Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24319
Title: ผลการสอนศิลปะโดยใช้กระบวนการสังเกตที่มีต่อการรับรู้เชิงสุนทรีย์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Other Titles: Effects of teaching art by using observation process on aesthetic perceptin of prathom suksa six students
Authors: ธัญญรัตน์ อัศวนนท์
Advisors: อำไพ ตีรณสาร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการสอนศิลปะโดยใช้กระบวนการสังเกตที่มีต่อการรับรู้เชิงสุนทรีย์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 36 คน ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย 1) ภาพผลงานศิลปะคัดสรร 2) แผนการสอนศิลปะจำนวน 8 แผนโดยใช้กระบวนการสังเกต ซึ่งประกอบด้วย กิจกรรม 1.การสังเกตและสนทนา และ 2. ศิลปะปฏิบัติ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมการรับรู้ 4) แบบทดสอบการรับรู้เชิงสุนทรีย์ สำหรับใช้ในการวิจัยครั้งนี้ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังจากการเรียนศิลปะโดยใช้กระบวนการสังเกต นักเรียนมีคะแนนจากแบบทดสอบการรับรู้เชิงสุนทรีย์สูงกว่าก่อนการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 นอกจากนั้น ผลการวิจัยจากแบบสังเกตพฤติกรรมการรับรู้ พบว่า ค่าความถี่ที่สูงที่สุดในการแสดงพฤติกรรมการรับรู้ คือ พฤติกรรมการรับรู้ด้านความรู้สึกในผลงานศิลปะ รองลงมาคือ พฤติกรรมการรับรู้ด้านส่วนประกอบทางประสาทสัมผัส ด้านเทคนิค และด้านโครงสร้าง มีค่าความถี่รองลงมาตามลำดับ
Other Abstract: The purpose of this experimental research was to study the effect of teaching art by observation process on aesthetic perception of Prathom Suksa six students. The sample of the population were 36 Prathom Suksa six students from Chulalongkorn University demonstration school. These students were selected by simple random sampling. The research instruments constructed by the researcher included : 1) Selected art works, 2) Eight lesson plans for teaching art by observation process consisted of 2 phases 1. Observation and dialog and 2. Art practice, 3) Perception behavior observation form, and 4) Aesthetic perception test for this study. The data were analyzed by means of frequency, percentage and t-test. The result of this research indicated that the aesthetic perception scores after learning art by observations process were higher than before learning at 0.05 level of significance. In addition, from perception behavior observation form, it was found that the frequencies of perception behaviors in each aspect were as follow. The highest frequencies of perception behaviors was in the aspect of expressive properties. In the sensory properties aspect, technical properties aspect and formal properties aspect showed lower frequencies respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24319
ISBN: 9741730845
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thanyarat_as_front.pdf2.44 MBAdobe PDFView/Open
Thanyarat_as_ch1.pdf2.67 MBAdobe PDFView/Open
Thanyarat_as_ch2.pdf24.02 MBAdobe PDFView/Open
Thanyarat_as_ch3.pdf3.66 MBAdobe PDFView/Open
Thanyarat_as_ch4.pdf2.69 MBAdobe PDFView/Open
Thanyarat_as_ch5.pdf5.87 MBAdobe PDFView/Open
Thanyarat_as_back.pdf28.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.