Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23778
Title: บทบาทของบริษัทน้ำมันข้ามชาติที่มีต่ออุตสาหกรรมน้ำมันของประเทศไทย
Other Titles: The roles of multinational oil corporations in Thai oil industry
Authors: ทวี พานิชวัฒนาเจริญ
Advisors: กุสุมา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
วัชริยา โตสงวน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลไทยกับบรรษัทน้ำมันข้ามชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2421-2524 (ค.ศ. 1878-1981) ซึ่งพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองฝ่ายเป็นไปในลักษณะที่รัฐบาลไทยต้องพึ่งพิงบรรษัทน้ำมันข้ามชาติตลอดมา การศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ช่วงด้วยกัน คือ ในช่วงแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2412-2475) ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองฝ่ายออกมาในรูปรัฐบาลไทยต้องพึ่งพิงบรรษัทข้ามชาติโดยสิ้นเชิง เพราะรัฐบาลไทยถูกบังคับให้ปฏิบัติตามหนังสือสัญญาไม่เสมอภาคต่างๆ ที่รัฐบาลไทยทำไว้กับนานาประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2398 (ค.ศ. 1855) เป็นต้นมา ทำให้อำนาจการต่อรองของรัฐบาลไทยในการเจรจาแก้ไขปัญหาน้ำมันต่างๆที่เกิดขึ้นอยู่ในสภาพเสียเปรียบบรรษัทน้ำมันฯ ของชาวต่างประเทศที่มีประเทศมหาอำนาจสนับสนุน ในช่วงที่สอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475-2482 (ค.ศ. 1932-1939) ลักษณะความสัมพันธ์ออกมาในรูปรัฐบาลไทยพยายามที่จะหาทางลดสภาพพึ่งพิงบรรษัทน้ำมันข้ามชาติให้น้อยลง โดยการขายน้ำมันแข่งกับบรรษัทน้ำมัน และออกกฎหมายควบคุมการค้าน้ำมันของบรรษัทน้ำมัน ด้วยความคาดหวังว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะให้ความช่วยเหลือส่งน้ำมันมาให้แก่รัฐบาลไทย แต่ในที่สุดผลปรากฏว่า เมื่อบรรษัทน้ำมันทั้งหมดถอนกิจการออกจากประเทศไทย รัฐบาลญี่ปุ่นก็ไม่ได้ให้ความช่วยเหลือในเรื่องน้ำมันตลอดไป เมื่อสงครามในภูมิภาคนี้เกิดขึ้น ในช่วงสุดท้าย จากปี พ.ศ. 2488-2524 (ค.ศ. 1945-1981) แบ่งออกได้เป็นสองตอน ในตอนแรกช่วงปี พ.ศ. 2488-2500 (ค.ศ. 1945-1957) ลักษณะความสัมพันธ์ออกมาในรูปรัฐบาลไทยต้องหันกลับไปพึ่งพิงบรรษัทน้ำมันข้ามชาติโดยสิ้นเชิงอีกครั้งหนึ่ง เพราะรัฐบาลไทยไม่มีทางเลือกทางอื่นที่จะนำน้ำมันเข้าประเทศ นอกจากเชิญชวนบรรษัทน้ำมันกลับเข้ามาดำเนินกิจการอีกครั้ง และรัฐบาลไทยซึ่งอยู่ในฐานะผู้แพ้สงครามต้องการรักษาความสัมพันธ์อันดีกับประเทศมหาอำนาจที่สนับสนุนบรรษัทน้ำมันอยู่ อย่างไรก็ดี เมื่อผู้นำทหารของไทยขึ้นมาเป็นรัฐบาล ก็ได้หาทางเจรจากับบรรษัทน้ำมันฯ และประเทศมหาอำนาจ เพื่อไม่ให้ทางฝ่ายไทยต้องอยู่ในสภาพพึ่งพิงบรรษัทน้ำมันจนเกินไป ซึ่งก็ประสพผลสำเร็จเพราะรัฐบาลสหรัฐฯ ยอมผ่อนปรนในเรื่องนี้ เพราะต้องการให้รัฐบาลไทยเป็นพันธมิตรในการปิดล้อมคอมมิวนิสต์ และเป็นภาคีสัญญาป้องกันร่วมกันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนในตอนหลังตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) เป็นต้นมา อำนาจการต่อรองของรัฐบาลไทยในความพยายามที่จะเจรจาลดการพึ่งพิงบรรษัทน้ำมันมีมากขึ้น พิจารณาได้จากการสร้างโรงกลั่นน้ำมันที่บรรษัทน้ำมันฯ ต้องเข้ามาตกลงทำสัญญากับรัฐบาลไทยภายใต้เงื่อนไขที่รัฐบาลไทยกำหนดไว้ และความสามารถของรัฐบาลไทยกำหนดไว้ และความสามารถของรัฐบาลไทยในการสั่งน้ำมันเข้ามาใช้เองบางส่วนโดยไม่ผ่านบรรษัทน้ำมันฯ จากการศึกษาทั้งสามช่วงพบว่า สภาพพึ่งพิงที่เกิดขึ้นจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ 3 ประการ ปัจจัยแรก คือ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลไทยกับประเทศมหาอำนาจ ตราบใดสถานการณ์ระหว่างประเทศไม่อำนวยให้ไทยมีทางเลือก รัฐบาลไทยก็จะต้องพึ่งพิงบรรษัทน้ำมันโดยสิ้นเชิง แต่เมื่อไรที่ผลประโยชน์ของประเทศมหาอำนาจสอดคล้องกับผลประโยชน์ของรัฐบาลไทย ทางฝ่ายไทยก็สามารถหาประโยชน์เพื่อลดการพึ่งพิงลงได้ ปัจจัยที่สอง คือ ระบบตลาดน้ำมันของโลกและระบบตลาดน้ำมันภายในประเทศ เมื่อใดที่บรรษัทน้ำมันข้ามชาติสามารถผูกขาดตลาดน้ำมันของทั้งสองระบบไว้ได้ รัฐบาลไทยก็ต้องพึ่งพิงบรรษัทน้ำมัน ฯ โดยไม่มีทางต่อรอง ปัจจัยสุดท้าย คือ ปัจจัยทางเทคโนโลยีซึ่งถือว่าเป็นความชำนาญการชั้นสูงที่ใช้ในอุตสาหกรรมน้ำมัน ซึ่งฝ่ายไทยยังไม่มี จึงต้องพึ่งบรรษัทน้ำมันของชาวต่างประเทศแต่ฝ่ายเดียว
