Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23412
Title: แบบแผนชีวิตชุมชนที่มีผลกระทบต่อภาวะเจริญพันธุ์ของสตรีกะเหรี่ยง ที่กิ่งอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
Other Titles: The effect of community's way of life on fertility of karen woman at king Amphoe Suan Phung Ratchaburi Province
Authors: เทวี สวรรยาธิปัติ
Advisors: นพวรรณ จงวัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงลักษณะการดำเนินชีวิตของบุคคลในชุมชนกะเหรี่ยงที่อาจมีผลกระทบต่อภาวะเจริญพันธุ์ของสตรีโดยได้พิจารณาข้อมูลทั่ว ๆ ไปทั้งในด้านที่เกี่ยวกับลักษณะทางประชากร เศรษฐกิจและสังคม ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลปฐมภูมิที่ผู้วิจัยได้เข้าไปเก็บรวบรวมด้วยตนเอง ในระหว่างเดือนมีนาคม – พฤษภาคม 2521 ประชากรที่ตกเป็นตัวอย่างมีทั้งสิ้น 358 ครัวเรือนจากชาวกะเหรี่ยงทั้งหมด 14 หมู่บ้าน ในตำบลสวนผึ้ง และตำบลบ้านบึง ผลของการศึกษาถึงปัจจัยด้านเศรษฐกิจพบว่าสตรีกะเหรี่ยงเกือบทั้งหมดมีสามีที่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม จึงมีจำนวนบุตรเกิดรอดโดยเฉลี่ยสูงกว่าสตรีที่มีสามีประกอบอาชีพอื่น ๆ (5.2 คน) โดยเฉพาะสตรีที่มีสามีประกอบอาชีพรับราชการจะมีจำนวนบุตรเกิดรอดโดยเฉลี่ยน้อยที่สุด (3.0 คน) ความสัมพันธ์ดังกล่าวจะแปรผันไปบ้าง เมื่อพิจารณาในแต่ละหมวดอายุของสตรี แต่ถึงอย่างไรก็ตามสตรีที่มีสามีประกอบอาชีพเกษตรกรรมยังคงมีจำนวนบุตรเกิดรอดสูงกว่าทุกอาชีพอื่น สำหรับความสัมพันธ์ของอาชีพสตรีกับภาวะเจริญพันธุ์พบว่า ลักษณะการทำงานของสตรีไม่ขัดต่อบทบาทและภาระในการมีบุตร จึงทำให้สตรีส่วนใหญ่ในสังคมกะเหรี่ยงทำงานในด้านการเกษตร ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้มีจำนวนบุตรเกิดรอดเฉลี่ยสูงสุด (5.2 คน) สตรีเป็นส่วนหนึ่งของแรงงานในครัวเรือน เพราะลักษณะการทำงานไม่ต้องใช้เทคนิคในการผลิตหรือความรู้มากนัก สำหรับสตรีที่ไม่ได้ประกอบอาชีพในปีที่เข้าไปสัมภาษณ์เป็นสตรีที่อายุน้อยและผ่านชีวิตสมรสมาไม่นานจึงมีจำนวนบุตรเกิดรอดค่อนข้างต่ำ (3.4 คน) ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างที่ดินที่เป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตกับภาวะเจริญพันธุ์พบว่า ความสัมพันธ์ดังกล่าวมีน้อยดังเช่น เมื่อพิจารณาถึงความเพียงพอของที่ดินที่ใช้กับทัศนคติในเรื่องจำนวนบุตรในอุดมคติจะค่อนข้างใกล้เคียงกับระหว่างผู้ที่มีที่ดินตั้งแต่ 40 ไร่ขึ้นไป (4.1 คน) และผู้ที่ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง (4.5 คน) รวมไปถึงการพิจารณารายได้ของคู่สมรสมีลักษณะของแบบแผนที่ไม่แน่นอนในกลุ่มของผู้มีรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง ทั้งนี้เป็นเพราะแบบแผนชีวิตที่คล้ายคลึงในสังคมยกเว้นการพิจารณาจากผู้มีรายได้สูง จะเห็นได้ว่าภาวะเจริญพันธุ์จะเริ่มลดลงบ้างและเช่นเดียวกันกับการศึกษาถึงระดับฐานะทางเศรษฐกิจก็ไม่ได้เป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงภาวะเจริญพันธุ์ได้ ทั้งนี้เพราะระดับฐานะทางเศรษฐกิจในสังคมกะเหรี่ยงค่อนข้าง[ไล่เลี่ย]กันความแตกต่างจึงมีอยู่น้อย โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับต่ำ สำหรับปัจจัยทางด้านประชากร ปรากฏว่าอายุแรกสมรสมีความสัมพันธ์กับภาวะเจริญพันธุ์ กล่าวคือจำนวนบุตรเกิดรอดจะลดลงถ้าสตรีมีอายุแรกสมรสเพิ่มขึ้นและเมื่อพิจารณาในแต่ละหมวดอายุพบว่าได้ผลเช่นเดียวกันแต่ทั้งนี้จะเป็นแบบแผนค่อนข้างชัดเจนเฉพาะในกลุ่มอายุตอนต้นของสตรี ส่วนปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับประชากร เช่น ระยะเวลาการสมรสที่ยาวนาน สตรีใช้ชีวิตสมรสอยู่ร่วมกันกับสามีตลอดเวลาทำให้สตรีมีโอกาสมีบุตรจำนวนมาก ภาวะเจริญพันธุ์จึงค่อนข้างสูง แต่จากการมีครอบครัวขนาดใหญ่ทำให้สุขภาพอนามัยทั้งของมารดาและทารกไม่ดี จึงทำให้มีการล้มเหลวของการตั้งครรภ์ในทุกกลุ่มอายุ ประสบการณ์ที่มีการตายของทารก ทำให้สตรีกะเหรี่ยงต้องมีบุตรทดแทนจำนวนที่ขาดหายไป ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติในด้านวิธีการป้องกันการปฏิสนธิมีน้อยและมีความเชื่อที่ผิด ๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคที่สำคัญทำให้สตรีกะเหรี่ยงไม่ค่อยยอมรับความรู้ใหม่ ๆ ที่เข้าไปเผยแพร่ ประกอบกับการเผยแพร่ความรู้เป็นไปอย่างไม่ทั่วถึง การปฏิบัติในด้านวิธีการป้องกันการปฏิสนธิจึงมีอยู่เฉพาะในหมู่บ้านที่อยู่ไม่ห่างไกลนักและสตรีที่กำลังปฏิบัติวิธีใดวิธีหนึ่งอยู่ไม่ใช่เพื่อการวางแผนครอบครัวแต่เป็นการใช้ปฏิบัติเมื่อสตรีได้มีบุตรในจำนวนมากแล้ว ในด้านปัจจัยทางสังคม เมื่อพิจารณาถึงการศึกษาของคู่สมรส ปรากฏว่าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชนที่มีการศึกษาอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นเมื่อศึกษาถึงการศึกษาของสามีของสตรีชาวกะเหรี่ยง สตรีส่วนใหญ่ที่มีสามีไม่เคยได้รับการศึกษามีจำนวนบุตรเกิดรอดเฉลี่ยสูงสุด 5.6 คน และลดน้อยลงตามระดับการศึกษาที่เพิ่มขึ้น สำหรับการศึกษาของสตรีได้ข้อมูลที่แปรผันไปเนื่องมาจาก กลุ่มผู้รู้หนังสือมีน้อย ลักษณะการดำรงชีวิตที่คล้ายคลึงกัน สตรีอาจเคยเข้าโรงเรียนแต่ไม่ได้ใช้ความรู้ วิถีการดำเนินชีวิตจึงไม่แตกต่างกัน ยกเว้นสตรีที่มีความรู้มากกว่าระดับประถมศึกษาขึ้นไป ดังนั้นภาวะเจริญพันธ์ของสตรีที่มีระดับการศึกษาต่างกันจึงไม่แตกต่างกันมากนักยกเว้นสตรีที่มีความรู้สูงกว่าระดับประถมศึกษาขึ้นไป และจากการที่สถานภาพทางการศึกษาต่ำเป็นสังคมชนบทจึงทำให้สังคมกะเหรี่ยงยังคงมีความเชื่อ ทัศนคติในสิ่งที่งมงายและไร้เหตุผลอยู่บ้างการเปลี่ยนแปลงแนววิถีชีวิตค่อนข้างช้า รวมไปถึงทัศนคติในการดำเนินชีวิตส่วนอื่น ๆ เช่น ทัศนคติของสตรีในเรื่องการไม่สมรส สตรีกะเหรี่ยงยังคงเห็นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดีนักในสังคม รวมทั้งลักษณะขนบประเพณีการสมรสไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย สตรีมีโอกาสเลือกคู่ครองด้วยตนเองโดยคำนึงถึงความขยันขันแข็งในการประกอบอาชีพเป็นหลักใหญ่ ทั้งนี้เนื่องมาจากลักษณะของงานที่ต้องใช้แรงกายและความบากบั่นหมั่นเพียรเป็นหลักสำคัญ สตรีจึงสมรสมากกว่าการอยู่เป็นโสด สถานภาพการสมรสมั่นคงไม่ค่อยมีการหย่าร้างหรือแยกกันอยู่ แต่สตรีอาจจะสมรสใหม่เมื่อสถานภาพการสมรสเดิมสิ้นสุดลง เมื่อพิจารณาจากทุก ๆ ปัจจัยประกอบกันจะเห็นได้ว่ากลุ่มชนชาวกะเหรี่ยงมีลักษณะแบบแผนการดำเนินชีวิตที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกัน ความแตกต่างในสังคมมีน้อยมาก กล่าวคือเป็นสังคมเกษตรกรรมอยู่ในเขตชนบท ด้อยการศึกษายังคงมีความเชื่อในเรื่องโชคลางไสยศาสตร์อยู่ สตรีมีโอกาสไปติดต่อกับสังคมภายนอกน้อย สิ่งเหล่านี้เป็นผลกระทบที่ให้สตรีมีภาวะเจริญพันธ์ที่สูงได้
Other Abstract: The objective of this research is to investigate the pattern of life in Karen community in Ratchaburi which may effect on the fertility of population. Considering the population, economic and social data collected by the researcher during March-May 1978. The 358 sample households are located in 14 villages of Tambon Suan Phung and Tambon Ban Bung. The results of the study indicate that most Karen people are farmers, the others have different occupations. It shows that the average number of children ever born of the women whose husbands are in the agricultural business is the highest (5.2) and the average number of children ever born of women whose husbands are government official is the lowest (3.0). When the current age of women in controlled, the relationship between the husband occupations and number of children ever born is not significant. When considering the women’s occupations and fertility, it shows that the role on women as mothers is not obstructed by the nature of women’s work since most of the Karen women work on the farm. And also because of the need of the agricultural labourers, it seems that the demand for a large number of children (5.2) still exists in the Karen society. In the group of the younger women with short duration of marriage, the average number of children ever born is quite small (3.4). It is also found that the relationship between the number of land owned and fertility is not very strong. Regarding