Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2420
Title: | การเปลี่ยนแปลงของอินฟราเรดสเปกตรัมที่สัมพันธ์กับหมู่ฟอสโฟไดเอสเทอร์ ของกรดนิวคลีอิกในเซลล์ปากมดลูก ก่อนและหลังการรักษามะเร็งปากมดลูกด้วยรังสีรักษา |
Other Titles: | Changes of infrared spectrum associated to phosphodiester groups of nucleic acid in exfoliated cervical cells before and after radiation therapy of carcinoma of cervix |
Authors: | อุษณีย์ สุวิมลธีระบุตร, 2512- |
Advisors: | พิเชฐ สัมปทานุกุล วราภรณ์ ลีพิพัฒน์ไพบูลย์ สนอง เอกสิทธิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Varaporn.L@Chula.ac.th Sanong.E@Chula.ac.th |
Subjects: | ปากมดลูก--มะเร็ง รังสีวิทยา |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เทคนิคอินฟราเรดสเปกโทรสโคปี (FT-IR spectroscopy) เป็นเทคนิคที่ใช้ศึกษาโครงสร้างของสารประกอบอินทรีย์ โดยบอกถึงหมู่ฟังก์ชั่นต่างๆ ที่ปรากฏออกมาที่เลขคลื่นต่างกัน ในรูปแบบของอินฟราเรดสเปกตรัม การศึกษาครั้งนี้เป็นแบบ descriptive study โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของอินฟราเรดสเปกตรัมที่สัมพันธ์กับหมู่ฟอสโฟไดเอสเทอร์ของกรดนิวคลีอิกของเซลล์หลังการรักษาด้วยรังสี ระยะเวลา 2 เดือน ในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก โดยเปรียบเทียบกับเซลล์ก่อนการรักษา และเซลล์ปากมดลูกปกติ จากผู้ป่วย และผู้เข้ามารับการตรวจที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติ จำนวน 30 ราย ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2543 ถึง ตุลาคม 2544 และคำนวณค่าความแตกต่าง โดยใช้ Pair t-test ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ค่าการเปลี่ยนแปลงของอินฟราเรดสเปกตรัมที่สัมพันธ์กับหมู่ฟอสโฟไดเอสเทอร์ของกรดนิวคลีอิกของเซลล์ก่อน และหลังการรักษาด้วยรังสี ไม่แสดงความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.075) และเลขคลื่นของหมู่ฟอสโฟไดเอสเทอร์ของกรดนิวคลีอิกในเซลล์ปกติ พบที่ 1080 cm-1 ในขณะที่เซลล์ก่อนและหลังการรักษาด้วยรังสี พบมีการเคลื่อนของตำแหน่งการดูดกลืนของพีคไปที่ตำแหน่งเลขคลื่นสูงขึ้น หรือต่ำลง ในผู้ป่วยแต่ละราย อยู่ในช่วงคลื่น 1078-1084 cm-1 การศึกษานี้สรุปได้ว่า อินฟราเรดสเปกตรัมที่สัมพันธ์กับหมู่ฟอสโฟไดเอสเทอร์ของกรดนิวคลีอิก ไม่แสดงความแตกต่างกัน ในเซลล์ก่อนและหลังการรักษาด้วยรังสี อย่างมีนัยสำคัญ ฉะนั้นการประยุกต์ใช้เทคนิค FT-IR spectroscopy ในการศึกษาเซลล์หลังการรักษาด้วยรังสี จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป |
Other Abstract: | FT-IR spectroscopy is a technique for probing molecular structure of organic compounds. It can discriminate functional groups by displaying peaks at wavenumber directly related to chemical structure. In this descriptive study, changes of infrared spectrum associated to phosphodiester groups of nucleic acid in exfoliated cervical cells after radiation therapy of carcinoma of cervix for 2 months were compared with exfoliated cervical cells before radiation therapy and with normal cervical cells. The samples were taken from 30 patients in National Cancer Institute during November 2000 to October 2001. Their differences were evaluated by Pair t-test. The results, indicate no differentiated between infrared spectrum associated to phosphodiester groups of nucleic acid in cervical cell before and after radiation therapy: However, the differences were statistically insignificant (p = 0.075). Moreover, the wavenumber of phosphodiester groups of nucleic acid was found at 1080 cm-1 in all normal cervical cell contrasting a range of wavenumber that both before and after radiation samples were found shifted to a lower or higher wavenumber (between 1078-1084 cm-1) in cervical cell before and after radiation therapy. In conclusion, infrared spectrum associated to phosphodiester group of nucleic acid could not differentiate in cervical cell before and after radiation. The potential practical application of FT-IR spectroscopy in cervical cell after radiation therapy must be further evaluated. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์การแพทย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2420 |
ISBN: | 9740308821 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Usanee.pdf | 1.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.