Other Abstract: The purpose or thin study is to examine the relationship between Thai Government and the oil multinational corporations during the period of 1878 - 1981. The study shows that the pattern of relationship is characterized by Thailand’s dependence upon those multinational corporations. The thesis covers three periods: between 1878 - 1932; 1932 - 1939 and 1945 - 1981. During the first period, Thailand and totally dependent on the MNCs due to the unequal treaties, imposed upon it bey various powers beginning in 1855. Also because the MNCs were supported by the great powers, Thailand had little or no leverage in dealing with the MNCs. In the second period (1932 – 1939), Thailand attempted to reduce her dependence on the MNCs by selling oil on the domestic market in competitions with the MNCs. At the same time, she promulgated a law which would control the activities of the MNCs. These moves were made with the expectation that Japan would be an alternative source of oil for Thailand. However, when, as a result of such moves, the MNCs terminated their business in Thailand, no oil was forthcoming from Japan once the Pacific War started. The third period (1945-1981), can be devided into two sub periods. The first(1945-1957) during which the pattern of relationship had again reversed back to one of total dependency of Thailand vis-à-vis the MNCs, as she had no alternatives. Thailand was also a defeated country, thereby she had to try her best to maintain cordial relations with the great payers whose nationals were the MNCs. Accordingly,Thailand again invited the MNCs to reopen their business in the country on their terms. However, when the military rose to power in 1947, they tries to negotiate with the MNCs in an attempt to reduce the level of dependency. The negotiation proved successful despite initial objection by the U.S. government as it wanted Thailand's cooperation in its containment policy the Southeast Asia region as one of the parties in the Southeast Asian Treaty Organization. In the second period during 1957 - 1981, Thailand's bargaining position vis-à-vis the MNCs improved, as was evident in the negotiations on the building of Thai Refinery in which the Thai government was the one aim determined the terms and conditions of agreements. Thailand's reduced level of dependency was also evident in her ability to obtain oil from sources other than the MNCs. In summary, the degree of Thailand's dependency vis-à-vis the MNCs can be attributed to the following factors: (1) The nature of relations between Thailand and the Great Powers. When the international environment did not provide any alternative for tilt Thai government, Thailand had to rely heavily upon the MNCs. On the other hand, if the great powers’ interest coincided with those of Thailand, Thailand could then reduce the level of dependency to a certain extent. (2) The Nature of the World and domestic Oil Markets. Then the MNCs could monopolize both markets, Thailand had to depend heavily on the HITCs. Conversely, Thailand could reduce her dependency when the markets are not monopolized by the MNCs. (3)Technological Know - how. The high-level technology unavailable to Thailand causes Thailand to dependent entirely on the MNCs in this respect.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23778
ISBN: 9745628018
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thawee_Pa_front.pdf729.09 kBAdobe PDFView/Open
Thawee_Pa_ch1.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
Thawee_Pa_ch2.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open
Thawee_Pa_ch3.pdf2.06 MBAdobe PDFView/Open
Thawee_Pa_ch4.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
Thawee_Pa_ch5.pdf542.15 kBAdobe PDFView/Open
Thawee_Pa_back.pdf2.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.