Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23968
Title: | ความรู้สึกของผู้ป่วยเกี่ยวกับภาพลักษณ์ ของตนเองภายหลังการตัดเต้านมออก |
Other Titles: | Patients' feelings concerning their body image after mastectomy |
Authors: | ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม |
Advisors: | ประนอม โอทกานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2527 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงความรู้สึกของผู้ป่วยเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของตนเองภายหลังการตัดเต้านมออก นับตั้งแต่ก่อนตัดเต้านม หลังตัดเต้านม 7–10 วันและ 3 เดือน และเพื่อเปรียบเทียบความรู้สึกของผู้ป่วยเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของตนเองในแต่ละระยะเวลาดังกล่าว โดยจำแนกตามอายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ระยะการดำเนินของโรคมะเร็งเต้านมและอาชีพของผู้ป่วย ตัวอย่างประชากรของการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้ป่วยหญิงที่เข้ารับการรักษาโรคมะเร็งเต้านมด้วยการตัดเต้านมออกจากโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร จำนวน 5 แห่ง เลือกตัวอย่างประชากรโดยวิธีเจาะจง จำนวนทั้งสิ้น 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง หาความตรงตามเนื้อหาของแบบสัมภาษณ์ โดยพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 8 ใน 10 ท่านเห็นด้วย หาความเที่ยงของแบบสัมภาษณ์ตามแบบสัมประสิทธิ์แอลฟ่าได้เท่ากับ 0.88 ข้อมูลที่รวบรวมได้นำมาวิเคราะห์เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบตัวประกอบเดียววัดซ้ำ และทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีของ นิวแมนคูลส์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนเฉลี่ยความรู้สึกของผู้ป่วยที่ตัดเต้านมออกเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของตนเอง ทั้งในระยะก่อตัดเต้านม หลังตัดเต้านม 7-10 วัน และ 3 เดือน ส่วนใหญ่ อยู่ในระดับ บางครั้ง 2. ค่าเฉลี่ยความรู้สึกของผู้ป่วยเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของตนเองในระยะหลังตัดเต้านม 7-10 วัน และ 3 เดือน ต่างก็เป็นไปในทางลบมากกว่าในระยะก่อนตัดเต้านม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และค่าเฉลี่ยความรู้สึกของผู้ป่วยเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของตนเองในระยะหลังตัดเต้านมออก 7-10 วัน เป็นไปในทางลบมากกว่าในระยะหลังตัด เต้านมออก 3 เดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความรู้สึกของผู้ป่วยเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของตนเองในแต่ละระยะเวลาที่ศึกษา จำแนกตามตัวแปรด้านผู้ป่วย พบว่า 3.1 ผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 45 ปี มีค่าเฉลี่ยความรู้สึกเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของตนเอง เป็นไปในทางลบมากกว่าผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 45 ปี ทั้ง 3 ระยะ เวลาที่ศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 3.2 ผู้ป่วยที่แต่งงานแล้วมีค่าเฉลี่ยความรู้สึกเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของตนเองเป็นไปในทางลบมากกว่าผู้ป่วยที่ยังเป็นโสด เฉพาะในระยะหลังตัดเต้านมออก 3 เดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนในระยะก่อนตัดเต้านมและหลังตัดเต้านม 7-10 วัน พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3.3 ในระยะก่อนตัดเต้านมและหลังตัดเต้านม 7-10 วัน ผู้ป่วยที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปและผู้ที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษาต่างก็มีค่าเฉลี่ย ความรู้สึกเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของตนเองไปในทางลบ มากกว่าผู้ป่วยที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในขณะที่ระยะหลังตัดเต้านมออก 3 เดือนก็เช่นเดียวกัน โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ ส่วนค่าเฉลี่ยความรู้สึกเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของตนเองระหว่างผู้ป่วยที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป กับผู้ป่วยที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษา ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้ง 3 ระยะเวลาที่ศึกษา 3.4 ผู้ป่วยที่มีระยะการดำเนินของโรคมะเร็งเต้านมแตกต่างกันคือ มะเร็งเต้านมระยะที่ 1 ระยะที่ 2 ระยะที่ 3 และระยะที่ 4 พบว่าค่าเฉลี่ยความรู้สึกเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของตนเอง ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้ง 3 ระยะเวลาที่ศึกษา 3.5 ในระยะก่อนตัดเต้านม ผู้ป่วยที่มีอาชีพรับราชการมีค่าเฉลี่ยความรู้สึกเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของตนเองเป็นไปในทางลบ มากกว่าผู้ป่วยที่มีอาชีพกสิกรรมและแม่บ้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ ในระยะหลังตัดเต้านม 7–10 วัน ผู้ป่วยที่มีอาชีพรับราชการมีความรู้สึกเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของตนเองเป็นไปในทางลบมากกว่าผู้ป่วยที่มีอาชีพกสิกรรม รับจ้าง และแม่บ้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01, .05 และ .05 ตามลำดับ และในระยะหลังตัดเต้านม 3 เดือน ผู้ป่วยที่มีอาชีพรับราชการมีความรู้สึกเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของตนเองเป็นไปในทางลบมากกว่าผู้ป่วยที่มีอาชีพกสิกรรมและรับจ้าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ นอกนั้นพบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ |
