Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23397
Title: | การบริหารงานสำนักงานที่ดินจังหวัด : ปัญหาและอุปสรรคของการบริหารงานทะเบียนที่ดิน |
Other Titles: | Administration of Changwat of Land Office problems and obstacles of land registration administration |
Authors: | เทวี กนกโชติ |
Advisors: | ไพโรจน์ สิตปรีชา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2527 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | กรมที่ดินเป็นส่วนราชการขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่หลักในการให้บริการแก่ประชาชนในเรื่องเกี่ยวกับการที่ดิน เพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน การไปติดต่อราชการหรือขอรับบริการของประชาชน ณ กรมที่ดินแต่เพียงแห่งเดียวย่อมไม่สะดวกแก่ประชาชนอย่างยิ่ง ดังนั้น สำนักงานที่ดินจังหวัดจึงเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นหน่วยงานที่ให้บริการแก่ประชาชนโดยตรง ในการปกป้องคุ้มครองผลประโยชน์และกรรมสิทธิ์ในที่ดินของประชาชน ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทะเบียนที่ดิน การดำเนินงานของสำนักงานที่ดินจังหวัดจึงเกี่ยวข้องกับการบริหารงานด้วยเพราะสำนักงานที่ดินจังหวัดมีบทบาทและความสำคัญอย่างยิ่งในการให้ความยุติธรรมเบื้องต้นแก่ประชาชนในเรื่องเกี่ยวกับที่ดินตลอดจนมีหน้าที่อำนวยความสะดวกในการให้บริการด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับที่ดินแก่ประชาชนแต่ในทางปฏิบัติกลับปรากฏว่าประชาชนโดยทั่วไปยังเห็นว่าการให้บริการของสำนักงานที่ดินยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร การที่สำนักงานที่ดินจะจัดบริการแก่ประชาชนให้มีประสิทธิภาพสูงสุดได้นั้น จำเป็นที่จะต้องมีหลักในการบริหารงานที่สำคัญ กล่าวคือจะต้องมีการวางแผน การจัดองค์การ การจัดคนเข้าทำงานการสั่งการและการควบคุม ทั้งนี้เพื่อให้การบริหารงานนั้นสามารถดำเนินไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีหลักในการบริหารงานดังกล่าวแล้ว ยังไม่อาจหลีกเลี่ยงปัญหาหรืออุปสรรคข้อขัดข้องต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้เสมอ จึงจำเป็นที่จะต้องหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอาจจะเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้าไว้ เพื่อเป็นการป้องกันและเป็นแนวทางในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ การศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคในการบริหารการให้บริการแก่ประชาชนของสำนักงานที่ดินจังหวัดนี้ ผู้เขียนทำการศึกษาโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ขั้นตอนกล่าวคือ ขั้นตอนแรกเป็นการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลและทฤษฎีโดยการสำรวจ เอกสารจากหนังสือเอกสารระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ขั้นตอนที่ 2 เป็นการวิจัยสนามโดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ ซึ่งผู้เขียนได้เลือกข้าราชการที่ปฏิบัติงานทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดในเขต 4 ได้แก่ สำนักงานที่ดินจังหวัดนครปฐม สำนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรสาคร สำนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรสงคราม สำนักงานที่ดินจังหวัดราชบุรี สำนักงานที่ดินจังหวัดกาญจนบุรี สำนักงานที่ดินจังหวัดเพชรบุรี และสำนักงานที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นกลุ่มประชากรจำนวน 164 คน จากสภาพปัญหาผู้เขียนจึงตั้งสมมติฐานไว้ว่า การบริหารงานทะเบียนของสำนักงานที่ดินจังหวัดต้องประสบกับปัญหาอุปสรรค เนื่องมาจากกระบวนการในการบริหารงาน, ภาวะนิเวศน์ทางการบริหารรวมทั้งกฎระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานทะเบียนที่ดิน ผลการศึกษาปรากฏว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้นั่นคือ การบริหารงานทะเบียนที่ดิน ของสำนักงานที่ดินจังหวัดประสบกับปัญหาอุปสรรคหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาในด้านการวางแผนงานการจัดคนเข้าทำงาน และการควบคุม ตลอดจนปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทางการบริหารที่เข้ามามีอิทธิพลต่อการบริหารงานทะเบียนที่ดิน นอกจากนี้ยังมีปัญหาในด้านความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่จะต้องมีอัธยาศัยเป็นกันเองกับประชาชนผู้มาติดต่อขอรับบริการและให้บริการแก่ประชาชนโดยไม่เห็นแก่สินจ้างรางวัล อย่างไรก็ตามหากต้องการให้การบริการแก่ประชาชนของสำนักงานที่ดินดีขึ้นไม่เพียงแต่จะต้องปรับปรุงสาเหตุใหญ่ ๆ ดังกล่าวข้างต้นเท่านั้น จะต้องพิจารณาถึงตัวประชาชนผู้มาติดต่อขอรับบริการด้วย ประชาชนผู้มาติดต่อจะต้องให้ความร่วมมือกับทางราชการในการปฏิบัติตามระเบียบกฎเกณฑ์ของทางราชการด้วย |
