Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23590
Title: การเปรียบเทียบความคิดเห็นของอาจารย์ในวิทยาลัยครูกลุ่มนครหลวง และกลุ่มภาคเหนือเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากแหล่งชุมชน ประกอบการสอนวิชาสังคมศึกษาระดับปริญญาตรี
Other Titles: A comparison of Bangkok Metropolitan and Northern Teachers colleges instructors' opinions concerning community resources utilization for teaching social studies at the undergraduate level
Authors: ทวีศักดิ์ บัวพนัส
Advisors: ลิ้นจี่ ทะวานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนวิชาสังคมศึกษาภายในภาควิชาสังคมวิทยา ภาควิชาประวัติศาสตร์ ภาควิชาภูมิศาสตร์ ภาควิชาปรัชญาและศาสนา และภาควิชาเศรษฐศาสตร์และการเมือง ระหว่างวิทยาลัยครูกลุ่มนครหลวงกับกลุ่มภาคเหนือ เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากแหล่งชุมชนประกอบการสอนวิชาสังคมศึกษาในระดับปริญญาตรี 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนวิชาสังคมศึกษา ระหว่าง 5 ภาควิชา คือภาควิชาสังคมวิทยา ภาควิชาประวัติศาสตร์ ภาควิชาภูมิศาสตร์ ภาควิชาปรัชญาและศาสนาและภาควิชาเศรษฐศาสตร์และการเมือง ทั้งในวิทยาลัยครูกลุ่มนครหลวงและกลุ่มภาคเหนือเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากแหล่งชุมชนประกอบการสอนวิชาสังคมศึกษา ในระดับปริญญาตรี วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวิธีดำเนินการเป็น 2 วิธี คือ วิธีที่หนึ่ง เป็นการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) เกี่ยวกับแหล่งชุมชนและการใช้ประโยชน์จากแหล่งชุมชนประกอบการสอนวิชาสังคมศึกษา วิธีที่สอง เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ได้รวบรวมความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนวิชาสังคมศึกษา เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากแหล่งชุมชนประกอบการสอนวิชาสังคมศึกษาในระดับปริญญาตรี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นอาจารย์ผู้สอนวิชาสังคมศึกษาที่ปฏิบัติงานอยู่ทั้งหมด ประจำปีการศึกษา 2526 จำนวน 201 คน ประกอบด้วยอาจารย์ผู้สอนวิชาสังคมศึกษาในวิทยาลัยครูกลุ่มนครหลวง 90 คน และอาจารย์ผู้สอนวิชาสังคมศึกษา ในวิวทยาลัยครูกลุ่มภาคเหนือ 111 คน ผู้วิจัยส่งแบบสอบถามไปทั้งสิ้น 204 ฉบับ ได้รับคืนมา 201 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 98.52 แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) การทดสอบค่าที (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance) แสดงผลการวิจัยในรูปตารางและอธิบายประกอบ สรุปผลการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร พบว่า แหล่งชุมชนสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ ประเภทที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ประเภทที่เกิดขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ และประเภทที่เป็นมนุษย์ซึ่งไม่จำกัดในด้านความรู้ความสามารถ ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับการรู้จักเลือกแหล่งชุมชนให้เหมาะสมก่อนจะนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนได้ วิธีการใช้ประโยชน์จาแหล่งชุมชนสามารถแบ่งออกเป็น 2 วิธีใหญ่ๆ คือ การนำผู้เรียนไปสู่ชุมชนซึ่งได้แก่ การศึกษานอกสถานที่ การสำรวจ การสัมภาษณ์ การสังเกต และการฝึกงาน วิธีหนึ่ง และอีกวิธีหนึ่งคือ การนำแหล่งความรู้ในชุมชนมาสู่ชั้นเรียน ได้แก่ การขอ ยืม ซื้อ เอกสารและวัสดุที่มีคุณค่าทางการศึกษาเพื่อนำมาใช้สอน หรือจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สำหรับเวลาที่ใช้ประโยชน์จากแหล่งชุมชนนั้นไม่อาจกำหนดไว้ชัดเจนในส่วนกิจกรรมที่ให้นักศึกษาปฏิบัติก่อนและหลังการใช้ประโยชน์จากแหล่งชุมชนที่ปฏิบัติกันมากได้แก่ การจัดอภิปราย การจดบันทึก การเขียนรายงาน การศึกษานอกสถานที่ และการค้นคว้าเพิ่มเติม การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนวิชาสังคมศึกษาเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากแหล่งชุมชนประกอบการสอนวิชาสังคมศึกษาในระดับปริญญาตรีพบว่า 1. ความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนวิชาวังคมศึกษาภายในภาควิชาเดียวกัน ระหว่างวิทยาลัยครูกลุ่มนครหลวงกับกลุ่มภาคเหนือ เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากแหล่งชุนชนประกอบการสอนวิชาสังคมศึกษาในระดับปริญญาตรี พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนวิชาสังคมศึกษาระหว่าง 5 ภาควิชา ในวิทยาลัยครูกลุ่มนครหลวงเกี่ยวการใช้ประโยชน์จากแหล่งชุมชนประกอบการสอนวิชาสังคมศึกษาในระดับปริญญาตรี พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นที่แตกต่างกันเป็นรายคู่ตามวิธีการของ เชฟเฟ่ (Scheffe’) พบว่าความคิดเห็นระหว่างอาจารย์ภาควิชาสังคมวิทยากับอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ อาจารย์ภาวิชาภูมิศาสตร์ อาจารย์ภาวิชาปรัชญาและศาสนา อาจารย์ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ และการเมือง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความคิดเห็นระหว่างอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์กับอาจารย์ภาควิชาภูมิศาสตร์ อาจารย์ภาควิชาปรัชญาและศาสนา อาจารย์ภาควิชาเศรษฐศาสตร์และการเมือง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความคิดเห็นระหว่างอาจารย์ภาควิชาภูมิศาสตร์กับอาจารย์ภาควิชาเศรษฐศาสตร์และการเมือง และความคิดเห็นระหว่างอาจารย์ภาควิชาปรัชญาและศาสนากับอาจารย์ภาควิชาเศรษฐศาสตร์แลการเมือง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความคิดเห็นระหว่างอาจารย์ภาควิชาภูมศาสตร์กับอาจารย์ภาควิชาปรัชญาและศาสนาไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ 3. ความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนวิชาสังคมศึกษาระหว่าง 5 ภาควิชาในวิทยาลัยครูกลุ่มภาคเหนือ เกี่ยวกบการใช้ประโยชน์จากแหล่งชุมชนประกอบการสอนวิชาสังคมศึกษาในระดับปริญญาตรี พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมนัยสำคัญทางสถิติที่รับได้ .05 เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นที่แตกต่างกันเป็นรายคู่ ตามวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’) พบว่า ความคิดเห็นระหว่างอาจารย์ภาควิชาสังคมวิทยากับอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ อาจารย์ภาควิชาภูมิศาสตร์ อาจารย์ภาควิชาปรัชญาและศาสนา อาจารย์ภาควิชาเศรษฐศาสตร์และการเมืองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความคิดเห็นระหว่างอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์กับอาจารย์ภาควิชาภูมิศาสตร์ อาจารย์ภาควิชาปรัชญาและศาสนา อาจารย์ภาควิชา เศรษฐศาสตร์และการเมืองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความคิดเห็นระหว่างอาจารย์ภาควิชาภูมิศาสตร์กับอาจารย์ภาควิชาเศรษฐศาสตร์และการเมือง และความคิดเห็นระหว่างอาจารย์ภาควิชาปรัชญาแลศาสนากับอาจารย์ภาควิชาเศรษฐศาสตร์และการเมืองมีความแตกต่างกนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความคิดเห็นระหว่างอาจารย์ภาควิชาภูมิศาสตร์กับอาจารย์ภาควิชาปรัชญาและศาสนา ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23590
ISBN: 9745648965
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Taweesak_Bu_front.pdf756.92 kBAdobe PDFView/Open
Taweesak_Bu_ch1.pdf538.58 kBAdobe PDFView/Open
Taweesak_Bu_ch2.pdf1.7 MBAdobe PDFView/Open
Taweesak_Bu_ch3.pdf539.57 kBAdobe PDFView/Open
Taweesak_Bu_ch4.pdf3.65 MBAdobe PDFView/Open
Taweesak_Bu_ch5.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
Taweesak_Bu_back.pdf866.9 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.