Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24125
Title: พิธีกรรมและโครงสร้างทางสังคมของลาวโซ่ง
Other Titles: Lao Song ritual and social structure
Authors: วาสนา อรุณกิจ
Advisors: อมรา พงศาพิชญ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: โซ่ง
โซ่ง -- ความเป็นอยู่และประเพณี
หมู่บ้านสระ (นครปฐม) -- ภาวะสังคม
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ ประการที่หนึ่ง เพื่อที่จะศึกษาพิธีกรรมและโครงสร้างทางสังคมของลาวโซ่งที่หมู่บ้าน บ้านสระ ตำบลสระพัฒนา อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โดยพิธีกรรมที่เลือกศึกษาในครั้งนี้ คือ พิธีเสนเรือน พิธีแต่งงาน พิธีศพ และพิธีบูชาศาลหมู่บ้าน ทั้งนี้เพราะพิธีกรรมเหล่านี้เป็นพิธีกรรมที่ปฏิบัติกันแพร่หลาย สอดคล้องกับความเชื่อดั้งเดิมและเป็นพิธีกรรมเด่นๆ ที่จะทำให้เห็นการกระทำทางสังคม ประการที่สอง เพื่อที่จะวิเคราะห์พิธีกรรมและโครงสร้างทางสังคมและความสัมพันธ์ระหว่างพิธีกรรมกับโครงสร้างทางสังคม โดยมีสมมุติฐานว่าพิธีกรรมตามความเชื่อดั้งเดิมของลาวโซ่งจะสะท้อนให้เห็นโครงสร้างทางสังคมของกลุ่ม สำหรับวิธีการวิจัยเป็นการศึกษาวิจัยเฉพาะกรณี หมู่บ้านสระ ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาวิจัยประกอบด้วยข้อมูลที่ได้จากเอกสาร ซึ่งส่วนมากเป็นเอกสารงานวิจัยและบทความที่เกี่ยวข้องกับลาวโซ่งของนักวิชาการต่างๆ และข้อมูลจากการวิจัยสนาม ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จาก 1) การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมโดยการเข้าไปอยู่ในหมู่บ้านและเข้าร่วมพิธีกรรมต่างๆ 2) การสัมภาษณ์จากแบบสอบถามในส่วนของการสำรวจครัวเรือน ลักษณะทางเศรษฐกิจ โครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจากหัวหน้าครัวเรือน จำนวน 140 คน 3) การสัมภาษณ์จากแบบสัมภาษณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับพิธีกรรมต่างๆ ผู้ที่อยู่ในข่ายถูกสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้ประกอบพิธีกรรมและผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้นำในหมู่บ้าน คนเฒ่าคนแก่ และบุคคลอื่นๆ 4) การพูดคุยแบบไม่เป็นทางการ การเก็บรวบรวมข้อมูลในสนามใช้เวลาตั้งแต่ วันที่ 20 มีนาคม – 30 ตุลาคม 2528 รวมระยะเวลา 7 เดือนเศษ สำหรับการวิเคราะห์ และแปลความข้อมูลนั้นใช้การตีความ โดยแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นพิธีกรรม และส่วนที่เป็นโครงสร้างทางสังคม ผลการวิจัยโดยสรุปพบว่า พิธีกรรมในสังคมลาวโซ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ พิธีกรรมตามแนวพุทธศาสนา และพิธีกรรมตามความเชื่อดั้งเดิมเกี่ยวกับการนับถือผีและการบูชาบรรพบุรุษ โดยลาวโซ่งให้ความสำคัญกับพิธีกรรมตามความเชื่อดั้งเดิมมาก พิธีกรรมที่เกี่ยวกับความเชื่อดั้งเดิมนั้นมีบางอย่างที่คล้ายกับวัฒนธรรมจีน เนื่องจากถิ่นเดิมของลาวโซ่งหรือไทคำนั้นอยู่ทางตอนเหนือของเวียดนามและอยู่ใกล้ตอนใต้ของจีนและได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมจีนในสมัยก่อน วิถีชีวิตของลาวโซ่งที่เห็นได้จากพิธีกรรมจะคล้ายคลึงกับวิถีชีวิตของคนไทยลาวทางภาคอีสานของไทย ลาวโซ่งปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อดั้งเดิมอย่างเคร่งครัดจนกลายเป็นประเพณีการปฏิบัติพิธีกรรมถือเป็นหน้าที่อย่างหนึ่งในอันที่จะอยู่ในสังคม และยังแสดงให้เห็นถึงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษ ความสามัคคี ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในหมู่คณะและในหมู่บ้าน สถานภาพและศักดิ์ศรีของวงศ์ตระกูล ตลอดจนเป็นการดำรงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีของกลุ่มชน การปฏิบัติพิธีกรรมต่างๆ ของลาวโซ่ง เป็นการยืนยันโครงสร้างทางสังคมที่มีอยู่ พิธีกรรมมีหน้าที่ในการสร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับสังคม และเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีของกลุ่มชน ตลอดจนเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงสถานภาพระหว่างบุคคลในสังคมที่ประกอบกันเป็นกลุ่มต่างๆ ในด้านโครงสร้างทางสังคมของลาวโซ่งนั้น หลักเกณฑ์ในการจัดระเบียบทางสังคมในระดับครอบครัวใช้ระบบเครือญาติเป็นเกณฑ์ โดยมีแนวความคิดเรื่องผีเดียวกันเป็นสัญลักษณ์ร่วมกัน การจัดลำดับเครือญาติมีแนวโน้มเป็นแบบฝ่ายเดียว โดยถือฝ่ายพ่อเป็นสำคัญและบิดา จะเป็นใหญ่ในครอบครัว ส่วนการจัดระเบียบทางสังคมในระดับชุมชนหมู่บ้านก็ขึ้นอยู่กับระบบเครือญาติ เช่นกัน โดยประกอบด้วยเครือญาติสายโลหิต และเครือญาติทางการแต่งงาน สังคมหมู่บ้านลาวโซ่งจึงประกอบด้วยครอบครัวหลายๆ ครอบครัวที่เกี่ยวข้องเป็นเครือญาติกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ชุมชนลาวโซ่งมีการจัดลำดับชั้นทางสังคม ตามลักษณะพื้นฐานทางวัฒนธรรมของสังคมไทดำ โดยใช้วงศ์ตระกูลเป็นเกณฑ์ในการแบ่งชนชั้น โดยแบ่งออกเป็น 2 ชนชั้น คือ ชนชั้นผู้ท้าวและชนชั้นผู้น้อย ชุมชนลาวโซ่งมีลักษณะเป็นชุทชนเปิด เนื่องจากหนุ่มสาวลาวโซ่งจากสองชั้นนี้ สามารถแต่งงานกันได้และไม่มีข้อห้ามเกี่ยวกับการแต่งงานกับบุคคลนอกกลุ่ม ยังผลให้สถานภาพของผู้หญิงเปลี่ยนแปลงขึ้นลงได้โดยยึดถือชนชั้นทางฝ่ายสามีเป็นหลัก นอกจากนี้ชุมชนลาวโซ่งยังได้อาศัยความเชื่อในการนับถือผีและสิ่งที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติ ในการควบคุมพฤติกรรมของบุคคลในชุมชน ทำให้บุคคลอยู่ในระเบียบวินัย มีศีลธรรม ซึ่งก่อให้เกิดความเป็นระเบียบในชุมชนหมู่บ้าน พิธีกรรมและโครงสร้างทางสังคมของลาวโซ่งมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน พิธีกรรมตามความเชื่อดั้งเดิม จะสะท้อนให้เห็นโครงสร้างทางสังคมของกลุ่มชนทั้งในระดับครอบครัวและระดับชุมชนหมู่บ้าน
