Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23931
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ในชีวิต สัมพันธภาพของคู่สมรสการสนับสนุนทางการพยาบาล และการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของสตรีหลังคลอด
Other Titles: Relationships between life events, marital relationships, nursing support, and perception of childbirth experience of postpartal women
Authors: สุพิศ ณ เชียงใหม่
Advisors: พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายในลักษณะของการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ และสร้างสมการพยากรณ์ระหว่างเหตุการณ์ในชีวิต สัมพันธภาพของคู่สมรส การสนับสนุนทางการพยาบาล ภูมิหลังของสตรีหลังคลอด และการรับรู้ประสบการณ์การคลอด จากกลุ่มตัวอย่างสตรีหลังคลอด จำนวน 205 ราย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. เหตุการณ์ในชีวิตมีความสัมพันธ์ทางลบ (r = -.23) กับการรับรู้ประสบการณ์การคลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. สัมพันธภาพของคู่สมรสมีความสัมพันธ์ทางบวก (r = .40) กับการรับรู้ประสบการณ์การคลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การสนับสนุนทางการพยาบาลมีความสัมพันธ์ทางบวก (r = .40) กับการรับรู้ประสบการณ์การคลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ตัวแปร (1) การสนับสนุนทางการพยาบาลด้านการดูแลที่มุ่งคน (NS-HUMAN) (2) สัมพันธภาพของคู่สมรส (MR) (3) ปริมาณเวลารวมในระยะที่ 1, 2 และ 3 ของการคลอด (L-TIME 123) (4) การสนับสนุนทางการพยาบาลด้านการประคับประคองทางอารมณ์ (NS-EMOTION) (5) น้ำหนักทารก (WEIGH) และ (6) ปริมาณเวลาในระยะที่ 2 ของการคลอด (L-TIME2) สามารถพยากรณ์การรับรู้ประสบการณ์การคลอดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .57 (R = .57) และสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ประมาณร้อยละ 33 (R² = .33) เมื่อสร้างเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานได้สมการดังนี้ ź = .15NS – HUMAN + .30MR - .15L – TIME123 + .24NS – EMOTION + .16WEIGH - .13L – TIME2
Other Abstract: This correlational study was designed to investigate the relationships between life events, marital relationships, nursing support, background of postpartal women, and perception of childbirth experience of 205 postpartal women. The followings were the major results of the study: 1. The relationship between life events and perception of childbirth experience was significantly negative (r = -.23) at the .05 level. 2. The relationship between marital relationships and perception of childbirth experience was significantly positive (r=.40) at the .05 level. 3. The relationship between nursing support and perception of childbirth experience was significantly positive (r= .40) at the .05 level. 4. The variables (1) nursing support in human-centered care category (NS-HUMAN) (2) marital relationships (NR) (3) labor time in stage 1 through stage 3 (L-TIME 123) (4) nursing support in emotional support category (NS-EMOTION) (5) baby's weight (WEIGH) and (6) labor time in stage 2 (L-TlME2) predicted perception of childbirth experience at .05 significant level and the coefficient of multiple correlation was .57 (R = .57) with the estimated coefficient of determination was 33 percent. (R² = .33) The predicted equation in standard score form can be stated as follow. ź = .15NS – HUMAN + .30MR - .15L – TIME123 + .24NS – EMOTION + .16WEIGH - .13L – TIME2
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23931
ISBN: 9745771619
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supit_na_front.pdf5.97 MBAdobe PDFView/Open
Supit_na_ch1.pdf9.13 MBAdobe PDFView/Open
Supit_na_ch2.pdf49.55 MBAdobe PDFView/Open
Supit_na_ch3.pdf5.07 MBAdobe PDFView/Open
Supit_na_ch4.pdf16.67 MBAdobe PDFView/Open
Supit_na_ch5.pdf14.73 MBAdobe PDFView/Open
Supit_na_back.pdf19.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.