Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24071
Title: การเปรียบเทียบคุณภาพแบบสอบเลือกตอบตัวเลือกธรรมดาและตัวเลือกซ้อน ที่ใช้วัดระดับพุทธิพิสัยต่างกันเมื่อใช้ทดสอบกลุ่มนักเรียน ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกัน
Other Titles: A comparison of the quality between the single and the double multiple choice tests in measuring the different cognitive domain levels administered to different groups of learning achievement students
Authors: ปราณี ร่วมทอง
Advisors: เยาวดี วิบูลย์ศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบคุณภาพแบบสอบเลือกตอบตัวเลือกธรรมดาและตัวเลือกซ้อนในด้าน ความเที่ยง ความตรง ความยาก และอำนาจจำแนกของแบบสอบที่วัดความรู้ 2 ระดับ คือ ระดับความรู้ขั้นต่ำ ซึ่งเป็นการวัดผลการเรียนรู้ในระดับ ความรู้-ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ และระดับความรู้ขั้นสูง ซึ่งเป็นการวัดผลการเรียนในระดับ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินผล (2) เปรียบเทียบคะแนนที่ได้จากการตอบแบบสอบเลือกตอบตัวเลือกธรรมดาและตัวเลือกซ้อนในกลุ่มนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ปานกลาง และต่ำ (3) ศึกษาปฏิกิริยาร่วมของแบบสอบเลือกตอบที่มีตัวเลือกต่างกัน 2 แบบ คือ “ตัวเลือกธรรมดา” และ “ตัวเลือกซ้อน” กับระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกัน 3 ระดับ คือ สูง ปานกลาง และต่ำ ที่มีต่อคะแนนที่ได้จากการตอบแบบสอบเลือกตอบที่มีตัวเลือกทั้งสองแบบนั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์วิชาวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ว.305) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีรูปแบบของข้อกระทงเป็นแบบเลือกตอบตัวเลือกธรรมดาและแบบเลือกตอบตัวเลือกซ้อน ซึ่งใช้เป็นแบบสอบวัดผลการเรียนรู้ในระดับความรู้ขั้นต่ำและระดับความรู้ขั้นสูง กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดนครนายกภาคต้น ปีการศึกษา 2527 จำนวน 328 คน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ด้วยวิธีการสุ่มอย่างเป็นระบบ เพื่อให้กลุ่มหนึ่งตอบแบบสอบเลือกตอบตัวเลือกธรรมดา และอีกกลุ่มหนึ่งตอบแบบสอบเลือกตอบตัวเลือกซ้อน กลุ่มละ 164 คน ในแต่ละกลุ่มถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ปานกลาง และต่ำ โดยแบ่งตามคะแนนจากแบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์วิชาวิทยาศาสตร์ (ว.204) ของโรงเรียนนวมราชานุสรณ์ ซึ่งผู้วิจัยนำไปทดสอบกับนักเรียนที่ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด นอกจากนี้ยังใช้เป็นเกณฑ์ในการหาความตรงของแบบสอบที่ศึกษาด้วย แล้วนำข้อมูลไปวิเคราะห์ตามวิธีการทางสถิติต่อไปนี้ (1) หาค่าความเที่ยงของแบบสอบแต่ละฉบับโดยใช้สูตรคูเดอร์ ริชาร์ดสัน-20 (2) หาค่าความตรงของแบบสอบโดยใช้สูตรสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (3) หาค่าอำนาจจำแนกของข้อกระทงในแบบสอบโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบไบซีเรียบ (4) หาค่าความยากของแบบสอบทุกฉบับ (5) เปรียบเทียบค่าความเที่ยงและค่าความตรงของแบบสอบที่วัดระดับความรู้เดียวกัน โดยเปลี่ยนเป็นสัมประสิทธิ์ฟิชเชอร์ซี เปรียบเทียบค่าความยากและค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบที่วัดระดับความรู้เดียวกันโดยใช้การทดสอบมัธยฐาน (6) วิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนที่ได้จากการตอบแบบสอบเลือกตอบตัวเลือกธรรมดาและตัวเลือกซ้อนในกลุ่มนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกัน 3 ระดับ โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน 2 ทาง และทดสอบความแตกต่างภายหลังด้วยวิธีของเชฟเฟ ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ในการวัดระดับความรู้ขั้นต่ำ แบบสอบเลือกตอบตัวเลือกธรรมมีค่าความเที่ยงสูงกว่าแบบสอบเลือกตอบตัวเลือกซ้อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าอำนาจจำแนกสูงกว่าแบบสอบเลือกตอบตัวเลือกซ้อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าความตรงของแบบสอบที่มีตัวเลือกทั้ง 2 แบบ ไม่แตกต่างกัน และแบบสอบเลือกตอบตัวเลือกธรรมดาง่ายกว่าแบบสอบเลือกตอบตัวเลือกซ้อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ในการวัดระดับความรู้ขั้นสูง แบบสอบเลือกตอบตัวเลือกธรรมดาและตัวเลือกซ้อนมีค่าความเที่ยง ความตรง ความยาก และอำนาจจำแนกไม่แตกต่างกัน 3) ปฏิกิริยาร่วมระหว่างระดับผลสัมฤทธิ์และการได้รับการทดสอบด้วยแบบสอบเลือกตอบที่มีตัวเลือกแตกต่างกัน มีผลร่วมกันต่อคะแนนที่ได้จากการตอบแบบสอบเลือกตอบที่มีตัวเลือกทั้งสองแบบนั้น 4) นักเรียนกลุ่มที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงและกลุ่มที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำตอบแบบสอบเลือกตอบตัวเลือกธรรมดา และตัวเลือกซ้อนได้ไม่แตกต่างกัน 