Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23987
Title: การศึกษาสถานสภาพของบรรณารักษ์ของห้องสมุดมหาวิทยาลัย ในประเทศไทย
Other Titles: A study of the status of university librarians in Thailand
Authors: ยุวดี พิทักษ์
Advisors: นวนิตย์ อนทรามะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2519
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสถานภาพปัจจุบันของบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัย องค์ประกอบต่างๆ ที่มีผลต่อสถานภาพ 2) เพื่อทราบทัศนคติและความต้องการของบรรณารักษ์เกี่ยวกับสถานภาพ และ 3) เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้บริหารได้ตระหนักถึงความสำคัญของบรรณารักษ์วิชาชีพ ส่งเสริมและสนับสนุนให้บรรณารักษ์ได้มีสถานภาพที่เท่าเทียมกับวิชาชีพอื่นๆ วิธีที่ใช้ในการวิจัยคือ การค้นคว้าจากเอกสารและการสุ่มตัวอย่างประชากร ซึ่งได้มีการเลือกสัมภาษณ์บรรณารักษ์ และส่งแบบสอบถามไปยังบรรณารักษ์ 220 คน ผลของการศึกษาพบว่าบรรณารักษ์ส่วนใหญ่ คือ 88.57% เป็นหญิง มีอายุปัจจุบันเฉลี่ย 30.17 ปี เมื่อพิจารณาตามพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พุทธศักราช 2517 จะมีบรรณารักษ์ที่เป็นข้าราชการชั้นเอกและชั้นพิเศษเพียง 9.05% และ 3.81% ตามลำดับเท่านั้น บรรณารักษ์ส่วนใหญ่ 55.71% จะเป็นข้าราชการชั้นโท ผู้ทำงานในห้องสมุดส่วนใหญ่ 64.29% ได้รับการบรรจุเป็นตำแหน่งบรรณารักษ์และวิทยากร ทำให้โอกาสที่จะก้าวหน้ามีจำกัด ตลอดจนสิทธิต่างๆ ที่ได้รับจะน้อยกว่าผู้มีวุฒิเช่นเดียวกัน แต่มีตำแหน่งเป็นอาจารย์ บรรณารักษ์ที่มีวุฒิปริญญาโทขึ้นไปทั้งในสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสาขาอื่นด้วยมีเพียง 37.14% เท่านั้น หัวหน้าบรรณารักษ์ของหอสมุดกลางเท่านั้นที่มีคุณวุฒิปริญญาโทขึ้นไปครบทั้ง 7 แห่ง ด้วยเหตุนี้ เพื่อให้มีคุณวุฒิสูงขึ้น และเพื่อสถานภาพทางวิชาการ บรรณารักษ์ส่วนใหญ่ 63.81% จึงต้องการศึกษาต่อในสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสาขาวิชาอื่น ซึ่งในจำนวนนี้บรรณารักษ์ 16.42% ต้องการศึกษาต่อในสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ถึงระดับปริญญาเอก บรรณารักษ์ 35.24% มีชั่วโมงสอนในชั้น ส่วนในด้านการฝึกอบรม ผลงานวิจัยและเรียบเรียง ตลอดจนกิจกรรมทางวิชาการและวิชาชีพของบรรณารักษ์ยังไม่แพร่หลายและมีจำนวนมากนัก มีบรรณารักษ์เพียง 26.67% เท่านั้นที่มีผลงานเรียบเรียงและงานวิจัย บรรณารักษ์จำนวนไม่ถึงครึ่งคือ 44.76% ที่เป็นสมาชิกสมาคมวิชาชีพต่างๆ และ 30.00% ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการวิชาการต่างๆ ของมหาวิทยาลัย บรรณารักษ์จำนวนมากกว่าครึ่งคือ 50.72% ได้รับเงินเดือนปัจจุบันระหว่าง 1,750-2,100 บาท มีผู้ได้รับเงินเดือนปัจจุบัน 4,335 บาทขึ้นไปเพียง 5.74% เท่านั้น และส่วนใหญ่คือผู้มีตำแหน่งอาจารย์ และในการเลื่อนระดับเงินเดือนตามระบบ พี.ซี. ซึ่งได้ประกาศใช้เมื่อเร็วๆ นี้นั้น บรรณารักษ์ส่วนใหญ่ที่มิได้มีตำแหน่งเป็นผู้บริหารหรือผู้ชำนาญพิเศษ จะได้รับเงินเดือนสูงสุดในระดับ 5 เท่านั้น ในขณะที่อาจารย์จะได้รับระดับ 6 และ 7 ส่วนสิทธิและผลประโยชน์อื่นๆ บรรณารักษ์ส่วนใหญ่จะได้รับไม่เท่าเทียมกับอาจารย์ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนบรรณารักษ์ ข้อเสนอแนะคือ 1) ให้ยกฐานะหอสมุดกลางเป็นสำนักวิชาการเทียบเท่าคณะและให้บรรณารักษ์มีสถานภาพเท่าเทียมกับอาจารย์ทุกประการ 2) ในมหาวิทยาลัยที่มีภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ ควรพิจารณาให้บรรณารักษ์ที่มีคุณวุฒิและสามารถสูงได้มีโอกาสหมุนเวียนไปสอนในภาควิชาบรรณารักษศาสตร์บ้าง 3) บรรณารักษ์ควรปรับปรุงบริการห้องสมุดให้มีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาของสถาบันนั้นๆ โดยตรง 4) บรรณารักษ์ต้องปรับปรุงตนเองให้มีคุณภาพและความรับผิดชอบสูง โดยการศึกษาต่อทั้งในสาขาวิชาชีพและวิชาเฉพาะอื่น ร่วมในกิจกรรมทางการศึกษาและวิชาชีพ ตลอดจนสนใจในงานเรียบเรียงและงานวิจัยให้มากขึ้น และ 5) ควรรวมกลุ่มบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาวิชาชีพ และร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆ
