Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23590
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorลิ้นจี่ ทะวานนท์
dc.contributor.authorทวีศักดิ์ บัวพนัส
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-09T08:37:45Z
dc.date.available2012-11-09T08:37:45Z
dc.date.issued2528
dc.identifier.isbn9745648965
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23590
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนวิชาสังคมศึกษาภายในภาควิชาสังคมวิทยา ภาควิชาประวัติศาสตร์ ภาควิชาภูมิศาสตร์ ภาควิชาปรัชญาและศาสนา และภาควิชาเศรษฐศาสตร์และการเมือง ระหว่างวิทยาลัยครูกลุ่มนครหลวงกับกลุ่มภาคเหนือ เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากแหล่งชุมชนประกอบการสอนวิชาสังคมศึกษาในระดับปริญญาตรี 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนวิชาสังคมศึกษา ระหว่าง 5 ภาควิชา คือภาควิชาสังคมวิทยา ภาควิชาประวัติศาสตร์ ภาควิชาภูมิศาสตร์ ภาควิชาปรัชญาและศาสนาและภาควิชาเศรษฐศาสตร์และการเมือง ทั้งในวิทยาลัยครูกลุ่มนครหลวงและกลุ่มภาคเหนือเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากแหล่งชุมชนประกอบการสอนวิชาสังคมศึกษา ในระดับปริญญาตรี วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวิธีดำเนินการเป็น 2 วิธี คือ วิธีที่หนึ่ง เป็นการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) เกี่ยวกับแหล่งชุมชนและการใช้ประโยชน์จากแหล่งชุมชนประกอบการสอนวิชาสังคมศึกษา วิธีที่สอง เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ได้รวบรวมความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนวิชาสังคมศึกษา เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากแหล่งชุมชนประกอบการสอนวิชาสังคมศึกษาในระดับปริญญาตรี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นอาจารย์ผู้สอนวิชาสังคมศึกษาที่ปฏิบัติงานอยู่ทั้งหมด ประจำปีการศึกษา 2526 จำนวน 201 คน ประกอบด้วยอาจารย์ผู้สอนวิชาสังคมศึกษาในวิทยาลัยครูกลุ่มนครหลวง 90 คน และอาจารย์ผู้สอนวิชาสังคมศึกษา ในวิวทยาลัยครูกลุ่มภาคเหนือ 111 คน ผู้วิจัยส่งแบบสอบถามไปทั้งสิ้น 204 ฉบับ ได้รับคืนมา 201 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 98.52 แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) การทดสอบค่าที (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance) แสดงผลการวิจัยในรูปตารางและอธิบายประกอบ สรุปผลการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร พบว่า แหล่งชุมชนสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ ประเภทที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ประเภทที่เกิดขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ และประเภทที่เป็นมนุษย์ซึ่งไม่จำกัดในด้านความรู้ความสามารถ ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับการรู้จักเลือกแหล่งชุมชนให้เหมาะสมก่อนจะนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนได้ วิธีการใช้ประโยชน์จาแหล่งชุมชนสามารถแบ่งออกเป็น 2 วิธีใหญ่ๆ คือ การนำผู้เรียนไปสู่ชุมชนซึ่งได้แก่ การศึกษานอกสถานที่ การสำรวจ การสัมภาษณ์ การสังเกต และการฝึกงาน วิธีหนึ่ง และอีกวิธีหนึ่งคือ การนำแหล่งความรู้ในชุมชนมาสู่ชั้นเรียน ได้แก่ การขอ ยืม ซื้อ เอกสารและวัสดุที่มีคุณค่าทางการศึกษาเพื่อนำมาใช้สอน หรือจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สำหรับเวลาที่ใช้ประโยชน์จากแหล่งชุมชนนั้นไม่อาจกำหนดไว้ชัดเจนในส่วนกิจกรรมที่ให้นักศึกษาปฏิบัติก่อนและหลังการใช้ประโยชน์จากแหล่งชุมชนที่ปฏิบัติกันมากได้แก่ การจัดอภิปราย การจดบันทึก การเขียนรายงาน การศึกษานอกสถานที่ และการค้นคว้าเพิ่มเติม การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนวิชาสังคมศึกษาเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากแหล่งชุมชนประกอบการสอนวิชาสังคมศึกษาในระดับปริญญาตรีพบว่า 1. ความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนวิชาวังคมศึกษาภายในภาควิชาเดียวกัน ระหว่างวิทยาลัยครูกลุ่มนครหลวงกับกลุ่มภาคเหนือ เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากแหล่งชุนชนประกอบการสอนวิชาสังคมศึกษาในระดับปริญญาตรี พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนวิชาสังคมศึกษาระหว่าง 5 ภาควิชา ในวิทยาลัยครูกลุ่มนครหลวงเกี่ยวการใช้ประโยชน์จากแหล่งชุมชนประกอบการสอนวิชาสังคมศึกษาในระดับปริญญาตรี พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นที่แตกต่างกันเป็นรายคู่ตามวิธีการของ เชฟเฟ่ (Scheffe’) พบว่าความคิดเห็นระหว่างอาจารย์ภาควิชาสังคมวิทยากับอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ อาจารย์ภาวิชาภูมิศาสตร์ อาจารย์ภาวิชาปรัชญาและศาสนา อาจารย์ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ และการเมือง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความคิดเห็นระหว่างอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์กับอาจารย์ภาควิชาภูมิศาสตร์ อาจารย์ภาควิชาปรัชญาและศาสนา อาจารย์ภาควิชาเศรษฐศาสตร์และการเมือง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความคิดเห็นระหว่างอาจารย์ภาควิชาภูมิศาสตร์กับอาจารย์ภาควิชาเศรษฐศาสตร์และการเมือง และความคิดเห็นระหว่างอาจารย์ภาควิชาปรัชญาและศาสนากับอาจารย์ภาควิชาเศรษฐศาสตร์แลการเมือง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความคิดเห็นระหว่างอาจารย์ภาควิชาภูมศาสตร์กับอาจารย์ภาควิชาปรัชญาและศาสนาไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ 3. ความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนวิชาสังคมศึกษาระหว่าง 5 ภาควิชาในวิทยาลัยครูกลุ่มภาคเหนือ เกี่ยวกบการใช้ประโยชน์จากแหล่งชุมชนประกอบการสอนวิชาสังคมศึกษาในระดับปริญญาตรี พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมนัยสำคัญทางสถิติที่รับได้ .05 เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นที่แตกต่างกันเป็นรายคู่ ตามวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’) พบว่า ความคิดเห็นระหว่างอาจารย์ภาควิชาสังคมวิทยากับอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ อาจารย์ภาควิชาภูมิศาสตร์ อาจารย์ภาควิชาปรัชญาและศาสนา อาจารย์ภาควิชาเศรษฐศาสตร์และการเมืองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความคิดเห็นระหว่างอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์กับอาจารย์ภาควิชาภูมิศาสตร์ อาจารย์ภาควิชาปรัชญาและศาสนา อาจารย์ภาควิชา เศรษฐศาสตร์และการเมืองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความคิดเห็นระหว่างอาจารย์ภาควิชาภูมิศาสตร์กับอาจารย์ภาควิชาเศรษฐศาสตร์และการเมือง และความคิดเห็นระหว่างอาจารย์ภาควิชาปรัชญาแลศาสนากับอาจารย์ภาควิชาเศรษฐศาสตร์และการเมืองมีความแตกต่างกนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความคิดเห็นระหว่างอาจารย์ภาควิชาภูมิศาสตร์กับอาจารย์ภาควิชาปรัชญาและศาสนา ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ
dc.format.extent775085 bytes
dc.format.extent551502 bytes
dc.format.extent1739659 bytes
dc.format.extent552517 bytes
dc.format.extent3741085 bytes
dc.format.extent1322138 bytes
dc.format.extent887710 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการเปรียบเทียบความคิดเห็นของอาจารย์ในวิทยาลัยครูกลุ่มนครหลวง และกลุ่มภาคเหนือเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากแหล่งชุมชน ประกอบการสอนวิชาสังคมศึกษาระดับปริญญาตรีen
dc.title.alternativeA comparison of Bangkok Metropolitan and Northern Teachers colleges instructors' opinions concerning community resources utilization for teaching social studies at the undergraduate levelen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Taweesak_Bu_front.pdf756.92 kBAdobe PDFView/Open
Taweesak_Bu_ch1.pdf538.58 kBAdobe PDFView/Open
Taweesak_Bu_ch2.pdf1.7 MBAdobe PDFView/Open
Taweesak_Bu_ch3.pdf539.57 kBAdobe PDFView/Open
Taweesak_Bu_ch4.pdf3.65 MBAdobe PDFView/Open
Taweesak_Bu_ch5.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
Taweesak_Bu_back.pdf866.9 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.