Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23994
Title: การเปรียบเทียบบทบาทที่คาดหวังกับบทบาทที่ปฏิบัติจริง ของศึกษานิเทศก์กรมพลศึกษา ตามการรับรู้ของครูพลศึกษา
Other Titles: A comparison of expected roles and actual roles of supervisors in physical education as perceived by physical education teachers
Authors: ยุวดี วิวัฒนปฐพี
Advisors: รัชนี ขวัญบุญจัน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาถึงบทบาทที่คาดหวังกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของศึกษานิเทศก์กรมพลศึกษา ตามการรับรู้ของครูพลศึกษา โดยส่งแบบสอบถามไปยังครูพลศึกษาโรงเรียนระดับมัธยมที่อยู่ในโครงการนิเทศในช่วงปี 2525–2527 ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 186 ชุด ได้รับแบบสอบถามคืนมา 161 ชุด คิดเป็น 86.56% และนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยหาค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบความแตกต่างด้วยค่าที (t-test) นำเสนอในรูปตารางและความเรียง ผลการวิจัยพบว่า ครูพลศึกษามีความคาดหวังเกี่ยวกับบทบาทในการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์กรมพลศึกษาในด้านต่างๆ ดังนี้ คือ 1) ด้านการเรียนการสอน ความคาดหวังที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ให้ความรู้แก่ครูพลศึกษาเกี่ยวกับกฎกติกาที่เปลี่ยนแปลง แนะนำวิธีการสอนแปลกๆ ใหม่ๆ อยู่เสมอ ให้ความร่วมมือประสานงานกับครูพลศึกษาในการทำการทดลองสอนและประเมินผลการสอน 2) ด้านการวัดและประเมินผลทางพลศึกษา ความคาดหวังที่อยู่ระดับมาก ได้แก่ ให้บริการจัดประชุม สัมมนา เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการวัดและประเมินผลทางพลศึกษา ช่วยจัดทำข้อสอบมาตรฐานวิชาพลศึกษา 3) ด้านอาคารสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ ความคาดหวังที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ให้บริการจัดประชุม อบรม สัมมนา เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางด้านวัสดุอุปกรณ์ทางพลศึกษา ให้คำแนะนำในการป้องกันอุบัติเหตุจากสภาพอุปกรณ์และสถานที่ในการเรียนการสอนและการฝึกซ้อมกีฬา 4) ด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตร ความคาดหวังที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ให้คำแนะนำในการจัดกิจกรรมการแข่งขันกีฬาภายในโรงเรียน กีฬาระหว่างโรงเรียนและกิจกรรมอื่นๆ 5) ด้านบริการชุมชน ความคาดหวังที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ร่วมมือกับสถาบัน โรงเรียนระดับต่างๆ และชุมชนในการดำเนินการจัดการแข่งขันกีฬา กิจกรรมนันทนาการหรือกิจกรรมเยาวชนตามความเหมาะสม 6) คุณลักษณะของศึกษานิเทศก์กรมพลศึกษา ความคาดหวังที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีลักษณะเป็นผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่น มีความรู้ทางด้านวิชาการ 7) ด้านความต้องการอื่นๆ ครูพลศึกษาต้องการการนิเทศทางด้านการเรียน การสอนมากที่สุด และมีความคาดหวังเกี่ยวกับลักษณะของการนิเทศซึ่งอยู่ในระดับมาก ได้แก่ การสาธิต การนิเทศที่ศึกษานิเทศก์กรมพลศึกษามาเองโดยบอกให้ทราบล่วงหน้า การมาเยี่ยมโรงเรียนโดยครูพลศึกษาหรือทางโรงเรียนขอร้องไป ส่วนบทบาทที่ปฏิบัติจริงของศึกษานิเทศก์กรมพลศึกษา ครูพลศึกษามีความเห็นว่า ทุกด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย นอกจากคุณลักษณะของศึกษานิเทศก์กรมพลศึกษาที่ปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ซึ่งได้แก่ มีมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่น มีลักษณะเป็นผู้นำ มีเหตุผลและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีอารมณ์มั่นคงหนักแน่น เมื่อเปรียบเทียบบทบาทที่คาดหวังกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของศึกษานิเทศก์กรมพลศึกษา ตามการรับรู้ของครูพลศึกษา ปรากฏว่า ทุกข้อในแต่ละด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Other Abstract: To investigate the expected roles and actual roles of the physical education supervisors as perceived by the physical education teachers. One hundred and eighty-six questionnaires were sent to the physical education teachers who was supervised during 1982-1984, in the secondary school of the Metropolital Bangkok. One hundred and sixty-one questionnaires accounted for 86.56% were returned. The obtained data were analyzed in terms of percentages, means and standard deviations. A t-test was also employed to determined significant differences. It was found that the physical education teachers expected the roles of the physical education supervisors to be as follows: 1. In the area of learning and teaching, the expected roles were to introduce the knowledge of the corrected rules of the games, to innovate the method of teaching regularly, and to co-operate in the experiment and evaluation of the teaching. 2. In the area of measurement and evaluation, the expected roles were to help in organizing the meeting, seminar in the measurement and evaluation, and to construct the physical education test. 3. In the area of facilities and equipment, the expected roles were to help in organizing the meeting, seminar on the knowledge of facilities and the equipment, to recommend the prevention of accidents as a result of the facilities and the equipment. 4. In the area of co-curricular activities, the expected roles were to assist how to manage the intramural and extramural athletic programs and other activities. 5. In the area of community service, the expected roles were to co-operate with other institutes, school and the community in athletic competition, recreation or youth activities. 6. In the area of characteristics and qualification of physical education supervisors, the expected roles were having self-confidence, being good leaders, being friendly, and having good knowledge of profession. 7. The area of supervision which physical education teachers needed were: demonstration in teaching, informing expected supervision, and visiting by the supervisors as requested. For the actual roles of physical education supervisors, physical education teachers recommended that real characteristics of the supervisors be good leaders, and reasonable, understandable, self-confident, and mature persons. Through the t-test between the expected roles and the actual roles of the physical education supervisors perceived by the physical education teachers, it was revealed that there was significant difference at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.ป--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23994
ISBN: 9745641707
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yuwadee_Wi_front.pdf514.84 kBAdobe PDFView/Open
Yuwadee_Wi_ch1.pdf346.37 kBAdobe PDFView/Open
Yuwadee_Wi_ch2.pdf659.45 kBAdobe PDFView/Open
Yuwadee_Wi_ch3.pdf340.37 kBAdobe PDFView/Open
Yuwadee_Wi_ch4.pdf678.32 kBAdobe PDFView/Open
Yuwadee_Wi_ch5.pdf503.82 kBAdobe PDFView/Open
Yuwadee_Wi_back.pdf786.52 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.