Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23547
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | มุรธา วัฒนะชีวะกุล | |
dc.contributor.author | ประสิทธิ์ จงวิชิต | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-11-09T05:58:21Z | |
dc.date.available | 2012-11-09T05:58:21Z | |
dc.date.issued | 2527 | |
dc.identifier.isbn | 9745639754 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23547 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 | en |
dc.description.abstract | ละเมิดคือ การที่บุคคลฝ่ายหนึ่งกระทำหรือละเว้นกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และด้วยการกระทำหรือละเว้นนั้นเป็นเหตุให้บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายต่อร่างกายก็ดี ทรัพย์สินก็ดี หรือชื่อเสียงก็ดี อันเป็นผลโดยตรงหรือผลธรรมดาของการกระทำหรือละเว้นนั้น หรืออีกนัยหนึ่ง ละเมิดคือ การกระทำหรือละเว้นกระทำซึ่งเป็นการละเมิดต่อสิทธิเอกชนที่กฎหมายรับรองอันผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นได้ อำนาจฟ้องเป็นสิทธิอย่างหนึ่งของบุคคลซึ่งมีบทบัญญัติของกฎหมายรับรองเอาไว้ผู้ที่จะฟ้องคดีแพ่งนั้นจะต้องมีอำนาจฟ้องโดยพิจารณาจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 ซึ่งเป็นบทบัญญัติแม่บทแห่งอำนาจฟ้องคดีแพ่ง การฟ้องคดีนั้นก็เพียงเพื่อได้รับความรับรอง การคุ้มครอง และการบังคับ ตามสิทธิหรือหน้าที่ของตนในทางแพ่ง ในคดีแพ่งการที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์อันเป็นการทำผิดหน้าที่ของตนหรือไม่ จำเป็นต้องได้ข้อเท็จจริงที่จะใช้ประกอบในการวินิจฉัยเสียก่อน ในการค้นหาความจริงจากข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่จะใช้ประกอบในการวินิจฉัยนี้ ศาลของประเทศต่าง ๆ ย่อมดำเนินตามกฎหมายวิธีพิจารณาความโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่ว่าด้วยพยานหลักฐาน ในบรรดาข้อพิพาทที่เป็นคดีมาสู่ศาลนั้น ปัญหาที่ศาลจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดมีอยู่สองอย่างคือปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมาย ประเด็นที่คู่ความต้องนำสืบนั้นต้องเป็นประเด็นเกี่ยวกับข้อเท็จจริง ถ้าเป็นประเด็นเกี่ยวกับข้อกฎหมาย ไม่ต้องนำสืบ เพราะถือว่าข้อกฎหมายนั้นศาลรู้เองได้ แม้พยานหลักฐานเป็นสิ่งที่ใช้ในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงแต่ก็มิได้หมายความว่าข้อเท็จจริงในคดีอันจะฟังเป็นยุติได้นั้นจำต้องอาศัยพยานหลักฐานในทุกกรณีไป ตามหลักกฎหมายข้อเท็จจริงซึ่งไม่ต้องอาศัยการพิสูจน์โดยพยานหลักฐานได้แก่ข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้ 1. ข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไป 2. ข้อเท็จจริงที่คู่ความรับกัน 3. ข้อสันนิษฐานของกฎหมาย ภาระการพิสูจน์มีความหมายถึงหน้าที่ที่คู่ความฝ่ายหนึ่งจะต้องนำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ต่อศาลให้ศาลเห็นจริงตามที่ตนกล่าวอ้าง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับภาระการพิสูจน์ในคดีละเมิดมีดังต่อไปนี้ 1. หลักเกณฑ์ทั่วไป ซึ่งมีหลักอยู่ว่า “ผู้ใดกล่าวอ้างผู้นั้นต้องพิสูจน์” 2. หลักเรื่องการสันนิษฐานที่ว่า ถ้ามีข้อสันนิษฐานไว้ในกฎหมาย เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใด ตกเป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายปฏิปักษ์ที่จะต้องนำสืบหักล้างความสันนิษฐาน เช่นนั้น 3. หลักเรื่องภาระการพิสูจน์ตกอยู่แก่ฝ่ายที่จะต้องแพ้คดี 4. หลักเรื่องความผิดปกติของบุคคลหรือทรัพย์ 5. หลักเรื่องข้อเท็จจริงที่อยู่ในความรู้เห็นของฝ่ายตนโดยเฉพาะ หลักนี้ใช้ในเรื่องละเมิดอันเกิดจากความประมาทเลินเล่อซึ่งเป็นหลักที่แสดงให้เห็นถึงความผิดปกติธรรมดาของเหตุการณ์ กล่าวคือเมื่อมีข้อเท็จจริงเกิดขึ้น เหตุการณ์ที่ปรากฏย่อมแสดงอยู่ในตัวว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของผู้ก่อความเสียหาย เป็นหน้าที่ของบุคคลนั้นที่จะต้อนำสืบว่ามิใช่ความประมาทเลินเล่อของตน หลักดังกล่าวทางคอมมอนลอว์เรียกว่า “Res Ipsa Loquitur” (เหตุการณ์หรือวัตถุบอกเรื่องของมันเอง) โดยที่การกระทำให้ผู้อื่นเสียหายโดยผิดกฎหมายย่อมเป็นมูลหนี้ประการหนึ่งที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายนั้น ในการที่จะได้รับชดเชยความเสียหาย การพิสูจน์ความเสียหายจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการฟ้องคดีละเมิด บุคคลผู้มีหน้าที่พิสูจน์ความเสียหายนั้น กฎหมายของประเทศที่ใช้ระบบคอมมอนลอว์ เช่น อังกฤษ, อเมริกา, แคนาดา และกฎหมายของประเทศที่ใช้ระบบซีวิลลอว์ เช่น เยอรมัน, อิตาลี, เนเธอร์แลนด์ โดยมีหลักทั่วไปเกี่ยวกับหน้าที่นำสืบว่า “ผู้ใดกล่าวอ้างผู้นั้นต้องพิสูจน์” อย่างไรก็ตาม มีกฎหมายบางประเทศ เช่น สวิส ได้บัญญัติเรื่องการนำสืบถึงค่าเสียหายไว้ในประมวลกฎหมายลักษณะหนี้ มาตรา 42 วรรคแรกว่า “ผู้ใดเรียกร้องให้ชดเชยค่าเสียหายผู้นั้นต้องสืบค่าเสียหาย” แม้หน้าที่ในการนำสืบจำนวนค่าเสียหายนั้นเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ปรากฏแก่ศาลในทางพิจารณาก็ตาม ถ้าหากว่าโจทก์นำสืบถึงค่าเสียหายให้ศาลเห็นไม่ได้หรือปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้นำสืบถึงค่าเสียหาย ศาลก็อาจกำหนดค่าเสียหายให้ได้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด | |
