Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23594
Title: การทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Other Titles: The proediction of mathayom suksa four students' physics learning achievement
Authors: ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์
Advisors: ธีระชัย ปูรณโชติ
ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาตัวแปรที่ใช้ทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สี่ ในเขตกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2522 จำนวน 243 คน แบบสอบที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบความสามารถในการคำนวณแบบทดสอบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ แบบทดสอบความสามารถในการตีความหมายจากกราฟแบบทดสอบทัศนคติที่มีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบทัศนคติที่มีต่อวิชาฟิสิกส์ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้น ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 กับตัวแปรที่ใช้เป็นตัวทำนายทั้ง 5 ได้แก่ ความสามารถในการคำนวณ ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ ความสามารถในการตีความหมายจากกราฟ ทัศนคติที่มีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ และทัศนคติที่มีต่อวิชาฟิสิกส์ และพบว่า ความสามารถในการคำนวณเป็นตัวทำนายได้ดีที่สุด สมการที่ดีซึ่งใช้ทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ = 0.4847 (ความสามารถในการคำนวณ) +0.4115 (ความสามารถในการตีความหมายจากกราฟ) +0.1965(ทัศนคติที่มีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ และได้ค่าสัมพันธ์พหุคูณของตัวทำนายที่ดีกับเกณฑ์ เท่ากับ 0.78136
Other Abstract: The purposes of this study were to investigate the predictors on Physics learning achievement. Subjects were 243 Mathayom Suksa Four Students in the 1979 academic year from Secondary Schools in the Bangkok Metropolis. Instruments administered to all subjects were: six test on Abilities in Computation, Spatial Relation, Graph Interpretation, Attitude toward Science, Attitude toward Physics and Physics Learning Achievement. The data obtained were analyzed by means of forward stepwise multiple regression analysis. The results indicated that at the 0.01 level there were significant positive correlations between the Physics learning. achievement and each of the five traits; ablilties in computation, spatial relation, graph interpretation, attitude toward science, attitude toward physics. It was also found that the abilities in computation was the best predictor. The effective prediction equation for estimating the Physics learning achievement was The Physics learning achievement = 0.4847 (abilities in computation) +0.4115 (graph interpretation) +0.1965 (attitude toward science) The multiple correlation of the three traits with the criteria is 0.78136
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23594
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Taweesak_Ch_front.pdf488.13 kBAdobe PDFView/Open
Taweesak_Ch_ch1.pdf444 kBAdobe PDFView/Open
Taweesak_Ch_ch2.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open
Taweesak_Ch_ch3.pdf493.86 kBAdobe PDFView/Open
Taweesak_Ch_ch4.pdf924.46 kBAdobe PDFView/Open
Taweesak_Ch_ch5.pdf611.34 kBAdobe PDFView/Open
Taweesak_Ch_back.pdf674.49 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.