Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23400
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอุทัย บุญประเสริฐ
dc.contributor.authorธรรมรัตน์ ประเสริฐ
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-08T07:01:40Z
dc.date.available2012-11-08T07:01:40Z
dc.date.issued2525
dc.identifier.isbn9745616338
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23400
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบภูมิหลังของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในด้านเพศ อายุ ภูมิลำเนาเดิม สถานภาพการสมรส อาชีพของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง เงินเดือน คุณวุฒิทางการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน 2. เพื่อวิเคราะห์หาลักษณะเฉพาะ หรือแบบกระสวนทางอาชีพ (career pattern) ของผู้บริหารการศึกษา ก่อนได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหาร 3. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหาร และผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา เกี่ยวกับคุณสมบัติของบุคคลที่ควรได้รับการพิจารณาคัดเลือก และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา วิธีการดำเนินการวิจัย ประชากรในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหารและผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตการศึกษา 9 ทุกโรงเรียน จำนวน 330 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสำรวจภูมิหลังในด้านต่าง ๆ ของผู้บริหาร และสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหาร และผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติของบุคคลที่ควรได้รับการพิจารณาคัดเลือกและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา แบบสอบถามส่งไปจำนวน 330 ชุด ได้รับคืนจำนวน 288 ชุด คิดเป็นร้อยละ 87.28 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีตรวจนับความถี่ ค่าร้อยละ ค่าฐานนิยม ค่าพิสัย ทดสอบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยใช้ค่าไคสแควร์ (X²-test of goodness of fit) และค่าซี (Z-test) ข้อค้นพบที่สำคัญ 1. ภูมิหลังในด้านต่าง ๆ ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาส่วนใหญ่ : (1) เป็นเพศชาย (ร้อยละ 96) (2) ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ (ร้อยละ 44.80) (3) มีอายุระหว่าง 35-44 ปี (ร้อยละ 48.80) (4) มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในเขตการศึกษา 9 (ร้อยละ 74) และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารโรงเรียนอยู่ในจังหวัดซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของผู้บริหาร (ร้อยละ 63.20) (5) เป็นผู้ที่สมรสแล้ว (ร้อยละ 92) (6) มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองเป็นผู้มีอาชีพรับราชการ (ร้อยละ 40.87) (7) มีวุฒิวิชาสามัญชั้นมัธยมปีที่ 6 (ม.6) หรือมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม.ศ. 3) และมีวุฒิปริญญาตรีหรือสูงกว่าปริญญาตรี (ร้อยละ 87.20, 12.00) (8) ได้รับเงินเดือนในปีงบประมาณ 2525 ระหว่าง 4,945 – 6,585 บาท (ร้อยละ 53.23) (9) มีประสบการณ์การสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา และมีอายุราชการก่อนได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนอยู่ระหว่าง 6-10 ปี (ร้อยละ 44.80 และร้อยละ 44 ตามลำดับ) (10) มีประสบการณ์การทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนก่อนได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหาร (ร้อยละ 54.40) โดยมีสัดส่วนของผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ ผู้ช่วยฝ่ายปกครอง และผู้ช่วยฝ่ายธุรการ ร้อยละ 27.12, 25.42 และ 23.73 ของผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้บริหาร ตามลำดับ (11) ผ่านการอบรมเตรียมเป็นผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาก่อนได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหาร (ร้อยละ 61.60) (12) ยังไม่เคยเข้ารับการฝึกอบรมทางด้านการบริหารตามหลักสูตรอื่น ๆ เลย นอกเหนือจากการอบรมเตรียมเป็นผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา (ร้อยละ 75.20) จากการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้บริหารที่มีวุฒิปริญญาตรีซึ่งเรียนวิชาเอกหรือวิชาโททางด้านการบริหารการศึกษาโดยตรงนั้น ยังมีสัดส่วนที่ค่อนข้างต่ำ (ร้อยละ 7.77 และ 11.65 ตามลำดับ) 2. แบบกระสวนทางอาชีพ ผู้บริหารโรงเรียนส่วนใหญ่เกือบจะทั้งหมดที่เริ่มรับราชการในตำแหน่ง ครู – อาจารย์ โรงเรียนมัธยมศึกษา (ประมาณร้อยละ 99) และมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่ในทางราชการมาเป็นลำดับ โดยมีลักษณะเฉพาะหรือแบบกระสวนทางอาชีพที่สำคัญ 4 แบบ แบบกระสวนทางอาชีพดังกล่าวเมื่อจำแนกตามประสบการณ์การทำงานเรียงตามลำดับก่อนหลังก่อนที่จะดำรงตำแหน่งผู้บริหาร ดังนี้ (1) แบบที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งครู-อาจารย์, หัวหน้าหมวดวิชา และผู้ช่วยผู้บริหาร (2) แบบที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งครู-อาจารย์ และผู้ช่วยผู้บริหาร (3) แบบที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งครู-อาจารย์ และหัวหน้าหมวดวิชา และ (4) แบบที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งครู-อาจารย์ 3. ความคิดเห็นของผู้บริหารและผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษามีแนวโน้มไปในลักษณะที่เห็นด้วยกับคุณสมบัติในด้านต่าง ๆ ที่กำหนดโดยกรมสามัญศึกษาเพื่อคัดเลือกบุคลเข้ารับการอบรมเตรียมเป็นผู้บริหารหรือกำหนดโดยองค์การกลางบริหารงานบุคลสำหรับข้าราชการครู เพื่อใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งผู้บริหาร โดยมีสัดส่วนของผู้ที่เห็นด้วยในกลุ่มรวมของผู้บริหารและผู้ช่วยผู้บริหารตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งผู้บริหาร
