Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23956
Title: การศึกษาการจัดหลักสูตรสถานศึกษาสำหรับเด็กวัยอนุบาลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอ่างทอง
Other Titles: A study on school curriculum organization for preschool children in the Office of Angthong Provincial Primary Education
Authors: จิตรา สร้อยสังวาลย์
Advisors: บุญมี เณรยอด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดหลักสูตรสถานศึกษาสำหรับเด็กอนุบาลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอ่างทอง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอ่างทอง จำนวน 25 โรงเรียน ที่ได้รับการประเมินพัฒนาการนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ในปีการศึกษา 2544 ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 และปีที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบศึกษาเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา แล้วนำมาเสนอเป็นรายโรงเรียนและภาพรวมของจังหวัด ผลการวิจัยพบว่า (1) การเตรียมการจัดหลักสูตร มีการวางแผนการจัดหลักสูตรเป็นรายปีการศึกษา โดยรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อวางแผนและจัดทำแผน มีการจัดเตรียมบุคลากรโดยหาความจำเป็นและปัญหาเพื่อวางแผน จัดทำโครงการ ดำเนินการและติดตามประเมินผล ด้วยรูปแบบการประชุมสัมมนาทางวิชาการ การอบรมเชิงปฏิบัติการและการศึกษาดูงาน จัดครูเข้าสอนตามประสบการณ์ มีการจัดตารางกิจกรรมประจำวัน จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ จัดสถานที่และสภาพแวดล้อม เตรียมวัสดุและสื่อการสอน และจัดเตรียมการประเมินพัฒนาการ ตามรูปแบบที่หลักสูตรกำหนด มีการเตรียมการนิเทศการจัดประสบการณ์โดยทำความเข้าใจและประชุม ปรึกษาหารือระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ มีการประชาสัมพันธ์หลักสูตรหลายรูปแบบโดยยึดการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึงเพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน และโรงเรียนส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาในการเตรียมการจัดหลักสูตร (2) การดำเนินการจัดหลักสูตร มีการจัดประสบการณ์โดยคำนึงถึงตัวเด็กและความแตกต่างระหว่างบุคคล จัดกิจกรรมที่หลากหลายอย่างสมดุลและเน้นให้มีสื่อของจริง โดยจัดแบบบูรณาการสอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรม สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม วัฒนธรรมในท้องถิ่น การใช้สถานที่มีครูผู้สอนอธิบายกฎระเบียบ วิธีใช้สถานที่ และการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น สอนและฝึกให้เด็กเก็บวัสดุและอุปกรณ์ต่างๆ ใช้วัสดุและสื่อโดยศึกษาจุดมุ่งหมายและวางแผนการจัดกิจกรรมการใช้สื่อ การจัดหาการพัฒนา การเก็บรักษาและซ่อมแซมวัสดุและสื่อ มีการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง ด้วยการศึกษาทำความความเข้าใจพัฒนาการของเด็กแล้ววางแผนเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือเพื่อบันทึกและประเมินพัฒนาการ โดยให้เด็กและผู้ปกครองมีส่วนร่วมประเมิน นิเทศการจัดประสบการณ์โดยผู้บริหารโรงเรียนและเพื่อนครู กิจกรรมการนิเทศที่โรงเรียนส่วนใหญ่ใช้ ได้แก่ การสังเกตการณ์จัดประสบการณ์ และการให้คำปรึกษาหารือ และโรงเรียนส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาในการดำเนินการจัดหลักสูตร (3) การติดตามประเมินผลการจัดหลักสูตร โรงเรียนติดตามประเมินผลทั้งการเตรียมการจัดหลักสูตรและการดำเนินการจัดหลักสูตรทุกเรื่องโดยรวบรวมข้อมูลจากการสอบถามครูผู้สอนและคณะครู สังเกตการณ์ปฏิบัติงานของครูและผู้มีส่วนร่วมในการจัดหลักสูตร การตรวจผลงานของครูและผู้มีส่วนร่วมในการจัดหลักสูตร มีการวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผล และมีการรายงานผลการประเมิน โดยมีการประเมินผลในระหว่างดำเนินการและหลังดำเนินการ และโรงเรียนส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาในการติดตามประเมินผลการจัดหลักสูตร
Other Abstract: The purposes of this research were to study states and problems in school curriculum organization for preschool children in the primary schools under the Office of Angthong Provincial Primary Education. Population were twenty five primary schools which were rated high capacities according to the students development evaluation program organized by the Office of the National Primary Education Commission. Data were obtained from administrators and teachers through interviewing and documents analysis. Research findings showed as follow: 1) At the preparation stage: The curriculum was planned yearly upon data analysis, teachers were prepared according to their needs through seminars, meetings, workshops, and study tours. Teachers were assigned according to their experience, daliy activities were planned so as to activity plans. Classrooms, curriculum, materials, and environments were prepared according to the curriculum, so as to supervisory activities. Public relations on curriculum were conducted in many medias and activities for create understanding among schools, student’s parents, and community. There is no problem indicated at this state. 2) At the operational stage : Learning experiences were organized according to individual differences through integrating method with emphasis on ethics with relevance to local wisdom and practices. Student were taught on the basis of self discipline, duties and responsibilities. Curriculum materials and instructional medias were utilized assessment principles. Supervisory activities employed were observations and consulting by school administrators and peer teachers. Data also indicated there were no problem at this stage. 3) At the evaluation stage : Schools conducted follow-up and evaluation every activities organized throughout the year through teachers’ inquiry, performances, and output quality. Summary reports were prepared both during and after the operation. Problem was not reported at this stage.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23956
ISBN: 9741720572
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jitra_sr_front.pdf2.76 MBAdobe PDFView/Open
Jitra_sr_ch1.pdf3.26 MBAdobe PDFView/Open
Jitra_sr_ch2.pdf30.12 MBAdobe PDFView/Open
Jitra_sr_ch3.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Jitra_sr_ch4.pdf114.34 MBAdobe PDFView/Open
Jitra_sr_ch5.pdf11.83 MBAdobe PDFView/Open
Jitra_sr_back.pdf15.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.