dc.description.abstractalternative | A tort is an act or omission by a party contrary to Law whereby another receives some injury, directly, or as a proximate consequence to person or property or reputation. In other words a tort is an act or omission which unlawfully violates a private right created by law and for which compensation is allowed to the injured party in an action for damages. A right to institute a civil action is provided in section 55 of the Civil Procedure Code, which is the main source for such a right, so that his right is acknowledged, protected, and enforced. In civil case, whereby the defendant has contested the right of the plaintiff, if is necessary for the court to have sufficient facts before it can arrive at its judgement. Therefore, courts of various countries have to adhere to their procedural laws, especially the law of evidence, in finding the facts in the case. In any litigation which comes to court there are two issues to be decided, namely, the issue of fact and issue of law. As for the issue of fact, evidence has to be adduced by the parties in the case; on the other hand, it is the province of the judge to apply the appropriate law to the legal issue. However, it does not mean that every issue of fact has to be proved by evidence. According to the law of evidence, the following facts need not be proved; 1. Facts which are matters of common knowledge 2. Facts which are admitted by the parties in the case 3. Presumptions of law Burden of proof means the burden of producing evidence to prove a particular issue of fact as raised by the one party to the satisfaction of the judge. There are certain rules which govern the burden of proof in tort case. The general rule is that the burden of proof is cast upon the party who has pleaded the existence of a fact. The rule of presumption requires that the party against whom the presumption operates can always introduce proof in contradiction to rebut such presumption. Two more rules governing the burden of proof are that the burden of proof falls on the party who will lose the case and the rule of the abnormality of person and chattel. The rule regarding certain facts which are within the exclusive knowledge of the tortfeasor is applied to negligent tort cases. It indicates the abnormality of some facts which, when happen, will speak for itself that it is derived from the negligence of the tortfeasor. Then it is this duty to prove it to the contrary. Such a rule is refered to as Res Ipsa Loquitur at Common Law. Any person who has wrongfully injured another person, he is bound to make compensation thereof. As a result damages have to be proved. Courts which belong to both common law and civil law tradition and adhere to the rule which states that he who pleads the issue of fact must prove it to that effect. However, section 42 of the Swiss Code of Obligation provides that anyone who claims for compensation must prove the damages. Therefore, it is the duty of the plaintiff to prove the damages to the satisfaction of the court. However, if the plaintiff fails to do so, the court is still able to set the damages for the plaintiff in accordance with nature and the gravity of the wrongful act. | |
dc.format.extent | 735685 bytes | |
dc.format.extent | 2928665 bytes | |
dc.format.extent | 1860319 bytes | |
dc.format.extent | 6357239 bytes | |
dc.format.extent | 4786694 bytes | |
dc.format.extent | 1116894 bytes | |
dc.format.extent | 560474 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การพิสูจน์ในคดีละเมิดโดยประมาทเลินเล่อ | en |
dc.title.alternative | Proof in negligent tort cases | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Prasit_Ch_front.pdf | 718.44 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Prasit_Ch_ch1.pdf | 2.86 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prasit_Ch_ch2.pdf | 1.82 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prasit_Ch_ch3.pdf | 6.21 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prasit_Ch_ch4.pdf | 4.67 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prasit_Ch_ch5.pdf | 1.09 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prasit_Ch_back.pdf | 547.34 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.