5) นักเรียนกลุ่มที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปานกลางตอบแบบสอบเลือกตอบตัวเลือกธรรมดาได้คะแนนเฉลี่ยสูงกว่าแบบสอบเลือกตอบตัวเลือกซ้อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this study were: 1) to compare the quality of reliability, validity, difficulty and diserimination of a single and double multiple choice test measuring the first-three levels (knowledge, comprehension and application) and the last three levels (analysis, synthesis and evaluation) of Congnitive Domain, 2) to compare the differences of scores between high, medium and low learning achievement groups basing on single and double multiple choice test, 3) to find the interaction between learning achievement levels and the multiple choice tests using different alternatives. The instrument included two forms of an achievement test in General Science Course (Sc.305) for Mathayomsuksa III constructed by the researcher. The first one was a single multiple-choice form; the second was a double multiple choice format converted from the single multiple-choice test measuring the first-three levels and the last three levels of Cognitive Domain. The subjects were 328 Mathayomsuksa III students from 5 secondary schools in Nakornnayok. The subjects were divided into two groups, the first group took the test with the single multiple choice, and the second the double multiple choice test. Each group was also divided into three small groups; high, medium and low learning achievement by the General Science Achievement Test (Sc 204) for Mathayomsuksa II students of Navamarachanusorn School. The test was used as a criterion for determining the concurrent validity of all test constructed. The Kuder-Richardson Formular-20 was used to estimate the reliability index of each test. The Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient was used to determine the validity of each test. The Biserial Correlation was used to determine the item discrimination. The reliability, the validity and the discrimination of all test were then transformed to the Fisher’s Z coefficient, and then compared. The Median Test was used to test the differences of the difficulty. The different scores of the single and the double multiple choice test in different groups of learning achievement students tested by two way analysis of variance and the Scheffe method were used to test the difference between the means in posttension comparison. The results of study were: 1. To measure the first three levels of Cognitive Domain, the reliability of the single multiple-choice test was significantly higher than the double multiple-choice test at a 0.05 level. The discrimination of the single multiple-choice test was significantly higher than the double multiple-choice test at a 0.01 level. The double multiple-choice test was significantly more difficult than the single multiple choice test at 0.05 level. There was no significant difference between the validity of the single multiple choice test and the double multiple choice test. 2. To measure the last three levels of Cognitive Domain, there was no significant difference between the reliability, validity, difficulty and discrimination power of the single multiple choice test and the double multiple choice test. 3. There was an interaction between learning achievement levels and the multiple choice that used different alternatives. 4. There was no difference between score from single and double multiple choice test for both high and low learning achievement. Medium learning achievement learners obtain higher score from single multiple choice test than that from the double multiple choice test significantly at .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24071
ISSN: 9745645257
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pranee_Ro_front.pdf623.32 kBAdobe PDFView/Open
Pranee_Ro_ch1.pdf621.11 kBAdobe PDFView/Open
Pranee_Ro_ch2.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open
Pranee_Ro_ch3.pdf886.77 kBAdobe PDFView/Open
Pranee_Ro_ch4.pdf814.68 kBAdobe PDFView/Open
Pranee_Ro_ch5.pdf870.78 kBAdobe PDFView/Open
Pranee_Ro_back.pdf2.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.