Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23431
Title: การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคงทนของการเรียนรู้ระหว่างนักเรียน ที่เรียนด้วยเกมจำลองสถานการณ์ กับที่เรียนตามแผนการสอน
Other Titles: A comparison of learning achiefment and retention between students taught by using simulation games and teacning Manual
Authors: ทัศนีย์ สุวรรณพงษ์
Advisors: วารี ถีระจิตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนของการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยเกมจำลองสถานการณ์ กับนักเรียนที่เรียนด้วยการสอนตามแผนการสอนของหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้เลือกเนื้อหาที่จะสอนและนำมาสร้างเกม 5 เรื่อง จากแผนการสอนกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 คือเรื่อง การบริโภค การประกอบอาชีพของคนไทย กฎหมายสำคัญสำหรับชีวิตประจำวัน การสื่อสาร และการสหกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1. เกมจำลองสถานการณ์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 5 เกม โดยผ่านการตรวจแก้ไขจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำวน 5 ท่าน และนำไปทดลองใช้เพื่อหาข้อบกพร่อง และปรับปรุงแก้ไข 2. แบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่ผ่านการตรวจแก้ไขจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และนำไปทดลองใช้ได้ จำนวน 47 ข้อ โดยมีค่าความยากระหว่าง .20-.78 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .24-.64 และมีค่าของความเที่ยง 0.91 ตัวอย่างประชากรในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนวัดท่าพูด (นครผลประชานุกูล) จำนวน 60 คน โดยการทดสอบความรู้ก่อนการเรียนแล้วจับคู่คะแนนที่เท่ากัน หรือใกล้เคียงกันมากที่สุด จำนวน 30 คู่ และใช้วิธีจับฉลากในการกำหนดว่ากลุ่มใดเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองในการทดลอง ผู้วิจัยสอนกลุ่มทดลองและครูผู้สอนประจำ กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต เป็นผู้สอนกลุ่มควบคุม ใช้เวลาในการสอนเท่ากัน ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการทดสอบค่า ที ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01 ผลการวิจัย 1. ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนที่เรียนด้วยเกมจำลองสถานการณ์และนักเรียนที่เรียนตามแผนการสอน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกัน 2. ด้านความคงทนของการเรียนรู้ นักเรียนที่เรียนด้วยเกมจำลองสถานการณ์ นักเรียนที่เรียนตามแผนการสอน มีความคงทนของการเรียนรู้แตกต่างกัน
Other Abstract: Purpose: The purpose of the research was to compare the learning achievement and retention of Prathom Suksa 5 students which were taught by simulation games and by teaching manual. Procedure: The lessons content consisted of 5 topics, included in the life experiences are, namely, [consumption], Thai occupations, basic law in daily life, communication and co-operative. The lessons were selected and reconstructed in the form of simulation games by the researcher. Instrument 1. Five simulation games were employed. They had been improved by 5 experts and tried out prior to the application. 2. Forty seven items of achievement test were developed. They had also been improved by the experts of 5 and tried out prior to the application. The tests considered to be at P = .20 - .78, D = .24 - .64 and 0.91 reliability. Sample : The sample consisted of 60 grade five students in Watthapood School Nakornpathom. The students were pre-tested and divided into two groups by means of matching the score’s approximation; 30 pairs of students were matched and simply randomized to form an experimental and a control group. The researcher taught the experimental group while the control group was taught by a classroom teacher who teaches a life experience subject. The teaching was conducted in the same period of time. Results: 1. The achievement of the students taught by simulation games and by teaching manual are not different. 2. The learning retention of the students taught by simulation games and by teaching manual are different.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23431
ISBN: 9745646369
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tassanee_Suv_front.pdf490.16 kBAdobe PDFView/Open
Tassanee_Suv_ch1.pdf658.8 kBAdobe PDFView/Open
Tassanee_Suv_ch2.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open
Tassanee_Suv_ch3.pdf562.61 kBAdobe PDFView/Open
Tassanee_Suv_ch4.pdf322.25 kBAdobe PDFView/Open
Tassanee_Suv_ch5.pdf496.4 kBAdobe PDFView/Open
Tassanee_Suv_back.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.