Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/243
Title: | ผลของการใช้แนวคิดการทำงานแบบร่วมมือ ในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบโรงเรียน |
Other Titles: | The effect of the application of the collaborative approach in conducting non-formal education programmes |
Authors: | ยิ่ง กีรติบูรณะ |
Advisors: | รัตนา พุ่มไพศาล กมล สุดประเสริฐ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Ratana.P@chula.ac.th |
Subjects: | การศึกษานอกระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน--การบริหาร การจัดการ--การมีส่วนร่วมของลูกจ้าง |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เสาะหาระบบการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม เพื่อก่อให้เกิดผลความร่วมมือเพื่อให้ข้อมูลเชิงวิชาการ ในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการการศึกษานอกโรงเรียน ของกรมการศึกษานอกโรงเรียน มีการพัฒนาคุณภาพ สร้างความสมดุลระหว่างระบบการดำเนินงานกับการมีส่วนร่วม โดยใช้เทคนิคเดลฟายในการหารูปแบบเพื่อใช้รูปแบบในการวิจัยภาคสนาม เป็นระยะเวลา 3 เดือนติดต่อกัน และนำผลการวิจัยจากการปฏิบัติจริงภาคสนามมาอภิปราย เพื่อปรับปรุงรูปแบบให้สามารถนำไปประยุกต์ได้ในสถานการณ์จริง ของการจัดการศึกษาของหน่วยงานการศึกษานอกโรงเรียนระดับจังหวัดและอำเภอ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด และศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ 5 จังหวัดและ 5 อำเภอ จากประชากรศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดในเขตภาคกลางซึ่งมี 17 จังหวัด โดยการสุ่มอย่างง่าย และเลือกศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอในจังหวัดตัวอย่าง จังหวัดละ 1 อำเภอ โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย บุคลากรในจังหวัดและอำเภอตัวอย่างที่ได้รับเกียรติ ให้ร่วมงานวิจัยครั้งนี้ได้ใช้ขนาดตัวอย่างบุคลากรในจังหวัด และอำเภอตัวอย่างที่ประสงค์จะร่วมการทดลองปฏิบัติจริงภาคสนามจำนวน 116 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยนี้คือ แบบสอบถาม แบบวัดผลความร่วมมือ และการสัมมนาแบบเจาะลึก (Indept Seminar) วิเคราะห์และประมวลผล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS10.0.1 สถิติที่ใช้คือการแจกแจงความถี่ฐานนิยม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t-paired เพื่อให้ผลงานวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ได้ตรงตามความต้องการ ของประชากรของหน่วยงานการศึกษานอกโรงเรียน สังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน งานวิจัยครั้งนี้ได้สำรวจความต้องการการมีระบบการดำเนินงาน แบบมีส่วนร่วมจากประชากร ซึ่งเป็นบุคลากรในหน่วยงานการศึกษานอกโรงเรียน ระดับจังหวัดและอำเภอทั่วประเทศรวม 76 จังหวัด และ 816 อำเภอ กับทั้งได้สำรวจสภาพระบบการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม ที่มีอยู่จริงในปัจจุบันพบว่า ประชากรส่วนใหญ่และเกือบทุกคนมีความต้องการระบบการดำเนินงาน แบบมีส่วนร่วมสูงกว่าระบบการดำเนินงานที่เป็นอยู่จริงในปัจจุบันมาก จากผลการเสาะหารูปแบบระบบการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม โดยให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 26 คน ร่วมพิจารณาตามเทคนิคเดลฟาย 2 รอบ โดยอาศัยแนวคิดระบบการดำเนินงานของเดมมิ่งผสมผสาน กับแนวคิดความร่วมมือของ Cohen และ Unhoff พบว่าส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่ารูปแบบผสมผสานแนวคิดความร่วมมือของ Deming และ แนวคิดของ Coohen และ Unhoff เป็นรูปแบบที่สามารถนำไปประยุกต์ในการจัดให้บริการการศึกษานอกโรงเรียนในหน่วยงานระดับจังหวัดและอำเภอได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นรูปบบระบบการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมเพื่อก่อให้เกิดผลความร่วมมือ ที่เสนอให้นำไปทดลองปฏิบัติจริงภาคสนาม จากผลการทดลองปฏิบัติจริงภาคสนามในจังหวัดอำเภอตัวอย่าง พบว่า ผลของความร่วมมือที่เกิดจากการนำรูปแบบระบบการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม เพื่อก่อให้เกิดผลความร่วมมือก่อนและหลังการทดลองเกือบทุกด้าน และเกือบทุกกิจกรรม ไม่มีความแตกต่างกัน คงมีกิจกรรม 2 กิจกรรมจาก 61 กิจกรรมเท่านั้น ที่แตกต่างกันและยังพบว่ามีกิจกรรมหลายกิจกรรมที่หลังการทดลองแล้งเกิดผลของความร่วมมือลดลง ด้วยผลการทดลองเป็นเช่นดังกล่าวข้างต้น กลุ่มเป้าหมาย (Focus Group) ได้เสนอผลสรุปการอภิปรายว่าควรมีการใช้กระบวนการกลุ่ม คณะทำงาน การประชุมเพื่อปรึกษาหารือการนิเทศ การสร้างบรรยากาศในการทำงานแบบร่วมมือด้วยการสร้างระบบสารสนเทศ การสนับสนุนทรัพยากรและการให้มีส่วนร่วมในผลประโยชน์และใช้ยุทธศาสตร์การทำงานเชิงรุกมากกว่าตั้งรับ ยุทธศาสตร์การสร้างประสบการณ์หลากหลายให้บุคลากรและการพัฒนาองค์ความรู้ อนึ่งการเกิดผลความร่วมมือเกิดได้ทั้งในด้านบวกและด้านลย การคำนึงถึงสถานการณ์ ความมากน้อยของการใช้วิธีการการร่วมมือในการตัดสินใจ ปัจจัยเหล่านี้หากใช้ร่วมกับระบบการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมเพื่อก่อให้เกิดผลความร่วมมือ จักก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริการกระบวนการเรียนการสอนให้มีคุณภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดบรรลุจุดหมายปลายทางที่พึงประสงค์ต่อไป |
