Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24196
Title: การศึกษาแบบมอนติคาร์โล : การเปรียบเทียบอำนาจการทดสอบของที-เทส และดอลมอโกรอฟ สเมอร์นอฟ เทส แบบสองกลุ่ม ภายใต้ลักษณะการแจกแจงของประชากร 3 แบบ
Other Titles: Monte Carlo study : a comparison of the power of t-test and Kolmogorov-Smironov two-sample test under three different types of parent distribution
Authors: วาสนา ทองการุณ
Advisors: ดิเรก ศรีสุโข
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อเปรียบเทียบอำนาจของการทดสอบของที-เทส และคอลมอโกรอฟ สเมอร์นอฟ เทส เมื่อความแปรปรวนของประชากรเท่ากันและ ลักษณะการแจกแจงของประชากรเป็นแบบปกติ แบบยูนิฟอร์ม และแบบเบ้ การศึกษา ครั้งนี้ใช้วิธีทดลองด้วยเทคนิคมอนติคาร์โลซิมูเลชั่น โดยจำลองการทดลองด้วยคอมพิวเตอร์ในการคำนวณหาอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 และค่าอำนาจของการทดสอบของที-เทสกับคอลมอโกรอฟ สเมอร์นอฟ เทส โดยศึกษากลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ซึ่งมีขนาด เท่ากันโดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 5, 10 และ 15 และขนาดไม่เท่ากัน โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ (5,6), (6,9) และ (8,16) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้คือ การทดสอบที (t-test) มีอำนาจของการทดสอบสูงกว่าการทดสอบ คอลมอโกรอฟ สมอร์นอฟ (Kolmogorov Smirnov Test)ไม่วาจะกำหนด อัตราความคลาดเคลื่อนที่ระดับ .05 หรือ .01 และการทดสอบทียังสามารถควบคุม ความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ได้มากกว่าการทดสอบคอลมอโกรอฟ สเมอร์นอฟ และคงทนต่อการฝ่าฝืนข้อตกลงเบื้องต้นในด้านการแจกแจงของประชากรมากกว่าการทดสอบคอลมอโกรอฟ สเมอร์นอฟ ในขณะที่การแจกแจงของประชากรมีลักษณะแบบเบ้ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าการทดสอบทีมีความแกร่งต่อการฝ่าฝืนข้อตกลงเบื้องต้นด้านการแจกแจงของประชากร ข้อเสนอแนะ ข้อมูลที่มีกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็กและขนาดกลางทั้งขนาดกลุ่มตัวอย่างเท่ากันและไม่เท่ากัน เมื่อมีการฝ่าฝืนข้อตกลงเบื้องต้นของลักษณะการแจกแจงของประชากรที่ต่างไปจากปกติ ควรใช้การทดสอบทีทดสอบ
Other Abstract: The purpose of this study was to compare the power of t-test and Kolmogorov-Smirnov Test. The comparisons were made under the equal population variances and different forms of distribution ะ the normal, the uniform and the skewness. This study was conducted with two groups of equal-size samples : 5, 10 and 15, and two groups of unequal-size samples : (5,6), (6,9) and (8,16), by means of Monte Carlo Simulation Technique. A computer was programmed to calculate type I error, and power of t-test and Kolmogorov-Smirnov Test. The findings could be summarized as follows : The t-test had higher power than the Kolmogorov- Smirnov Test no matter the error rate was either at 0.05 or 0.01. The t-test could control type I error rate and robust basic assumptions much better than the Kolmogorov-Smirnov Test. Although, population distribution was skew. Suggestion : When the data are small sample size or moderate sample size, and two groups of equal-size or unequal-size. Although it is violate the assumption in symmetry population distribution, t-test should be used.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24196
ISBN: 9745637807
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wasana_th_front.pdf936.26 kBAdobe PDFView/Open
wasana_th_ch1.pdf630.69 kBAdobe PDFView/Open
wasana_th_ch2.pdf508.69 kBAdobe PDFView/Open
wasana_th_ch3.pdf837.59 kBAdobe PDFView/Open
wasana_th_ch4.pdf9.75 MBAdobe PDFView/Open
Wasana_Th_ch5.pdf535.55 kBAdobe PDFView/Open
wasana_th_back.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.