Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24082
Title: ความคิดเห็นของครูสังคมศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์เกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521
Other Titles: Opinions of social studies teachers, administrators and supervisors concerning social studies instruction according to The Lower Secondary School Curriculum, B.E. 2521
Authors: ปรางค์สุวรรณ อดีตโต
Advisors: พิบูลศรี วาสนสมสิทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูสังคมศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและศึกษานิเทศก์วิชาสังคมศึกษาเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 ในเรื่องหลักสูตรสังคมศึกษาฉบับพุทธศักราช 2521 จุดมุ่งหมายของวิชาสังคมศึกษา กระบวนการเรียนการสอนสังคมศึกษา วัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนสังคมศึกษา การวัดและประเมินผล เพื่อหาข้อบกพร่อง และข้อเสนอแนะเป็นแนวทางในการปรับปรุงการเรียนการสอนสังคมศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามจำนวน 3 ชุด แต่ละชุดประกอบด้วย แบบเลือกตอบแบบมาตรส่วนประเมินค่า และแบบปลายเปิด แบบสอบถามชุดที่ 1 ใช้ถามครูสังคมศึกษาจำนวน 132 คน ในโรงเรียนรัฐบาล และโรงเรียนราษฎร์ รวม 20 แห่งในกรุงเทพมหานคร แบบสอบถามชุดที่ 2 ใช้ถามผู้บริหารการศึกษาจำนวน 80 คน ในโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนราษฎร์ รวม 20 แห่ง ในกรุงเทพมหานคร แบบสอบถามชุดที่ 3 ใช้ถามศึกษานิเทศก์วิชาสังคมศึกษาในทุกเขตการศึกษา จำนวน 40 คน ผู้วิจัยได้รับแบบสอบถามคืนจากครูสังคมศึกษาร้อยละ 90.16 จากผู้บริหารการศึกษาร้อยละ 87.50 และจากศึกษานิเทศก์วิชาสังคมศึกษาร้อยละ 77.50 ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต (X̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าที (t-test) แล้วนำเสนอข้อมูลในรูปตารางและอธิบายประกอบ สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยปรากฏว่า ครูสังคมศึกษาประมาณร้อยละ 67.50 เป็นหญิง ประมาณร้อยละ 66.67 มีวุฒิปริญญาตรี ครูสังคมศึกษาประมาณร้อยละ 45.84 ต้องการความรู้เพิ่มเติมในวิชาสังคมศึกษา เพื่อสอนตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นพุทธศักราช 2521 ผู้บริหารการศึกษาร้อยละ 60.00 เป็นหญิง ประมาณร้อยละ 71.43 มีวุฒิปริญญาตรี ผู้บริหารการศึกษาประมาณร้อยละ 31.43 ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้าหมวดวิชาสังคมศึกษา รองลงมาคือประมาณร้อยละ 28.57 ดำรงตำแหน่งหัวหน้าหมวดวิชาสังคมศึกษา ผู้บริหารการศึกษาประมาณร้อยละ 65.71 เคยมีประสบการณ์ในการเป็นครูสังคมศึกษามาก่อนที่จะดำรงตำแหน่งปัจจุบัน และประมาณร้อยละ 58.06 เคยเข้าร่วมประชุมสัมมนาหรืออบรมเกี่ยวกับงานในหน้าที่ ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 ศึกษานิเทศก์วิชาสังคมศึกษาประมาณร้อยละ 77.42 เป็นชายประมาณร้อยละ 64.52 มีวุฒิปริญญาตรี ศึกษานิเทศก์วิชาสังคมศึกษาประมาณร้อยละ 67.74 ศึกษาเน้นหนักทางด้านวิชาสังคมศึกษาประมาณร้อยละ 83.87 เคยมีประสบการณ์ในการเป็นครูสังคมศึกษามาก่อนที่จะดำรงตำแหน่งในปัจจุบัน และประมาณร้อยละ 32.26 มีความเห็นว่าควรจัดให้มีการอบรมทางวิชาการ และการนิเทศการศึกษาเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษาตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 ให้ครูสังคมศึกษาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และศึกษานิเทศก์วิชาสังคมศึกษาประมาณร้อยละ 58.06 เคยเข้าร่วมประชุมสัมมนาหรืออบรมเกี่ยวกับงานในหน้าที่ ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 ในการเปรียบเทียบความคิดเห็นของ ครูสังคมศึกษากับผู้บริหารการศึกษา, ครูสังคมศึกษากับศึกษานิเทศก์วิชาสังคมศึกษา และผู้บริหารการศึกษากับศึกษานิเทศก์วิชาสังคมศึกษา เกี่ยวกับหลักสูตรสังคมศึกษา ฉบับพุทธศักราช 2521 จุดมุ่งหมายของวิชาสังคมศึกษา กระบวนการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา วัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา และการวัดและประเมินผลการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษาปรากฏว่าตัวอย่างประชากรทุกกลุ่ม มีความเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: Purposes : The purposes of this research