dc.description.abstractalternativePurposes: 1. To study the backgrounds of secondary school administrators with regard to sex, age, domicile, marital status, parents’ or custodian’s occupations, salary, educational qualification and work experiences. 2. To analyze work experiences and specify typical characteristics or “the career patterns” of secondary school administrators before being appointed to school administrative positions. 3. To study and compare the secondary school administrators’ and assistant administrators’ opinions concerning qualifications of candidates who were preferably selected and appointed to the school administrative positions. Method of Research: The study’s populations consisted of all secondary school administrators and all assistant administrators in the Education Region Nine. A total amount of 330. The research instrument was the form of inventory designed to obtain the background information of secondary school administrators and questionnaire to solicit opinions of both administrators and assistant administrators concerning qualifications of candidates who were preferably selected and appointed to the school administrative positions. Three hundred and thirty copies of questionnaire were distributed and 288 returned (87.27%). The data were analyzed and presented in terms of frequency, percentage, mode, range, content analysis and test significance of differences. The Chi-Square (X²-test of goodness of Fit) and Z-test were utilized to determine the difference between two groups. Findings: The major findings of the study were: 1. The selected backgrounds of secondary school administrators. A majority of these secondary school administrators: (1) were male (96%) (2) were Head Master (Kru Yai., 44.80%); (3) were between the ages of 35-44 (48.80%); (4) lived in the provinces located in the Education Region Nine (74%) and were appointed to be the administrators of schools situated in their old domicile (63.20%); (5) were married (92%); (6) had parents or custodians whose occupation were Public Officials (40.87%); (7) had general education certificate of Matayom 6 (M.6) or Matayom Suksa 3 (M.S.3) and some had Bachelor’s Degree and Degree beyond Bachelor’s Degree (87.20%, 12.00%) (8) had monthly salary between 4,945 – 6,585 baht in the Fiscal Year B.E.2525 (53.23%); (9) had 6-10 years of teaching experience in secondary schools and 6-10 years of public service (44.80% and 44% respectively); (10) had served as assistant administrators before being appointed to the first administrative positions (54.40%); 27.12, 25.42 and 23.73 percent of them working on academic affairs, disciplinary affairs and business affairs respectively; (11) had participated in the pre-promotional training program before being appointed to the first school administrative positions (61.60%); (12) had no training in other courses in administration except the pre-promotional training program for those where were prepared to be secondary school administrators 75.20%). It was also found that only a small portion of secondary school administrators studying in major or minor area of educational administration (7.77% and 11.65% respectively) 2. Career Patterns Almost all administrators generally began their careers as secondary school teachers (approximately 99%) and were promoted to various academic and administrative positions before becoming the school administrators. Their career patterns are as follows: (1) Teacher-Department Head-Assistant Administrator-School Administrator; (2) Teacher-Assistant Administrator-School Administrator; (3) Teacher-Department Head-School Administrator; and (4) Teacher-School Administrator. 3. Administrators’ and Assistant Administrators’ Opinions Almost all qualifications determined by Department of General Education for personnel selection or determined by Central Agency of Teachers for Personnel Administration for promotion, tended to be in favor of both administrators and assistant administrators. Over 50 percent of respondents of two groups agreed with each qualification. Both administrators and assistant administrators also agreed with specifications set for school administrative positions as indicated by Central Agency of Teachers for Personnel Administration.
dc.format.extent768289 bytes
dc.format.extent680699 bytes
dc.format.extent1899021 bytes
dc.format.extent591864 bytes
dc.format.extent2267837 bytes
dc.format.extent1718485 bytes
dc.format.extent1651282 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการศึกษาเกี่ยวกับภูมิหลังของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตการศึกษา 9en
dc.title.alternativeA study of secondary school administrators' backgrounds in the education region nineen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thamarat_pr_front.pdf750.28 kBAdobe PDFView/Open
thamarat_pr_ch1.pdf664.75 kBAdobe PDFView/Open
thamarat_pr_ch2.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open
thamarat_pr_ch3.pdf577.99 kBAdobe PDFView/Open
thamarat_pr_ch4.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open
thamarat_pr_ch5.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open
thamarat_pr_back.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.