Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24120
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นิศา ชูโต | |
dc.contributor.author | ณัฐกานต์ พลโลหะ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2012-11-15T06:17:30Z | |
dc.date.available | 2012-11-15T06:17:30Z | |
dc.date.issued | 2545 | |
dc.identifier.isbn | 9741725302 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24120 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างตัวบ่งชี้สำหรับการพัฒนาเด็กวัยรุ่นตอนต้นที่พ่อแม่/ผู้ปกครองและครูปฏิบัติ และเปรียบเทียบการรับรู้ในพฤติกรรมการพัฒนาระหว่างความคิดเห็นของนักเรียนกับพ่อแม่/ผู้ปกครองและครู กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 พ่อแม่/ผู้ปกครอง และครู จำนวน 400, 400 และ 180 คน ตามลำดับ สำรวจความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า ซึ่งสร้างจากแนวคิดการพัฒนาเด็กวัยรุ่นและการสังเคราะห์ความเห็นพ้องรวมจากข้อมูลการสนทนากลุ่มพ่อแม่/ผู้ปกครองและครูซึ่งไม่ได้เป็นกลุ่มตัวอย่าง แล้วนำข้อมูลจากการสำรวจดังกล่าวมาวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ 7 ด้าน ได้แก่ ด้านการส่งเสริมสุขภาพอนามัย, ด้านการส่งเสริมทักษะการแสวงหาความรู้และพัฒนาตนเอง, ด้านการปลูกฝังและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์, ด้านการส่งเสริมสุขภาพจิต, ด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน, ด้านการส่งเสริมทักษะและเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพที่สุจริต และด้านการส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สกัดองค์ประกอบด้วยวิธีองค์ประกอบสำคัญโดยหมุนแกนแบบออบลีค และวิเคราะห์ความแตกต่างค่าเฉลี่ยการรับรู้ในพฤติกรรมการพัฒนาระหว่างความคิดเห็นของนักเรียนกับพ่อแม่/ผู้ปกครองและครู ด้วยการทดสอบค่าสถิติที (t-test) ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. ตัวบ่งชี้สำหรับการพัฒนาเด็กวัยรุ่นตอนต้นที่พ่อแม่/ผู้ปกครองปฏิบัติ ด้านแรกได้แก่ สอน/ดูแลเรื่องอาหาร, ให้ความรู้/ชี้แนะแนวทางห่างไกลยาเสพติด, ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดี, มีวุฒิภาวะทางอารมณ์, จัดเตรียมสิ่งที่ทำให้ลูกเจริญเติบโต, ทำกิจกรรมร่วมกัน/เป็นกำลังใจ และเป็นตัวอย่างที่ดีเอาใจใส่ความประพฤติ ด้านที่สองได้แก่ เอาใจใส่การเรียน, ทำกิจกรรมร่วมกัน/เป็นกำลังใจ, เป็นตัวอย่างที่ดี/เป็นกำลังใจ และสอน/กระตุ้นให้ลูกสนใจการเรียน ด้านที่สามได้แก่ สอน/สนับสนุนให้ทำกิจกรรม ด้านที่สี่ได้แก่ มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ และสนับสนุนให้ทำกิจกรรม ด้านที่ห้าได้แก่ สอน/เป็นกำลังใจ และสนับสนุนให้ทำกิจกรรม ด้านที่หกได้แก่ เป็นกำลังใจ และสอน/รับฟังความคิดเห็นของลูก และด้านสุดท้ายได้แก่ สอน/สนับสนุนให้ทำกิจกรรม และเป็นกำลังใจ 2. ตัวบ่งชี้สำหรับการพัฒนาเด็กวัยรุ่นตอนต้นที่ครูปฏิบัติ ด้านแรกได้แก่ จัดกิจกรรมห่างไกลยาเสพติด, จัดกิจกรรมออกกำลังกาย, สอน/เป็นตัวอย่างที่ดี, สอนเรื่องการรับประทานอาหาร, แนะนำหนทางหลีกเลี่ยงยาเสพติด, ให้ความสำคัญการปรุงอาหารในโรงเรียน, ตรวจปัสสาวะและติดต่อพ่อแม่/ผู้ปกครอง, ตรวจสุขภาพร่างกายนักเรียน, ให้ความสำคัญสุขภาพนักเรียน และการเรียนการสอนตามหลักสูตร ด้านที่สองได้แก่ การเรียนการสอนตามหลักสูตร, จัดกิจกรรมให้เห็นความสำคัญและสนใจเรียน, จัดกิจกรรมเสริมสร้างความรู้, ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดี และจัดกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ภายในและนอกโรงเรียน ด้านที่สามได้แก่ การเรียนการสอนตามหลักสูตร, ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดี และจัดกิจกรรมให้เห็นผลดี-ผลเสียของการมีและไม่มีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ ด้านที่สี่ได้แก่ จัดและสนับสนุนให้ทำกิจกรรม, การเรียนการสอนตามหลักสูตร, สอนให้นักเรียนควบคุมอารมณ์ และหลีกเลี่ยงการกระทำที่ทำให้นักเรียนอับอาย/จัดกิจกรรมให้รู้จักตัวเอง ด้านที่ห้าได้แก่ จัดกิจกรรมให้นักเรียนเข้าร่วม และปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดี ด้านที่หกได้แก่ จัดกิจกรรมให้นักเรียนปฏิบัติจริง และการเรียนการสอนตามหลักสูตร และด้านสุดท้ายได้แก่ สอน/สนับสนุนให้ทำกิจกรรม, การเรียนการสอนตามหลักสูตร และสอนให้นักเรียนหาสาเหตุและวิธีแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน 3. ความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการพัฒนาการของนักเรียนกับพ่อแม่/ผู้ปกครองและครู ทั้ง 7 ด้าน ไม่แตกต่างกันที่นัยสำคัญที่ระดับ .05 | |
