Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23500
Title: ความรับผิดในทางอาญาของผู้ใช้
Other Titles: Criminal liability of the instigator
Authors: ทรงพล สงวนพงศ์
Advisors: วีระพงษ์ บุญโญภาส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เนื่องจากความเห็นที่แตกต่างกันของนักกฎหมาย และการวินิจฉัยคดีของศาลในบางกรณีก่อให้เกิดความสับสนในปัญหาเรื่องผู้ใช้ให้กระทำความผิด ดังนั้นจึงได้มีการศึกษาถึงปัญหาดังกล่าว เพื่อแสดงให้เห็นถึงความหมายของผู้ใช้ให้กระทำความผิดเพื่อให้สอดคล้องกับความมุ่งหมายในการบัญญัติกฎหมายนั้นขึ้นมาอันจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษากฎหมาย การฟ้องร้อง และต่อสู้คดี รวมทั้งการพิจารณาคดีและการกำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดได้อย่างถูกต้อง บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ เช่นเดียวกับผู้ใช้ให้กระทำความผิด เมื่อกระทำการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ก็ต้องรับผิดในผลที่เกิดขึ้น แต่เนื่องจากแนวความคิดเห็นเกี่ยวกับความรับผิดของผู้ใช้ให้กระทำความผิดซึ่งถือว่าเป็นความผิดอันเกิดจากการกระทำของผู้อื่นนั้นแตกต่างกัน 2 ประการ กล่าวคือ 1. ความรับผิดในความหมายอย่างกว้าง เมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น แม้ผู้กระทำความผิดจะไม่ต้องรับโทษ ผู้ใช้ให้กระทำความผิดก็ต้องรับผิด 2. ความรับผิดในความหมายอย่างแคบ ผู้ใช้ให้กระทำความผิดไม่ต้องรับผิดเว้นแต่ตัวการจะต้องรับผิด จึงทำให้มีผลกระทบต่อการพิจารณาว่าผู้กระทำนั้นเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิด หรือเป็นผู้กระทำความผิดโดยทางอ้อม แม้กฎหมายไทยจะได้บัญญัติหลักเกณฑ์ของผู้ใช้ให้กระทำความผิดไว้อย่างชัดแจ้งแล้วในมาตรา 84, 85 แห่งประมวลกฎหมายอาญา แต่เนื่องจากนักกฎหมายยึดถือแนวความคิดเห็นที่ต่างกันดังกล่าวข้างต้น จึงทำให้หลักเกณฑ์เรื่องผู้ใช้ให้กระทำความผิดยังไม่เป็นที่แน่นอน นอกจากนั้นความรับผิดของผู้ใช้ให้กระทำความผิดตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 87, 88, 89 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ความคิดเห็นของนักกฎหมายไทยในบางประเด็นยังไม่เป็นที่ยุติ เนื่องจากการตีความกฎหมายที่แตกต่างกัน จากการศึกษาดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องกับความมุ่งหมายในการบัญญัติกฎหมายนั้น ผู้เขียนจึงเห็นว่า บุคคลใดจะเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิด ผู้โฆษณา หรือประกาศแก่บุคคลทั่วไปให้กระทำความผิดนั้น ให้พิจารณาจากบทบัญญัติในมาตรา 84 วรรคแรกหรือมาตรา 85 วรรคแรกแล้วแต่กรณี กล่าวคือ เพียงแต่ใช้โฆษณาหรือประกาศ(โดยเจตนา) ให้ผู้อื่นกระทำความผิดและผู้อื่นนั้นมีเจตนาที่จะกระทำความผิด ก็ถือว่าเป็นผู้ใช้ ผู้โฆษณาหรือประกาศแก่บุคคลทั่วไปให้กระทำความผิดแล้ว ส่วนความรับผิดของบุคคลดังกล่าวจะมีมากน้อยเพียงใดให้พิจารณาอีกชั้นหนึ่ง แต่ถ้าผู้อื่นนั้นไม่มีเจตนาที่จะกระทำความผิดกรณีนี้ถือว่าผู้ใช้เป็นผู้กระทำความผิดโดยอ้อม (มีข้อยกเว้นในบางกรณี)
Other Abstract: As the matter of the fact the different perception of the lawyers and the decision of the court in some cases have led to confusion upon the subject of "instigator”. Thus, this subject matter has been selected and studied in order to derive at the meaning of "instigator” which go along with the legislative objective of the law. It would possibly be an aid in future studying, prosecution and defence argument, trial and imposition on the offender. A person will be criminally liable when he has performed an act which the law states that it is wrong and put an imposition on. The instigator, as well, when he commits a crime, according to the law, he must be punished. However, there are two different schools of thought on this matter: 1. Criminally liable in a broad sense means that whenever there is an offence committed, even though the perpetrator does not receive any punishment, the instigator must be punished. 2. Criminally liable in a narrow sense. It is that the instigator should not be punished unless the perpetrator is punished. Hence, a trial is effected on whether the offender is the instigator or the perpetrator-by-means. Although the Thai criminal law has stated clearly upon the instigator in Section 84 and 85 of the Criminal Code, but, as many lawyers belong to different school of thought, the meaning on instigator is not yet settled. Apart from that is the liability of the instigator, as stated in Section 87, 88 and 89 (of the same Code) is also unsettled, owing to the interpretation of each lawyer. Upon studying the objective of this legislation, the writer believes that he who is said to be an instigator, propagator or publisher to the general public to commit an offence must be considered under the jurisdiction of the first paragraph of Section 84 or the first paragraph of Section 85, accordingly. That means to instigate, to propagate or to publish (by intention ) in order to cause another person to commit any offence, and that person intentionally commits the offence, thus is said t o be the instigator, the propagator or the publisher t o the general public to commit the offence, The degree of liability which is laid upon such person is to be determined afterwards. If the employed person does not intend to commit an offence, the user is considered to be perpetrator-by-means. (There is an exception in some cases).
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23500
ISBN: 9745636657
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Songphol_Sa_front.pdf521.01 kBAdobe PDFView/Open
Songphol_Sa_ch1.pdf391.97 kBAdobe PDFView/Open
Songphol_Sa_ch2.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Songphol_Sa_ch3.pdf3.48 MBAdobe PDFView/Open
Songphol_Sa_ch4.pdf2.88 MBAdobe PDFView/Open
Songphol_Sa_ch5.pdf797.46 kBAdobe PDFView/Open
Songphol_Sa_back.pdf346.21 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.