Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24074
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุจริต เพียรชอบ
dc.contributor.authorปราณี สินธุ์สะอาด
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-14T07:35:29Z
dc.date.available2012-11-14T07:35:29Z
dc.date.issued2523
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24074
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูและนักเรียนเกี่ยวกับหนังสือเรียนวิชาหลักภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เล่มหนึ่ง ของกระทรวงศึกษาธิการ ในด้านรูปเล่ม เนื้อหา การใช้หนังสือเรียน ตลอดจนปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะต่าง ๆ 2. เพื่อศึกษาสภาพการเรียนการสอน และความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาหลักภาษาไทย 3. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูและนักเรียนเกี่ยวกับหนังสือเรียนวิชาหลักภาษาไทย ตลอดจนการเรียนการสอนวิชาหลักภาษาไทย วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยสร้างแบบสอบถาม 2 ฉบับ มีลักษณะคล้ายกัน 1 ฉบับ สำหรับครู 1 ฉบับ สำหรับนักเรียน ใช้แบบสอบถามเพื่อถามครูที่สอนวิชาภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ทั้งโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 16 โรง ได้นักเรียนจำนวน 480 คน ครู 30 คน นำแบบสอบถามที่ได้กลับคืนมา วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าที (t-Test) ทดสอบความมีนัยสำคัญ นำข้อมูลเสนอในรูปตารางประกอบความเรียง ผลการวิจัย ความคิดเห็นของครูและนักเรียนส่วนใหญ่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ในด้านเนื้อหาและวิธีการเขียน ด้านภาพประกอบและด้านรูปเล่มของหนังสือเรียน ส่วนความคิดเห็นในด้านแบบฝึกหัด การพิมพ์และส่วนประกอบด้านต่าง ๆ ของหนังสือเรียนส่วนใหญ่แล้วไม่แตกต่างกัน ครูมีความเห็นด้วยในระดับมากที่สุดว่า เนื้อหาในหนังสือเรียนมีความเหมาะสมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของวิชาภาษาไทย โดยเน้นการใช้ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อสาร นักเรียนเห็นด้วยในระดับมากว่าหนังสือเรียนเสนอความรู้ทางหลักภาษาไทยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน สำหรับด้านรูปเล่ม และภาพประกอบของหนังสือเรียนนั้นครูและนักเรียนเห็นว่า ควรปรับปรุงรูปเล่มให้มีมาตรฐาน มีความทนทาน ใช้กระดาษดีกว่าที่เป็นอยู่ นักเรียนเห็นว่าหนังสือเล่มนี้มีขนาดพอเหมาะ ไม่หนาเกินไป สะดวกในการหยิบใช้ ความคิดเห็นที่มีต่อภาพประกอบนั้นครูและนักเรียนเห็นว่าควรใช้ภาพปกที่สามารถดึงดูดความสนใจผู้อ่าน ทั้งควรมีภาพประกอบในเล่มให้มาก ในด้านการพิมพ์ครูและนักเรียนเห็นว่า การพิมพ์เหมาะสม เรียบร้อยดี ขนาดของตัวอักษรชัดเจน เหมาะสมกับสายตาของนักเรียน ครูและนักเรียนเสนอแนะว่า ควรมีบทสรุปท้ายบทเรียน ควรมีบรรณานุกรมท้ายเล่มหรือท้ายบท และควรมีกิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละบทไว้ท้ายบทเรียนด้วย การใช้หนังสือเรียนนั้นทั้งสองฝ่ายประสบปัญหาการใช้พอสมควร ปัญหาที่ประสบได้แก่ เนื้อหาบางเรื่องยากเกินไป การอธิบายไม่กระจ่างพอ และบางตอนใช้ภาษายากเกินไป ครูและนักเรียนส่วนใหญ่เห็นว่า ควรมีการเรียนการสอนวิชาหลักภาษาไทย จากหนังสือเรียนวิชาภาษาไทยชุดทักษสัมพันธ์ เล่ม 1 ควบคู่กับหนังสือเรียนวิชาหลักภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เล่ม 1 ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยไม่ต้องแยกชั่วโมงเป็นรายวิชาแต่อาจจัดหลักภาษาไทยเป็นชั่วโมงพิเศษบ้างสำหรับเนื้อหาวิชาบางเรื่อง หลังจากการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาหลักภาษาไทย และการใช้หนังสือเรียนวิชาหลักภาษาไทยแล้วการเรียนการสอนวิชาหลักภาษาไทยน่าสนใจขึ้น ผู้เรียนสามารถนำหลักภาษาไทยไปใช้ในการใช้ภาษาในชีวิตประจำวันได้ดียิ่งขึ้น
