฟิลิปปินส์ ระบบที่ 2 ไม่ได้กำหนดให้นายหน้าศุลกากรเท่านั้นที่จะมารับจ้างทำพิธีการศุลกากรให้แก่บุคคลทั่วไปได้ ได้แก่ ไทย, สิงโปร์ 3. การคำนวณค่าภาษีศุลกากรตามมาตรา 10 ทวิ ในการคำนวณค่าภาษีสำหรับสินค้าต่างประเทศนั้น มีหลักที่ต้องนำมาพิจารณา 3 ด้าน ด้วยกันคือ ในด้านสภาพของ, ราคาของและพิกัดอัตราศุลการกรซึ่งในแต่ละประเทศก็มีหลักในทางปฏิบัติแตกต่างกันไปคือ ¹จีน หมายถึงไต้หวัน (Republic of China) ก. ในด้านสภาพของกฎหมายศุลกากรของประเทศต่าง ๆ ส่วนใหญ่ถือสภาพในขณะนำเข้าเป็นเกณฑ์ ส่วนในเรื่องการลดหย่อนภาษีให้สำหรับความเสียหายที่เกิดหลังการนำเข้านั้นมี 2 ระบบคือ ระบบที่ 1 ยกเว้นหรือลดหย่อนอากรให้ในกรณีที่ความเสียหายนั้นไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ หรือเกิดจากอุบัติเหตุหรือเหตุวุดวิสัยเท่านั้น ได้แก่ไทย จีน, อิสราเอล, เกาหลี, ญี่ปุ่น ระบบที่ 2 ยกเว้นหรือลดหย่อนอากรให้ สำหรับสินค้าที่แตกหักสียหายโดยพิจารณาเป็นกรณี ๆไป ได้แก่ ฟิลิปปินส์, คานาดา ข. ในด้านราคาสินค้า ในเกือบทุกประเทศถือราคา ซี.ไอ.เอฟ เป็นหลัก ยกเว้นคานาดาที่ถือราคา เอฟ.โอ.บี เป็นหลัก ส่วนเวลาที่ใช้ในการกำหนดราคาสินค้าของประเทศต่าง ๆ นั้นแบ่งเป็น 2 ระบบคือ 1. ระบบที่ 1 ถือราคาสินค้าที่เป็นอยู่ในเวลาที่นำเข้าในประเทศผู้นำเข้าเป็นเกณฑ์ที่ได้แก่ อังกฤษ, สิงคโปร์, อิสราเอล, ไทย 2. ระบบที่ 2 ถือราคาสินค้าที่เป็นอยู่ในเวลาที่ส่งออกในประเทศผู้ส่งออกเป็นเกณฑ์ได้แก่ ญี่ปุ่น, ฟิลิปปินส์, เกาหลี, จีน ส่วนในกรณีที่ไม่สามารถทราบราคาสินค้าได้ไม่ว่ากรณีใด ๆ ในแต่ละประเทศต่างก็กำหนดวิธีการกำหนดราคาในท้องตลาดขึ้นโดยอาศัยการเทียบราคากับสินค้าชนิดเดียวกัน หรือคล้ายกันที่เคยนำเข้าในเวลาไล่เลี่ยกันเป็นเกณฑ์ หรือใช้ราคาขายของสินค้าในประเทศเป็นเกณฑ์และหักลดหย่อนภาษีค่าใช้จ่ายต่าง ๆให้ตามสมควร เป็นต้น ค.ในด้านพิกัดอัตราศุลกากร ในบางประเทศก็ใช้ระบบพิกัดอัตราที่เรียกเก็บตามราคาสินค้าอย่างเดียวเช่นจีน แต่ประเทศส่วนใหญ่ใช้ระบบพิกัดอัตราผสมคือ เก็บทั้งตามราคาและตามสภาพ ส่วนเวลาที่ใช้กำหนดพิกัดอัตราศุลกากรของแต่ละประเทศอาจแบ่งได้เป็น 2 ระบบคือ ระบบที่ 1 ถือเวลานำเข้าเป็นเกณฑ์ ได้แก่ญี่ปุ่น, คานาดา, ฟิลิปปินส์, อังกฤษ, เกาหลี, ไทย ระบบที่ 2 ไม่ถือวันนำเข้าเป็นเกณฑ์คือ อิสราเอลถือวันที่ชำระภาษีศุลกากรเป็นเกณฑ์ ส่วน[สิงคโปร์]ถือวันที่ขนย้ายสินค้าออกจากคลังสินค้าเป็นหลัก 4. ข้อยกเว้นของมาตรา 10 ทวิ ข้อยกเว้นมี 2 กรณีคือ ก. กรณีเก็บของไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บน ซึ่งใช้พิกัดอัตราศุลกากรในเวลาที่นำของออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บนเป็นเกณฑ์ ส่วนสภาพของนั้นใช้สภาพขณะนำเข้าเก็บในคลังสินค้าทัณฑ์บนเป็นหลัก ข. ตามมาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ซึ่งให้ถือสภาพของ ราคาของ และอัตราอากรที่เป็นอยู่ในวันโอน หรือนำไปใช้อย่างอื่นหรือวันที่สิทธิได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรสิ้นสุดลง สำหรับสินค้าหรือบุคคลบางประเภทที่มีสิทธิได้รับยกเว้น หรือลดหย่อนภาษีศุลกากรตามกฎหมาย
Other Abstract: 1. In case the importation recognized to have had effect The importation of foreign goods into Thailand can be made in three ways, i.e. by land, by sea and by air including the post. As regards the importation by land, the State fixes the route by which such goods can enter the country under supervision of the Authority. It is especially called “approved route”, which may be an international road or railway in use. As regards the time at which the importation shall be deemed to have had effect, each country acts differently for this matter as follows :- A. As regards the importation by sea, there are two systems in use, i.e. 1) The first system: The importation shall be deemed to have had effect at the time when the vessel or ship has entered the boundary of the country, such as Canada and Philippines. 2) The second system: The importation shall be deemed to have had at effect at the time when the vessel or ship has arrived with in the limits of the port of discharge such as Thailand, Israel and England. B. As regards the importation by land, every country takes principle that the importation is recognized to have had effect immediately at the time when the goods have entered the boundary of the country. C. As regards the importation by air, there are two systems in use, i.e. 1) The first system : The importation shall be deemed to have had effect at the time when aircraft has entered the frontier of the country, such as Israel and Philippines. 2) The second system The importation shall be deemed to have had effect at the time when aircraft has landed in the country, such as England and Singapore. But for Thailand when the aircraft has only arrived within the limits of the port or the appointed airport of discharge the importation shall be deemed to have had effect. 2. The person liable to pay duty As regards the status of the person liable to pay duty, Customs Law of each country differs attractively and it can be divided into two system, i.e. 1) The first system : Authorizing only a certain group of persons to pay duty to Customs House, such as China Hong Kong and Philippines. 