Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24159
Title: โครงการและงานออกแบบอาคารสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Other Titles: Khon Kaen University Instructional Resource Center Building
Authors: วาณี เกตกินทะ
Advisors: วิมลสิทธ์ หรยางกูร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โครงการจัดตั้งสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีวัตถุประสงค์ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการเรียน การสอน และการวิจัยของนักศึกษาและคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยขยายการบริการฝ่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัย และเพิ่มบริการฝ่ายโสตทัศนศึกษา ฝ่ายผลิตเอกสารและศูนย์หนังสือให้อยู่ในแหล่งเดียวกัน วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์นี้ ก็เพื่อทำการวิจัยหาทฤษฎีแนวความคิด หาข้อมูลในการกำหนดที่ตั้ง และในการกำหนดสภาพแวดล้อมกายภาพภายนอกและภายในอาคารสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ และทำการออกแบบอาคาร สำนักวิทยบริการ ตลอดจนการกำหนดขั้นตอนการก่อสร้างที่เหมาะสมของอาคาร ผลของการศึกษาวิจัยของงานวิทยานิพนธ์นี้ ประกอบด้วย ก. แนวความคิดในการกำหนดที่ตั้งอาคารสำนักวิทยบริการได้ทำการศึกษาด้านโปรแกรมการศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งมีระบบการเรียนการสอนแบบเรียนรวม โดยนักศึกษาจะต้องเรียนวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ในอาคารของคณะวิทยาศาสตร์ และอาคารคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ซึ่งเป็นกลุ่มของอาคารอยู่บริเวณศูนย์กลางของเขตการศึกษา ซึ่งมีระยะเวลาในการเดินตามแกนนอนจากริมเขตการศึกษาถึงศูนย์กลางวิทยาเขตนี้ประมาณ 5 นาที ศึกษาด้านนโยบายของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่กำหนดให้นักศึกษาพักอยู่ในหอพักของมหาวิทยาลัยมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนรายหัวนักศึกษา การกำหนดที่ตั้งอาคารสำนักวิทยบริการจึงควรคำนึงถึงระยะเวลาการเดินทางตามแกนนอนจากหอพักมายังอาคารสำนักวิทยบริการได้ในเวลา 8 - 10 นาที และคำนึงถึงความปลอดภัยในการเดินทางในวันหยุดและในเวลากลางคืนด้วย นอกจากนี้การศึกษานโยบายของมหาวิทยาลัยในการกำหนดให้ห้องสมุดกลางเป็นศูนย์กลางการค้นคว้าวิจัยเพียงแห่งเดียว ห้องสมุดคณะเป็นเพียงที่อ่านหนังสือของนักศึกษาเท่านั้น และมีนโยบายในการจำกัดการขยายตัวของห้องสมุดคณะ จึงทำให้สมมุติฐานในการกำหนดที่ตั้งของอาคารสำนักวิทยบริการควรตั้งอยู่บริเวณศูนย์กลางของเขตการศึกษา ข. ศึกษาทฤษฎีและแนวความคิดในการกำหนดสภาพแวดล้อมกายภาพภายนอกและภายในของอาคารสำนักวิทยบริการจากหนังสือ เอกสารงานวิจัย สัมภาษณ์และศึกษาจากตัวอย่างอาคารที่มีลักษณะการใช้งานประเภทเดียวกันกับอาคารสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่นทำให้สามารถกำหนดแนวความคิดได้ว่า อาคารสำนักวิทย-บริการควรมีบริการต่างๆ ในด้านห้องสมุดอย่างครบถ้วน และมีการออกแบบสภาพแวดล้อมกายภาพและเทคนิควิทยาอาคารที่เหมาะสม เพื่อดึงดูดให้มีผู้มาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น โดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ทางด้านการติดต่อใช้สอยขององค์ประกอบส่วนใช้สอยต่างๆ ในการจัดสภาพแวดล้อมกายภาพภายในอาคาร ได้คำนึงถึงพฤติกรรมของผู้ใช้อาคารในด้านความสะดวกในการสัญจรและความเป็นส่วนตัวของผู้อ่านเป็นสำคัญในด้านการประหยัดพลังงานได้กำหนดให้ผู้ใช้อาคารใช้ทางสัญจรในแนวดิ่งโดยใช้บันไดแทนลิฟท์ และให้ผู้ใช้บริการขึ้นลงเพียง 3 ชั้น แนวความคิดในการกำหนดรูปร่างของอาคารคำนึงถึงการป้องกันแสงแดดและความร้อนเข้าสู่อาคาร พิจารณาใช้การระบายอากาศตามธรรมชาติ เป็นการประหยัดพลังงานในด้านปรับอากาศในบางส่วนของอาคาร แนวความคิดในการออกแบบการป้องกันการสูญหายของหนังสือ ได้ใช้ระบบควบคุมทางเข้า-ออก ห้องอ่านเพียงทางเดียว เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการได้ทำการออกแบบอาคารเป็น 3 ส่วน พื้นที่อาคารตรงกลางเป็นส่วนติดต่อสัญจรและบริการกลาง พื้นที่ของอาคารส่วนที่เป็นปีก 2 ข้างด้านทิศตะวันออกและตะวันตกเป็นพื้นที่ของห้องสมุดกลาง ประกอบด้วยส่วนที่นั่งอ่านประมาณ 3,000 ที่นั่ง พื้นที่เก็บหนังสือประมาณ 550,000 เล่ม พื้นที่ของฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา ฝ่ายผลิตเอกสารและศูนย์หนังสือ และฝ่ายอำนวยการสำนัก มีพื้นที่รวมทั้งสิ้นประมาณ 21,950 ตารางเมตรติดเป็นค่าก่อสร้างอาคารทั้งสิ้นประมาณ 100 ล้านบาท ค. การกำหนดขั้นตอนของการก่อสร้าง ได้ศึกษาความเป็นไปได้ของการขยายตัวของโปรแกรมการศึกษา ตามแผนพัฒนาทางการศึกษาทั้งสิ้น 15,000 คน ภายใน 20 ปี และศึกษางบประมาณของมหาวิทยาลัยขอนแก่นควบคู่กันไป ขั้นตอนของการก่อสร้างอาคารแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน สำหรับคน 7,500 คน ในขั้นแรก พื้นที่เก็บหนังสือประมาณ 300,000 เล่ม งานวิทยานิพนธ์นี้จะมีประโยชน์โดยตรงต่อการจัดทำโครงการและงานออกแบบอาคารสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่นที่จัดสร้างขึ้น เพื่อให้เป็นอาคารมีองค์ประกอบส่วนใช้สอยต่างๆ ที่สนองประโยชน์ใช้สอยอย่างแท้จริง อันเป็นการลดความสูญเปล่าของงบประมาณแผ่นดินอีกทางหนึ่ง