dc.description.abstractalternativeThe Purposes of Study : 1. To study teachers and students’ opinions concerning lower secondary educational level Thai Grammar Textbook One of the Ministry of Education on appearance, the contents, and the use of the textbook as well as their problems and suggestions 2. To study teaching learning Thai Grammar situations as well as teachers and students’ opinions concerning those situations. 3. To compare the teachers’ and the students’ opinions concerning Thai Grammar Textbook One as well as Thai grammar instruction. Procedures : Questionnaires were sent to both Thai language teachers and Matayomsuksa One students at the lower secondary education level in 16 public and private secondary schools in Metropolitan Bangkok. The participants were 30 Thai language teachers and 480 studnets. The returned questionnaires were analysed statifically by means of percentage, arithmetic mean, standard deviation and t-test then tabulated and explained descriptively. The results : The majority of teachers’ and students’ opinions concerning contents, style of writing, illustration and the appearance of the textbooks were significant difference at the level of .01. There were no significant difference on the part of exercises, publishing and other components of the textbooks. The teachers agreed at the highest level that the contents in the textbook were in accordance with the objectives appeared in Thai language curriculum, emphasizing on using language as communication skills. The students agreed at the high level that the textbook offered Thai grammar that could be used in everyday life. For the appearance of the textbook, teachers and students thought that it should be improved up to that standard so that it should last longer. In addition, the quality of the paper should be better. The students thought that the size of the textbook was appropriate and handy. Teachers and students thought that there should be more illustrations and the cover should be more attractive. They also thought that the publishing of the textbook was good and the alphabets were in appropriate size. Teachers and students suggested that there should be summaries, learning activities and references at the end of each chapter or at the end of the volume. The problems of using the textbook faced by teachers and students were some difficult contents, vague explanation and too difficult language in some parts. Majority of teachers and students considered that Thai language textbook, “Taksasomphan” should be taught along with this book so that grammar and literature teaching and learning process should be integrated. However, time should be arranged for teaching grammar alone in some parts. They agreed that the teaching and learning Thai grammar was more interesting after the curriculum, teaching learning process, and the textbook had been changed, the students could apply Thai grammar in their everyday life.
dc.format.extent586315 bytes
dc.format.extent727894 bytes
dc.format.extent1654242 bytes
dc.format.extent384494 bytes
dc.format.extent1802548 bytes
dc.format.extent932355 bytes
dc.format.extent1466526 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleความคิดเห็นของครูและนักเรียนเกี่ยวกับหนังสือเรียนหลักภาษาไทย ชั้นมัยธยมศึกษาตอนต้น เล่มหนึ่งen
dc.title.alternativeOpinions of teachers and students concerning Thai grammar textbook one at the secondary education levelen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineมัธยมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pranee_Si_front.pdf572.57 kBAdobe PDFView/Open
Pranee_Si_ch1.pdf710.83 kBAdobe PDFView/Open
Pranee_Si_ch2.pdf1.62 MBAdobe PDFView/Open
Pranee_Si_ch3.pdf375.48 kBAdobe PDFView/Open
Pranee_Si_ch4.pdf1.76 MBAdobe PDFView/Open
Pranee_Si_ch5.pdf910.5 kBAdobe PDFView/Open
Pranee_Si_back.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.