were to study and to compare the opinions of social studies teachers, administrators and supervisors concerning social studies instruction according to the lower secondary school curriculum, B.E. 2521. The following aspects were studied :- The nature of the curriculum, the objectives of social studies, the process of social studies instruction, the instructional media and the techniques of social studies measurement and evaluation. Procedures :- Three sets of questionnaires, each consisting of three parts completion :- multiple choice, rating scale and open – ended were constructed. The first set of questionnaires was sent to 132 social studies teachers in 20 government and private schools in Bangkok Metropolis. The second set of questionnaires was sent to 80 administrators in 20 government and private schools in Bangkok Metropolis. The third set of questionnaires was sent to 40 supervisors in all educational regions. The returned questionnaires were ninety percent from the social studies teachers, eighty – seven percent from the administrators and seventy – seven percent from the supervisors. The obtained data were analyzed by means of standard deviation and t-test. Conclusions : The findings of the research showed that, about sixty – seven percent of social studies teachers were female, sixty – six percent of social studies teachers received a bachelor’s degree, forty – five percent of social studies teachers needed to increase knowledge in social studies for teaching to the lower secondary school curriculum, B.E. 2521. About sixty percent of administrators were female, seventy – one percent of administrators received a bachelor’s degree, thirty percent of administrators were assistants to the social studies department head and twenty – eight percent of administrators were social studies department heads, sixty – five percent of administrators had experienced for being social studies teachers and fifty – eight percent of administrators had joined in the implementation of the lower secondary school curriculum development. About seventy – seven percent of social studies supervisors were male, sixty – four percent of social studies supervisors received a bachelor’s degree, sixty – seven percent of social studies supervisors learned social study as major subject, eighty – three percent of social studies supervisors had experienced for being social studies teachers, thirty – two percent of social studies supervisors expressed that the training program on supervision of social studies instruction at the lower secondary level should be provided at least once a year. And fifty – eight percent of social studies supervisors had joined in the implementation of the lower secondary school curriculum development. To compare the opinions of social studies teachers and administrators, social studies teachers and supervisors and administrators and supervisors concerning the nature of the curriculum, the objectives of social studies, the process of social studies instruction, the instructional media and the techniques of social studies measurement and evaluation, it appeared significantly indifferent at the level of .05
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24082
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prangsuwan_Ad_front.pdf574.12 kBAdobe PDFView/Open
Prangsuwan_Ad_ch1.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open
Prangsuwan_Ad_ch2.pdf2.05 MBAdobe PDFView/Open
Prangsuwan_Ad_ch3.pdf429.19 kBAdobe PDFView/Open
Prangsuwan_Ad_ch4.pdf2.2 MBAdobe PDFView/Open
Prangsuwan_Ad_ch5.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Prangsuwan_Ad_back.pdf2.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.