Other Abstract: | To investigate the model of the participatory management system to create the collaborative organization and to be the academic baseline information for increasing the efficiency of the non-formal education services of the Department of Non-Formal Education and educational quality development, as well as to build-up the balanced system of management and participation. The study was conducted by using the Delphi Technique to modify the suitable model through the three months field-study and group discussion. The group discussion' opinions was taken into consideration for model modification which enabled to apply the model for the real situation of the educational operations of the province and district organizations. The 5 province and one district samples were selected from 17 provinces and 5 districts population in the Central Region at simple random sampling. The 116 sample units that need to cooperate in this experiment were selected. The instruments used in this study were questionnaire, collaborative test as well as in-depth-group discussion of 26 specialists. The quantitative data were analyzed by using SPSS 10.0.1 for frequency distribution, mode, mean, standard deviation and t-paired test statistic while a qualitative content analysis was employed upon the in-depth discussion information. For enabling application of this research results toward the needs of the Non-Formal Education Organization under jurisdiction of the Department of Non-Formal Education. The survey needs assessment in participatory system management of the population personnel in 76 provinces of all over the country attached with the real situation of the working system. The findings of the study revealed that nearly all personnel preferred the participatory system management to the present system model. The results of the specialist group discussion showed that the model of participatory management system for collaborative operation was congruent with the Deming's concept in system of management and combined with Cohen and Unhoff's concept of participation. It was also noted that this model might be used in the province and district non-formal education centres for providing the efficiency services and collaborative organization. Furthermore, the focus group suggested that the model should add up the grup process technique in group working, the group meeting, supervision, the atmosphere for participation contribution through the establishment of information technology, the sharing of benefits and resource support as well as active strategies were needed. The strategies of creating multi-experiences for personnel and knowledge development were important too. In addition, in creating the positive and negative collaborative organization, we should take many factors into consideration namely: conditions, the minimum and maximum of using the collaborative methods for decisions making. If these factors were used with the model of participatory management system, it would increase the efficiency and quality of the instructional process and fulfill the maximization benefit and the satisfied objectives |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การศึกษานอกระบบโรงเรียน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/243 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.546 |
ISBN: | 9740307264 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2001.546 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.