Other Abstract: The purpose of this research is two folds. The first objective is to study Lao Song ritual and social structure at Ban Sra village in Sraphattana Subdistrict, Kampangsean District, Nakhon Pathom. Rituals covered in the study are ancestor worships, weddings, funeral rites and the rites paying homage to village spirits. The second objective is to analyze the rites, the group's structure, and relationship between such rites and the social structure. The hypothesis in this case is that Lao Song rites reflect the social structure of their community. This research is a case study, focussing only on Ban Sra village. Secondary data used to supplement the study are extracted from research papers and articles dealing with Lao Song. Primary data were collected during the researcher's stay in the village. Field techniques include. 1) participant observation of ritual activities ; 2) questionnaire enumeration of 140 randomly selected household heads covering economic conditions, social structure and culture ; 3) interviews from interview guides covering ritual activities where interviewees consisted of persons who performed the rites, village leaders, and elders ; and 4) informal talks. Collection of data in the field was carried out from 20th March to 30th October 1985, or over a period of some 7 months. Data analysis were divided into 2 sections ritual and social structure. This research shows that ritual of Lao Song people can be divided into 2 categories : Buddhist and animist cum ancestor worship (spirits of the deaths or phi), Lao Song people attach greater importance to the latter category of rite than the former one. In several respects, the rites related to ancestor worship are similar to the Chinese practice since Lao Song people were under the power of the Chinese in the ancient past when Lao Song or Black Tai lived in South China and or Worth Vietnam. However, Lao Song people still follow practice of Thai -Lao as seen in most other Northeast ' communities in Thailand. The performance of rites has developed into a social duty in the community and became customary practice rainforcing unity and group identity. These ritual functions confirm the existing social structure of Lao Song group.The rites serve to promote social stability and are the symbols indicating the status of individuals in their group. With respect to social structure of Lao Song, the family organization represents patrilineal kinship system which is symbolized by the belief in the same phi. The village ties consist of both consanguine and affine relatives. Social stratification among Lao Song includes two classes, namely, phu-tao and phu-noi which are not divided very rigidly in the sence that intermarriage between these two classes are allowed and there is no taboo' against marriage with outsiders. This results in the changes of the status of women according to their husbands’ status. In addition, the beliefs in spirits of the deaths or phi and in supernatural power of phi function as social mechanism ensuring proper discipline and moral behavior among community members. The interrelationship between ritual functions and social structure of Lao Song community is reflected in the parallel pattern of ritual stratification between phu - tao and phu - noi and the social structure of Lao Song people at the family and village levels.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24125
ISBN: 9745663182
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vasana_Ar_front.pdf475.96 kBAdobe PDFView/Open
vasana_ar_ch1.pdf793.01 kBAdobe PDFView/Open
vasana_ar_ch2.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open
vasana_ar_ch3.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open
vasana_ar_ch4.pdf824.96 kBAdobe PDFView/Open
vasana_ar_ch5.pdf825.66 kBAdobe PDFView/Open
vasana_ar_ch6.pdf468.58 kBAdobe PDFView/Open
vasana_ar_back.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.