2) The second system : Authorizing many persons to have right and duty to make payment to Customs House, such as Canada, Japan , Korea , Israel and Thailand. As regards the clearing of the goods from the control of Custom House, each county acts differently in selecting the person to transact the business with Custom House. It may be divided into two systems, i.e. 1) The first system : Authorizing only the only the persons of the a certain occupation called Customs Broker, who will be employed to transact the business with Customs House on behalf of other persons, such as Chiana, Israel, Canada, Korea, Philippines. 2) The second system : Nothing mentioned that only Customs Broker can do the job; therefore any person can apply to do it, such as Thailand and Singapore. 3) The computing of duty payable according to Section 10 bis In computing the duty payable for foreign goods there are three particular facts to considered together as principle namely the value, nature of the goods and the Tariff. For all these each country acts differently in practice as follows:- A. As regards the nature of the goods, Customs law of the most countries takes the nature of the goods at the time when it is imported as basis for calculation. If there is any reduction in duty for damages done after having been imported, there are two systems to consider, i.e. 1) The first system : Exemption or reduction of duty shall be granted in case that the damages done cannot be avoided or accidentally occurred or only by force majeure, such as Thailand, China, Israel, Korea and Japan. 2) The second system : Exemption or reduction of duty shall be granted only to the broken or damage goods under consideration, taken case by case as it may be, such as Philippines and Canada. B. As regards the value of the goods, most countries take C.I.F price as basis, except Canada which takes F.O.B. With reference to the time used to determine the value of the goods. The countries are divided into two system, i.e. 1) The first system : Take the value of the goods as it may be at the time when they are imported into the country of the importer as basis, such as England, Singapore Israel and Thailand. 2) The second system : Take the value of the goods as it may be at the time when they are exported from the country of the exporter as basis, such as Japan, Philippines Korea and China. In case it is impossible to get the value of the goods by whatever means, each country will determine a method to get value of the goods from the market by comparing with the price of the goods of the same kind or similar which were formerly or recently imported into the country or taking the selling price of the goods in the country by reducting duty and some other reasonable expenses for it in order to use as basis for calculation. C. As regards the Tariff, some country uses only the ad valorem rate of the duty such as China, but most countries take mixed rate, i.e. either the ad valorom or the specific rate of the duty. With regard to the time used to the determine the rate of duty of Customs House the countries are divided into two system, i.e. 1) The first system : Take the importation time as basis, such as Japan, Canada, Philippines, England, Korea and Thailand. 2) The second system : The importation time is not used as basis. Israel takes the date of payment of duty as basis, while Singapore chooses the basis day to be the date of clearing the goods from the warehouse. 4. Exception in Section 10 bis There is exception in two cases, i.e. A. In case the goods are kept in the bonded warehouse, it takes the rate of duty at the time when the goods are taken away from the bonded warehouse. Regarding the nature of the goods, it shall be the nature of the goods at the time when they are admittel to be kept in the bonded warehouse as principle. B. Section 10 of Customs Tariff B.E. 2503 states that nature of the goods, the value of the goods and the Tariff shall be taken as principle at the time when such goods are transferred or used in other purposes or the privilege of the entitled owner of the goods ceases for the goods or the person entitled to duty exemption or reduction according to the law.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2517
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23337
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chockchai_Ku_front.pdf838.72 kBAdobe PDFView/Open
Chockchai_Ku_ch1.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Chockchai_Ku_ch2.pdf596.02 kBAdobe PDFView/Open
Chockchai_Ku_ch3.pdf2.85 MBAdobe PDFView/Open
Chockchai_Ku_ch4.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open
Chockchai_Ku_ch5.pdf348.61 kBAdobe PDFView/Open
Chockchai_Ku_back.pdf238.47 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.