the attitudes toward the ideal number of children, it is found that the ideal number of children of those who own more than 40 rai of land (4.1) and those who own no land (4.5) is not different. In addition, the number of children ever born of those who are in different levels of income does not much vary either. This might be because the different income does not make the [different] way of life. Regarding the demographic characteristics, the results show that there is the relationship between age at marriage and the fertility. Ever married women whose age at first marriage is higher, their number of children ever born is smaller. The result is confirmed when the current age of ever married women is tabulated. In addition, the longer the duration of marriage is the larger number of children ever born. However, the maternity and child health are not so well. The spontaneous abortion and the infant mortality are found in every age group of ever married women. With this experience, the demand for large number of children still exists in Karen society. The rumour about knowledge, attitude and practice of family planning are also the obstacles for accepting of family planning practice. So the purpose of using of any contraceptive method is to stop having children after they have complete number of children but not for family planning. Regarding the social characteristics of the couples, the educational attainment of Karen couples are quite low. Most of them have finished the primary level of education. However, there is some relationship between the education attainment and the fertility level. Ever married women whose husbands have never been attained any schooling have the largest number of children ever born (5.6). The higher level of education of the husbands is the lower number of children ever born. In addition to education of ever married women, it is found that the number of children ever born of the ever married women who have attained different levels of education is not much different. This is because the pattern of life of Karen population who have different socio-economic background is not much different, as mentioned before. The Karen religious belief is still animism and primitive. The social norm and value change very slowly such as the attitude toward marriage. The Karen women choose their husbands by considering their diligence in making a living. And also the marriage custom does not cost them much, so most Karen women are married. However, the divorce and separation are not commonly found in Karen society but Karen women will get married again after their marriage status ending. In conclusion, the pattern and the way of life of Karen population with different socio-economic background do not much vary. It is still uneducated society, since they believe in superstitions. They have little opportunities to contact with outside societies. These factors reflect to higher fertility of Karen population.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23412
ISBN: 9745608998
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thewee_sa_front.pdf939.28 kBAdobe PDFView/Open
thewee_sa_ch1.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
thewee_sa_ch2.pdf3.89 MBAdobe PDFView/Open
thewee_sa_ch3.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
thewee_sa_ch4.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open
thewee_sa_ch5.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
thewee_sa_ch6.pdf923.69 kBAdobe PDFView/Open
thewee_sa_back.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.