dc.description.abstractalternative | The aims of this research were to construct the indicators that parents and teacher use to develop early adolescent and to compare perceptions between them. The samples were 400 Mattayom 1-3 students, 400 their parents and 180 their teachers. The survey by questionnaires which were developed by integrating of adolescent developmental concepts and agreement of parent, teacher by focus group in the form of Likert Scale were conducted. The results were analyzed by exploratory factor analysis, principal component extraction and oblique rotation method in seven components : health promotion, searching skills for knowledge and self-developmental promotion, moral and value development and moral and value promotion, mental health promotion, participating in communities activities promotion, promotional for good skills and attitude of legal career and natural resources and environmental conservation promotion. T-Test was applied to analyze the mean of perception of developmental behaviors between students and parents and teachers. The major results were: 1. The indicators that parents apply to develop early adolescent were as follow. The first components were teaching/taking care about foods, informing/giving guidance for avoiding drugs, being good models, having emotional maturity, preparing for adolescent growth, participating activities together/encouraging and taking care about adolescent behaviors. The second components were taking care about studying, participating activities together/encouraging, being good models/encouraging and teaching/motivating in studying. The third component was teaching/supporting of adolescent activities. The fourth components were having emotional maturity and supporting of adolescent activities. The fifth components were teaching/encouraging and supporting of adolescent activities. The sixth components were encouraging and teaching/listening to adolescent’s opinions. The last components were teaching/supporting of adolescent activities and encouraging. 2. The indicators that teachers apply to develop early adolescent were as follow. The first components were arrangement activities for avoiding drugs, arrangement exercise activities, teaching/being good models, teaching about eating, giving guidance for avoiding drugs, paying attention to cooking foods in school, urea testing and informing of result to parents, checking student health, paying attention to students health and teaching in according to the curriculum. The second components were teaching in according to the curriculum, arranging of activities that indicate importance of studying, arranging of extra activities, being good models and arranging of intra and extra school activities. The third components were teaching in according to the curriculum, being good models and arranging of activities that indicate the advantages and disadvantages of moral and values. The fourth components were arranging/supporting of students activities, teaching in according to the curriculum, teaching students how to control emotional and avoiding actions that cause students to lose face and arranging of activities that help students to know themselves. The fifth components were arranging of activities for students to participate and being good models. The sixth components were arranging of activities and teaching in according to the curriculum. The last components were teaching/supporting of students activities, teaching in according to the curriculum and teaching about school environmental problems and solutions. 3. Perceptions about developmental behaviors between students and parents and teachers in all seven components were not significance difference at the .05 level | |
dc.format.extent | 4643484 bytes | |
dc.format.extent | 2104024 bytes | |
dc.format.extent | 17890648 bytes | |
dc.format.extent | 4897523 bytes | |
dc.format.extent | 31793484 bytes | |
dc.format.extent | 13453844 bytes | |
dc.format.extent | 25443859 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การสร้างตัวบ่งชี้สำหรับการพัฒนาเด็กวัยรุ่นตอนต้น ในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร | en |
dc.title.alternative | A construction ofthe indicators for early adolescence development in Secondary School Under Department of General Education, Bangkok metropolis | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิจัยการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nattakarn_po_front.pdf | 4.53 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nattakarn_po_ch1.pdf | 2.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nattakarn_po_ch2.pdf | 17.47 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nattakarn_po_ch3.pdf | 4.78 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nattakarn_po_ch4.pdf | 31.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nattakarn_po_ch5.pdf | 13.14 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nattakarn_po_back.pdf | 24.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.