Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23435
Title: การชมรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาของประชาชนในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Viewing television programs for education of people in Bangkok Metropolis
Authors: ทัศนีย์ ยาสมาน
Advisors: สำเภา วรางกูร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2519
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความเจริญของสังคมในปัจจุบันยิ่งมีมากขึ้นเพียงใด ความจำเป็นในการแสวงหาความรู้เพื่อให้ปรับตัวเข้ากับสังคมได้ก็ย่อมมีความจำเป็นเพิ่มมากขึ้นเพียงนั้น โทรทัศน์จึงเป็นสื่อมวลชนที่เข้ามามีบทบาทอย่างสำคัญในการให้การศึกษานอกระบบกับประชาชน ผู้วิจัยทำการวิจัยเรื่องนี้ก็เพื่อต้องการจะศึกษาสภาพของรายการโทรทัศน์ในปัจจุบันว่า มีส่วนให้การศึกษานอกระบบแก่ประชาชนมากน้อยเพียงใด ประชาชนรับชมรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาที่จัดอยู่แล้วบ้างหรือไม่ อะไรเป็นอุปสรรคที่ทำให้ไม่ได้รับชมรายการโทรทัศน์เหล่านั้น ประชาชนได้รับประโยชน์จากการชมรายการโทรทัศน์มากน้อยอย่างไร และประชาชนมีความต้องการรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาหรือไม่ วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นคือ ขั้นที่หนึ่ง ศึกษาเปรียบเทียบการจัดรายการโทรทัศน์ของสถานีโทรทัศน์ทั้ง 4 สถานีในเดือนตุลาคม พฤศจิกายน และธันวาคม โดยการบันทึกเวลาการออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ว่า มีอัตราส่วนการออกอากาศของรายการแต่ละประเภทเป็นอย่างไร ขั้นที่สองคือ ศึกษาความสนใจ การรับชม และความต้องการรายการโทรทัศน์ของประชาชนว่าเป็นอย่างไรโดยการออกแบบสอบถาม แล้วนำแบบสอบถามมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติที่เหมาะสม ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ คือ 1. สถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ จัดรายการโทรทัศน์ประเภทส่งเสริมความรู้ทุกสถานี แต่จัดในอัตราส่วนไม่เท่าเทียมกัน ตลอดระยะเวลา 3 เดือนที่ทำการวิจัย สถานีไทยโทรทัศน์ช่อง 9 จัดรายการส่งเสริมความรู้มากกว่าสถานีอื่นคือ เฉลี่ยประมาณร้อยละ 12 ของรายการโทรทัศน์ทั้งหมด และสถานีไทยโทรทัศน์ช่อง 3 จัดรายการส่งเสริมความรู้น้อยกว่าสถานีอื่น คือ เฉลี่ยประมาณร้อยละ 0.613 ของรายการโทรทัศน์ทั้งหมด ซึ่งอัตราส่วนการจัดรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาของทั้งสองสถานีนี้เป็นอัตราส่วนที่ไม่ใกล้เคียงกัน 2. ช่วงเวลาการเสนอรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาเป็นอุปสรรคที่สำคัญของการรับชม เพราะจากการวิจัยพบว่าช่วงเวลาที่ประชาชนชอบชมรายการโทรทัศน์มากที่สุดในวันจันทร์ถึงวันศุกร์คือ ช่วงเวลา 18.00-20.00 น. ในวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการคือ ช่วงเวลา 12.00-14.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ประชาชนต้องการให้รายการโทรทัศน์ที่ชอบหรือที่สนใจมากที่สุดออกอากาศช่วงนี้ด้วย แต่จากการวิเคราะห์รายการโทรทัศน์ ปรากฏว่าช่วงเวลาดังกล่าวนี้บางสถานีมีรายการเพื่อการศึกษาประมาณ 20-30 นาที บางสถานีไม่จัดรายการเพื่อการศึกษาในช่วงเวลานี้เลย 3. ช่วงเวลา 16.00-18.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ประชาชนมีโอกาสรับชมรายการโทรทัศน์น้อยที่สุด แต่รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาส่วนใหญ่จัดในช่วงเวลานี้ 4. ประชาชนเห็นประโยชน์ของการชมรายการโทรทัศน์ว่า นอกจากจะได้ความเพลิดเพลินแล้ว ยังทำให้เป็นคนทันต่อเหตุการณ์ และมีความรู้รอบตัวในด้านต่าง ๆ มากขึ้น และในการเลือกชมโทรทัศน์แต่ละครั้งนั้น ประชาชนเลือกชมโดยใช้เหตุผลที่ว่าดูรายการที่ให้ความเพลิดเพลิน สนุกสนาน และดูรายการที่ให้ความรู้หรือมีประโยชน์เป็นเหตุผลในการตัดสินใจ 5. ประชาชนมีความคิดเห็นว่า รายการความรู้หรือสารคดีที่จัดอยู่ในปัจจุบันมีคุณภาพและปริมาณปานกลาง สถานีโทรทัศน์ควรจัดรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาเพิ่มขึ้นมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และต้องการรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาส่งเสริมความรู้ รองลงมาคือ ส่งเสริมศีลธรรมและให้ความบันเทิง 6. เกี่ยวกับการปรับปรุงรายการโทรทัศน์ ประชาชนมีความคิดเห็นว่า ควรมีการปรับปรุงเนื้อหาสาระของรายการ เทคนิคการจัดรายการ และเวลาของรายการมากขึ้น
Other Abstract: Due to the rapid progress of the society, the knowledge acquisition for the adjustment of the modern man becomes necessary. Television, as on type of the mass media which conveys informal education to public becomes increasingly important. In taking this topic, the writer hoped to find out that how significance the present T.V. programs had contributed to the public the informal education; Are the T.V.-viewers interested in the present ready educational programs? If they are not, what causes prevented them from those programs. How useful are those programs to the T.V.-viewers and do the T.V.-viewers really want educational programs? The Procedure The procedure of the study was two steps: first, to compare the broadcasting time ratios of categorized programs in each stations (four T.V. stations in Bangkok) during the months of October, November and December; second to study T.V.-viewers’ interest, requisition of programs, frequency of viewing. Questionnaires were carefully designed and sent out to the T.V.-viewers. Statistical techniques were employed to analyzed the returns. The Results 1. Every T.V. stations had educational-promoted programs but in different broadcasting, time ratios. Within the three months specified, T.V. Channel 9 had the most broadcasting time of educational-promoted programs (about 12% of the total broadcasting time). T.V. Channel 3 had the least time (about 0.613%). 2. The significant cause that prevented T.V.-viewers from viewing educational programs was the timing. The preferable viewing time for week-days was from 6.00 p.m. to 8.00 p.m. and noon to 2 p.m. for week-ends on holidays. These were also preferable times for any types of programs. However, the study indicated few stations had about 20-30 minutes of educational programs while few stations had none. 3. Most stations broadcasted educational programs during 4.00-6.00 p.m. while least T.V.-viewers who preferred it had the chance to view it. 4. Most T.V.-viewers showed interest in viewing educational programs since they were entertained and the same time they were also informed. For the reasons of deciding preferable programs, most T.V.-viewers usually had specific aim in mind for entertainment or for knowledge. 5. Most T.V.-viewers thought that the present educational programs were just moderate. However, programs needed to be improved. They ranked the educational program first, moral or ethic oriented program second and amusing program the last. 6. For programs improvement, subject matters must be reorganized first, program techniques were second and program televising time was the last.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23435
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tassanee_Ya_front.pdf643.34 kBAdobe PDFView/Open
Tassanee_Ya_ch1.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Tassanee_Ya_ch2.pdf2.16 MBAdobe PDFView/Open
Tassanee_Ya_ch3.pdf367.78 kBAdobe PDFView/Open
Tassanee_Ya_ch4.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open
Tassanee_Ya_ch5.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open
Tassanee_Ya_back.pdf999.85 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.