Other Abstract: | To study the patients feelings concerning their body image before mastectomy, seven to ten days after mastectomy and three months later. The study also compared their feelings in each period within different age-groups, marital status, educational levels, stages of breast cancer and. occupations. By purposive sampling, 100 women with breast cancer admitted for mastectomy were selected from five hospitals in the Bangkok Metropolis. The interviewing schedule was developed by the researcher and approved for the content validity by ten experts. The reliability coefficient was 0.88. The statistical procedures used in analyzing the data wore percentage, arithmetic mean, standard deviation, t-test, F-test, Single Factor Experiment with Repeated Measures and. Newman-Keuls Test. The research findings were as follows : 1. The need of patients’ feelings concerning their body image were mostly in the Sometime occurrence level in every periods of the study. 2. In the second and the third period the patients had more negative feelings concerning their body image than in the first period at the .01 level of significance and in the second period the patients had, also more negative feelings than in the third period, at the .01 level of significance. 3. By comparing the patients' feelings concerning their body imago in each period within different patients' variables, it was found that : 3.1 The 45 year old mastectomee and under had more negative feelings concerning their body image than the over 45 year old mastectomee in all three periods of the study at the .001 level of significance. 3.2 The married mastectomee had more negative feelings concerning their body image than the single mastectomee only during the third period at the .05 level of significance. 3.3 In the first two period, of the study both the mastectomee with a secondary and elementary school education had more negative feelings concerning their body imago than thee illiterate mastectomwee at the .01 level of significance 5 whereas, the third period was statistically significant at the .05 and, .01 level, respectively. But there was no statistically significant differences between the mastectomee with a secondary and. elementary school education in any period. 3.4 The mastectomee with different stages of breast cancer had- no statistically significant differences about feelings concerning their body image in any period. 3.5 In the first period government officers had more negative feelings concerning their body image than housekeepers and farmers at the .05 and .01 level of significance 5 respectively. In the second period; government officers had more negative feelings concerning their body imago than employees, housekeepers and farmers at the .059 ,05 and .01 level of significance, respectively. And in the third period, government officers had more negative feelings concerning their body image than farmers and employees at the .01 and .05 level of significance, respectively. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23968 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Yupapin_Si_front.pdf | 630.78 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Yupapin_Si_ch1.pdf | 723.74 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Yupapin_Si_ch2.pdf | 1.42 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Yupapin_Si_ch3.pdf | 604.97 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Yupapin_Si_ch4.pdf | 864.42 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Yupapin_Si_ch5.pdf | 1.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Yupapin_Si_back.pdf | 683.7 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.