Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2385
Title: แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒธรรม จังหวัดปทุมธานี
Other Titles: Development guidelines on art and cultural tourism Pathum Thani province
Authors: ธันยา นวลละออง, 2522-
Advisors: ศักดิ์ชัย คิรินทร์ภาณุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Sakchai.K@Chula.ac.th
Subjects: ปทุมธานี -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยว--ไทย--ปทุมธานี
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์อยู่ 4 ประการ คือ ศึกษาแหล่งศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดปทุมธานี ศึกษาปัญหา ข้อจำกัด และจัดกลุ่มค่าความสำคัญของแหล่งศิลปวัฒนธรรมเหล่านั้น ศึกษาศักยภาพของตลาดการท่องเที่ยวด้านศิลปวัฒนธรรม และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาและปรับปรุงแหล่งศิลปวัฒนธรรมตามความเหมาะสม วิธีการศึกษาใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อสอบถามความคิดเห็นและทัศนคติของกลุ่มตัวอย่าง 5 กลุ่มคือกลุ่มประชาชนในพื้นที่ศึกษา 200 ชุด กลุ่มนักท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 200 ชุด นนทบุรี 100 ชุด และปทุมธานี 100 ชุด กลุ่มบริษัทนำเที่ยว 30 ชุด รวมทั้งหมด 630 ชุด โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อต้องการทราบข้อมูลด้านอุปสงค์การท่องเที่ยว ปัญหา และความคิดเห็นในการพัฒนา จากการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามพบว่า อุปสงค์การท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมายและบริษัทนำเที่ยวอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ในพื้นที่ศึกษาสามารถแบ่งกลุ่มการท่องเที่ยวออกเป็น 4 กลุ่ม จากการวิเคราะห์พบว่า กลุ่มการท่องเที่ยวที่มีอุปสงค์สูงสุด คือ กลุ่มวัดและชุมชนริมน้ำ เนื่องจากนักท่องเที่ยวชื่นชอบการล่องเรือเพื่อชมทัศนียภาพริมแม่น้ำ รองลงมาคือ กลุ่มแหล่งโบราณคดี เนื่องจากนักท่องเที่ยวชอบศึกษาแหล่งประวัติศาสตร์ กลุ่มเมืองสามโคก เนื่องจากนักท่องเที่ยวชอบวิถีชีวิตและวัฒนธรรมชาวมอญ และกลุ่มเมืองปทุมธานี เนื่องจากนักท่องเที่ยวสนใจในสถาปัตยกรรมที่เก่าแก่ ส่วนความพร้อมของแหล่งท่องเที่ยวจากการประเมินกลุ่มการท่องเที่ยวที่มีความพร้อมสูงสุด คือ กลุ่มเมืองปทุมธานี โดยมีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานอยู่ในระดับสูง ส่วนปัญหาหลักคือยังไม่มีทัศนียภาพและบรรยากาศการท่องเที่ยวที่ดี รองลงมาคือ กลุ่มวัดและชุมชนริมน้ำ โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยาที่สามารถสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวทางน้ำเป็นจุดแข็ง ส่วนปัญหาหลักคือระบบการคมนาคมขนส่งทางน้ำไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ กลุ่มเมืองสามโคก โดยมีศิลปวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตของชาวมอญเป็นจุดแข็ง ส่วนปัญหาหลักคือ โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกยังมีไม่เพียงพอ และกลุ่มแหล่งโบราณคดี โดยมีแหล่งประวัติศาสตร์เป็นจุดแข็ง ส่วนปัญหาหลักคือ โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกยังอยู่ในระดับต่ำ ผลการศึกษาศักยภาพของตลาดการท่องเที่ยวด้านศิลปวัฒนธรรม จังหวัดปทุมธานี พบว่าบริเวณพื้นที่ศึกษามีศักยภาพในการที่จะพัมนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยมีองค์ประกอบต่างๆ สนับสนุน คือ ด้านศักยภาพการเข้าถึง ด้านศักยภาพของแหล่งศิลปวัฒนธรรม ด้านอุปสงค์การท่องเที่ยวและด้านจินตภาพของแหล่งท่องเที่ยว การพัฒนาแหล่งศิลปวัฒนธรรมนั้น ไม่สามารถพัฒนาทุกแหล่งได้พร้อมกัน โดยมีข้อจำกัดทางด้านงบประมาณและระยะเวลา จึงต้องมีการประเมินลำดับศักย์การพัฒนาโดยแบ่งเป็น 3 ช่วง การพัฒนาช่วงแรก คือ กลุ่มวัดและชุมชนริมน้ำ โดยเน้นรูปแบบการท่องเที่ยวทางน้ำเป็นหลัก การพัฒนาช่วงที่สองตอนต้น คือ กลุ่มเมืองปทุมธานี โดยเน้นการปรับปรุงทัศนียภาพและพัฒนาเป็นศูนย์บริการการท่องเที่ยวหลัก การพัฒนาช่วงที่สองตอนปลาย คือ กลุ่มเมืองสามโคก โดยเน้นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม วิถีชีวิตชาวมอญ และการพัฒนาช่วงสุดท้าย คือ กลุ่มแหล่งโบราณคดี โดยเน้นเรื่องโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยว รวมถึงการจัดสร้างอุทยานประวัติศาสตร์
Other Abstract: The objectives of this study are 1) Studying about cultural sources of Pathumthani province. 2) Ordering availability as well as studying strengths and limitations of the traveled places. 3) Studying potential of an art and cultural tourist market and 4) Proposing the appropriate ways to develop and improve the cultural sources. The 630 questionnaires about ideas and attitudes to the tourist were collected as a study method. There were five sample groups such as local people of the study area, tourists in Ayudhaya, Nontaburi, and Pathumthani as well as tourist companies. Study results illustrated high tourist demand on the companies and tourists. The tourists could be divided into 4 groups, temple and river sided community group, archeological source group, Sam-Koke city group, and Pathumthani city group. The source which is the highest level of availability is Pathumthani city group, basic structures are available but do not have enough beautiful environment. Secondly, temple and river sided community group that has Chao-phraya river tourism as strength but water-route transportation is a major problem. Thirdly, Sam-Koke city group that is popular in the Mon's culture and life style, but, however, infra structures and facilities are not ready. Finally, archeological source group that has strength in being historical remains; nevertheless, basic structures and facilities are also in a low level. The potential of an art and cultural tourist market study has been revealed by many areas of potentials can be developed include tourist places, potential of the places themselves, tourist demand, and image of the places to be the valuable tourist as well. Limitations in budget and time are the serious obstacles of cultural development. Therefore, an order of priority should have been evaluated as 3 major phases. The first stage: Stressed mainly at a river tourism in a temple and river sided community group. The early period of the second stage: Sight-seeing improvement and major tourist centre development in Pathumthani city group. The late period of the second stage: Stressed at cultural and life style tourism of Sam-Koke city group. The third stage: Interested in basic structures and facilities for tourists in archeological source group as well as building a historical park.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2385
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.112
ISBN: 9745318302
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.112
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thanya.pdf15.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.