Other Abstract: | The Department of Lands (DOL) is a government agency of the Ministry of Interior which as its primary function to serve the people who have land problems and to protect the rights of land owners. In order to serve the land owners in the most efficient way, the DOL is divided into smaller units at both the Changwat and Amphur level, where DOL maintains separate land offices. The role of Changwat Land Offices is very important because it is the only part of DOL which directly protects and covers the rights of the land owners through the administration of the registration of Land Title. The operation of Changwat Land Offices play a very important role in the administration of primary land justice and should be responsible for rendering service to land owners but in practice it is found that the services rendered are not as efficient as they should be. Changwat Land Offices have to abide by sound principles of administration which calls for planning, organizing, staffing, directing and controlling, to achieves efficiently the set objectives. In the process, however, there are unavoidable obstacles and problems. To ensure the smooth running of the administrative work, certain remedial steps need to be taken. In studying the obstacles and problems in rendering services to the public within Changwat Land Offices, the writer makes her study by analytical description. The study is divided into two phases, namely : documentary research on data and theory by means of examining documents as found from books, documents, rules and regulations; secondly through field research by the questionnaires and interviews. One hundred and sixty-four samples were obtained from officials working in the Fourth District, Changwat Land Offices, namely; Nakornphathom, Samutsakorn, Samutsongkram, Rachaburi, Kanchanaburi, Petchaburi and Prajubkirikhan. The hypothesis posed by the writer on the nature of the problems is the problems and obstacles in the efficient administration of Changwat Land Offices due to the present administration processes and the ecological approach to administration involving rules and regulations involved in land registration administration. The results of the study indicate that the hypothesis was verified in that Changwat Land Offices meet countless obstacles, particularly in planning, staffing and controlling, and in the environmental area, all of which influence their efficient administration. The other problem identified concerns the responsibility of the officials. They should be courteous and act more informally to the public requesting service. However if better services are to be given to the public within Changwat Land Offices, not only two major causes should be remedied, but the public requesting services should also be considered. The public must give cooperation to the authorities in contact with the office. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 |
Degree Name: | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การปกครอง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23397 |
ISBN: | 9745642029 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
dhevee_ka_front.pdf | 515.74 kB | Adobe PDF | View/Open | |
dhevee_ka_ch1.pdf | 746.85 kB | Adobe PDF | View/Open | |
dhevee_ka_ch2.pdf | 2.2 MB | Adobe PDF | View/Open | |
dhevee_ka_ch3.pdf | 868.96 kB | Adobe PDF | View/Open | |
dhevee_ka_ch4.pdf | 1.9 MB | Adobe PDF | View/Open | |
dhevee_ka_ch5.pdf | 1.67 MB | Adobe PDF | View/Open | |
dhevee_ka_back.pdf | 971 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.