Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23430
Title: | การชดเชยความเสียหายจากความล่าช้าในงานก่อสร้างและแนวทางการประเมินความเสียหาย |
Other Titles: | Compensation of construction delay damages and guideline for damage assessment |
Authors: | พันธ์ศักดิ์ ดาวเรือง |
Advisors: | วิสุทธิ์ ช่อวิเชียร |
Subjects: | สัญญาก่อสร้าง -- การจัดการ โครงการก่อสร้าง -- การจัดการ เบี้ยปรับ Construction contracts -- Management Construction projects -- Management Penalties, Contractual |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเสียหาย และการชดเชยค่าเสียหายจากความล่าช้าในงาน ก่อสร้างที่เกิดจากผู้รับจ้างทำงานไม่แล้วเสร็จตามกำหนด รวมถึงเสนอแนวทางการประเมินความเสียหายจาก ความล่าช้าในงานก่อสร้าง เพื่อช่วยในการพิจารณากำหนดอัตราปรับที่สมเหตุสมผล ขั้นตอนของการศึกษา ประกอบด้วย ศึกษาเอกสารและออกแบบสอบถามความเสียหายจากความล่าช้าในการก่อสร้าง รวบรวมและ วิเคราะห์ข้อมูล ความเสียหายและการชดเชยค่าเสียหายจากความล่าช้าในการก่อสร้าง เสนอแนวทางในการ ประเมินความเสียหายจากความล่าช้าในการก่อสร้าง ประเมินผลการวิจัย และสรุป จากการศึกษาพบว่า การชดเชยความเสียหายจากความล่าช้าของรัฐในปัจจุบัน เป็นการกำหนดอัตรา ปรับซึ่งถือเป็นเบี้ยปรับ (Penalty) สวนหนึ่ง กับส่วนที่สัญญาเปิดโอกาสให้เรียกค่าเสียหายจากผู้รับจ้างได้อีกจาก ส่วนที่เกินจากค่าปรับนั้นได้ ซึ่งเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้เป็นการล่วงหน้าโดยไม่มีที่มาในการกำหนด ค่าเสียหายนั้น นั่นคือไม่ทราบถึง ความเสียหายที่จะได้รับ จำนวนความเสียหาย และที่มาในการคำนวณ อีกทั้ง ปัญหาในการกำหนดอัตราค่าปรับความเสียหายจากความล่าช้า และปัญหาที่ทำให้การเรียกร้องค่าเสียหายใน ส่วนที่เกินกว่าจำนวนค่าปรับไม่ประสบความสำเร็จ ในงานก่อสร้างของรัฐทั้งหมดที่ศึกษาพบนั้น ส่งผลให้การ เรียกร้องค่าชดเชยความเสียหายไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และแตกต่างจากรูปแบบที่ใช้กันในสัญญาสากล ที่ เป็นการกำหนดจำนวนเงินค่าเสียหายที่ต้องชดใช้ให้แก่กัน โดยมีหลักเกณฑ์ว่าจะต้องเกิดความเสียหาย สำหรับ แนวทางในการประเมินความเสียหายจากความล่าช้าในการก่อสร้างที่สามารถประเมินค่าได้เป็นเงินในโครงการ งานทางได้แก่ มูลค่าเวลาของผู้ใช้รถที่สูญเสีย และมูลค่าค่าใช้จ่ายในการใช้ยวดยานที่สูญเสีย โดยพิจารณาจาก ผลประโยชน์ที่ผู้ใช้ถนนได้รับ และผลกระทบต่อผู้ใช้ถนนในระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งจากการประเมินความ เสียหายในโครงการที่ศึกษา สามารถสรุปได้ว่าผลประโยชน์ที่ผู้ใช้ถนนได้รับจากโครงการเป็นผลประโยชน์ที่ควรพิจารณา ให้ความสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับผลกระทบต่อผู้ใช้ถนน สำหรับโครงการชลประทานทางการเกษตร ผลประโยชน์ที่ประเมินค่าได้เป็นเงินแบ่งได้เป็น 3 อย่างคือ ผลประโยชน์จากการให้น้ำเสริมแก่การเพาะปลูก ผลประโยชน์จากน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และผลประโยชน์จากการจับสัตว์น้ำ ซึ่งความแตกต่างของความ เสียหายที่ประเมินค่าได้ในโครงการที่ศึกษาเกิดจาก อัตราสวนของพืชเกษตรที่ปลูกแต่ละชนิด และพื้นที่รับ ประโยชน์จากโครงการที่แตกต่างกัน การประยุกต์ใช้ในการกำหนดอัตราปรับความเสียหายจากความล่าช้าใน การก่อสร้างจึงขึ้นอยู่กับ มูลค่าความเสียหายที่ประเมินค่าได้เป็นเงิน และการใช้ดุลยพินิจของผู้ประเมินเมื่อ พิจารณาความเสียหายที่ประเมินค่าไม่ได้เป็นเงินประกอบ |
Other Abstract: | The objectives of this research are to study the damages and the compensation of damages caused by construction delay which occurred from contractor failure to complete the work within the schedule, and to propose guidelines for assessment of delay damages which assessors can apply to set reasonable penalty rates. The study was done by performing questionnaire survey about the damages caused from construction delays, collecting and analyzing the data related to the delay damages and the compensation of delay damages which occurred in each type of construction work, proposing the guidelines for assessment of delay damages and concluding the research. According to the study, at present, Thai Government regards the compensation as the contractor’s penalty. An amount of penalty combined with that fined for construction delay is specified in the contract to claim from the contractor. This regulation is predetermined without any details of the actual damages such as types, amounts and the calculation methods. Also, there are problems in penalty rate setting for delay and in unsuccessful claiming for an additional amount indicated in the contract. These lead to the inefficiency in claim and compensation procedure. Also, it differs from the international practice, which predetermines compensation rate by an amount of possible damages. As to the guidelines for assessing damages caused by construction delay of project that can be assessed in form of figures, in the road project, for example, they are the reduction in User Time Cost and Vehicle Operating Cost. These cost can be calculated from advantages that road users gain and effects they have during the construction period. After having studied the assessment of road project, it can be concluded that road users’ benefits from the project should be paid high level of attention when compared with the effects occurred. Moreover, in irrigation projects, the assessable benefits consist of three components: benefit in agriculture, benefit in water consumption, and benefit in fishery. The difference between the assessed damages found in the case-study project are due to the difference ratio of each plantation and the different consequent beneficial areas resulted from variety of plantations. Finally, the application for assessed penalty rates on construction delay depends on the value of damages which can be directly in form of figures and consequential one which assessors need to analyze carefully. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23430 |
ISBN: | 9741760132 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Punsak_da_front.pdf | 3.46 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Punsak_da_ch1.pdf | 2.21 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Punsak_da_ch2.pdf | 12.51 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Punsak_da_ch3.pdf | 1.64 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Punsak_da_ch4.pdf | 5.97 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Punsak_da_ch5.pdf | 12.13 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Punsak_da_ch6.pdf | 7.65 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Punsak_da_ch7.pdf | 2.06 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Punsak_da_back.pdf | 8.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.