Other Abstract: The development trend of Khon Kaen University education is to increase educational efficiency and research activities of both the students and the faculty members. To fullfill the objective, an Instructional Resource Center is proposed. The center is planned to be the Central Library, the service center of Audio-visual facilities, as well as the Document-producing department and the Book Center.The objectives of this study are to set up criteria and concepts for location selection and for the design and development of the Instruc¬tional Resource Center. Following the feasibility study and the programming of the project is the transformation of the program: into physical : design solution together with phasing of development. This study includes the following findings: a. In reviewing the university educational system and program, the criteria for selecting the building site are defined. - All students of different departments are subjected to take the basic subjects in Physical Sciences, Social Scineces and Humanity. The classes are held in certain buildings of each departments. These buildings are packed in the center of the academic area. Therefore, the most likely location of the Instructional Resource Center should be in- such core area. The size of the academic area is limited by a six minute walking distance from its center. The location is also determined by a walking distance of 8-10 minutes from the student dormitories. The consideration follows the policy that a half of student body resides in the university dormitories. Besides, the designation of the university central library as a university research center also limits department library expansion. The department libraries are mainly used as reading spaces. Therefore, the best location of the Instructional Resource Center building is at the center of the academic area. b.Literature survey, research and a number of case studies of similar buildings were made to establish criteria and concepts for designing the building. It has been concluded that functional objectives achieved through physical and technical design is an important factor . in attracting potential users. The flow of circulation and the. need of privacy of each reader were considered to be important in design. To maintain the energy conservation policy, an elevator is substituted by stair-cases for vertical circulation ’covering three floors. Heat protection was also seriously taken into account in the design. The natural ventilation is employed in the building so that it needs only partial air-conditioning. To increase the security of books, each reading section has only one entrance. In the final design, the building reveals 3 main parts. The central part of the building holds the circulation and service systems. The other two wings in the East and the West are the main space of the university library, the Audio Visual aids Center, the Document. Producing Center, the Book center and the Administration office. The library can "provide 3,000’seats with stacks storing 550,000 books. The building has 21,950 square meters and costs totally about 100 million bahts. The phasing of development followed the review of the feasibility study of the university master plan. This was done in accordance with the university fiscal budget. Two phases of development were proposed for the full growth of 15,000 students in the next 20 years. The first phase can serve a half of the student body. It is expected that this study could be the basis for estab¬lishing the program and the design of the Instructional Resource Center building. As such, it should fullfill the functional objective of the center as well as the economic goal-in budget utilization.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24159
ISBN: 9745612358
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wanee_ka_front.pdf566.93 kBAdobe PDFView/Open
wanee_ka_ch1.pdf501.73 kBAdobe PDFView/Open
wanee_ka_ch2.pdf4.18 MBAdobe PDFView/Open
wanee_ka_ch3.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open
wanee_ka_ch4.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Wanee_Ka_ch5.pdf387.93 kBAdobe PDFView/Open
wanee_ka_back.pdf664.1 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.