Other Abstract: To 1) study the present status of university librarians with an emphasis on factors affecting the status; 2) assess the attitudes towards the status and the needs concerning the status of librarians and 3) convince administrators of professional librarians' role so that their status will be recognized as well as some other profess ions. Methods used in this study are documentary research and simple sampling. Statistical data are gathered by means of interview and questionnaire of which 220 were sent to all professional librarians. Findings reveal that: 88.57% of the librarians are female at the average age of 30.17. Based on 1974 Civil Service Act only 9.05% and 3.81% of the librarians are first and special grade officials respectively, while 55.71% are the second grade. Of all who work in the libraries, 64.29% are appointed librarians and subject specialists and thus are not entitled to the treatment the faculty have. Only 37.14% of the librarians have earned a master's degree or higher either in Library Science or in other subject fields. All 7 head librarians of the central libraries have at least a master’s degree in Library Science. In order to earn a higher degree and to acquire higher academic status, most of the librarians or 63.81%, expect to continue their study, either in Library Science or in other subject fields. Only 16.42% of the 63.81% feel pressure to work towards the doctorate degree in Library Science. 35.24% of the librarians are engaged in formal teaching. In-service training, research and publications and other professional activities in the field are so small and limited in number. Only 26.67% of the librarians have published contributions, 44.76% are members of the professional associations and 30.00%. Serve on university academic committees. The study also reveals that more than half of the librarians or 50.72% earn 1,750-2,100 baht a month. Those whose salary reaches 4,335 are also appointed faculty members. Based on the Position Classification System, most librarians who are neither administrators nor experts can reach at the most only level 5 in the income bracket of P.C., while the faculties are in the 6 and 7 income brackets. Regarding other privileges and benefits, librarians get fewer than do the faculty and this results in librarian shortage. Recommendations are 1) The central university library should adopt an academic form of governance and the librarians' status should be similar to that of the faculty; 2) In the university where the teaching of Library Science is conducted, qualified librarians should also be rotated to teaching positions; 3) Library services should be improved to the fullest Benefit of the institution's educational policy; 4) Librarians' self improvement through advanced education, participation in educational enterprises and professional activities, research work and publications should be encouraged; 5) Librarians should form an academic body for their professional development and cooperation.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23987
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yuwadee_Pi_front.pdf561.61 kBAdobe PDFView/Open
Yuwadee_Pi_ch1.pdf949.03 kBAdobe PDFView/Open
Yuwadee_Pi_ch2.pdf3.48 MBAdobe PDFView/Open
Yuwadee_Pi_ch3.pdf2.81 MBAdobe PDFView/Open
Yuwadee_Pi_ch4.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Yuwadee_Pi_back.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.