Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24377
Title: ผลของแผ่นดินไหวต่อโครงสร้างอาคารในบริเวณกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Effects of earthquakes on building frames in Bangkok Metropolitan area
Authors: วิชัย กาญจนการุณ
Advisors: ปณิธา สักคุณะประสิทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: อาคาร -- ผลกระทบจากแผ่นดินไหว -- ไทย -- กรุงเทพฯ
แผ่นดินไหว -- ไทย
การออกแบบโครงสร้าง -- โปรแกรมคอมพิวเตอร์
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาผลของแผ่นดินไหวต่อโครงสร้างอาคารในบริเวณกรุงเทพมหานคร โดยได้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จ SIMQKE ทำการสร้างคลื่นความเร่งจำลองของแผ่นดินไหว ที่น่าจะเป็นจากข้อมูลสถิติแผ่นดินไหวในอดีตรวมทั้งพิจารณาการแผ่กระจายของคลื่นผ่านชั้นดินอ่อนในบริเวณกรุงเทพฯ คลื่นความเร่งจำลองที่ได้นี้นำไปใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างทางพลศาสตร์ แบบโครงสร้างที่ใช้ทำการวิเคราะห์เป็นโครงข้อแข็งสูง 4, 10 และ 20 ชั้น ซึ่งมี คาบธรรมชาติของอาคารอยู่ระหว่าง 0.4 -1.6 วินาที สำหรับโครงข้อแข็ง 20 ชั้นได้ พิจารณากรณีของโครงสร้างค่อนข้างอ่อนและโครงสร้างที่มีสติฟเนสมากกว่าปกติเล็กน้อย โครงข้อแข็งแต่ละโครงได้ทำการวิเคราะห์ภายใต้การกระทำของน้ำหนักบรรทุก แรงลมตามข้อบัญญัติ กรุงเทพมหานคร แรงแผ่นดินไหวตามข้อกำหนด ยู.บี.ซี. เขต 1 และการสั่นสะเทือนภายใต้คลื่นความเร่งจำลองของแผ่นดินไหว จากการศึกษาพบว่าสำหรับคาบครบรอบ 50 ปี ขนาดแผ่นดินไหวขนาดรุนแรงที่สุดที่มีความเป็นไปได้นั้นมีขนาด 5.9 ริคเตอร์ ภายใต้สมมุติฐานว่าจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากบริเวณกรุงเทพฯ 150 กิโลเมตร และโดยการใช้ทฤษฎีการแผ่กระจายของคลื่นแผ่นดินไหวผ่านชั้นดินของ Kanai ได้ความเร่งสูงสูดที่พื้นผิวดิน 0.021 g จากการวิเคราะห์โครงสร้างภายใต้สภาวะต่าง ๆ พบว่าสำหรับอาคารที่สูงไม่มาก(ไม่เกินประมาณ 40 เมตร) แรงแผ่นดินไหวตามข้อกำหนด ยู.บี.ซี. เขต 1 ทำให้เกิดแรงภายในชิ้นส่วนมากกว่าผลจากแรงแผ่นดินไหวจำลอง (ที่มีโอกาสน่าจะเป็นจริง) กว่า 30% และ มากกว่าผลจากแรงลมประมาณ 10 -30% เมื่อโครงข้อแข็งมีความสูงมากขึ้น (ไม่เกิน 70 เมตร ซึ่งพิจารณาในการศึกษานี้) ผลของแรงลมและแรงแผ่นดินไหวตามข้อกำหนด ยู.บี.ซี. มีค่าใกล้เคียงกันโดยทั่วไป แต่ในชั้นบน ๆ ค่าโมเมนต์ในเสาและในคานจากแรงแผ่นดินไหวตาม ยู.บี.ซี.จะมีค่ามากกว่าประมาณ 15-20% สำหรับการสั่นสะเทือนภายใต้คลื่นแผ่นดินไหวจำลอง โครงข้อแข็งที่มีสติฟเนสมากจะเกิดแรงภายในชิ้นส่วนโดยทั่ว ๆไป น้อยกว่าผลจากแรงลมในอันดับของ 10% แต่โครงข้อแข็งที่อ่อน แรงภายในที่เกิดขึ้นจะลดลงมาก
Other Abstract: This Thesis presents a study of the effects of earthquakes on building frames in Bangkok area. The computer program SIMQKE was used to simulate earthquakes based on past statistical data, in nearby area. Propagation of seismic wave through soft soil layers underlying Bangkok and the vicinity was considered to obtain a reasonable earthquake spectrum. The generated artificial accelerogram was applied in sub¬sequent dynamic analyses of building frames. The structural models considered were multistory rigid frames of 4, 10 and 20 stories having natural periods between 0.4-1.6 seconds. For the 20 stories category, both relatively flexible and stiff frames were considered. Each frame was analysed for gravity loading, wind loading according to Bangkok Metropolitan By-Law, and UBC zone 1 earthquake loading. Dynamic analyses of the structures under the generated artificial ground motion were also conducted. For a return period of 50 years the maximum magnitude of earthquake likely to occur in the region considered is 5.9 Richter. Under the assumption that-the epicentral distance is 150 km. from Bangkok area, the maximum acceleration at ground surface in accordance with Kanai theory of wave propagation through soil layer would be 0.021 g. Results of analyses of the frames under different conditions mentioned reveal that for buildings not taller than about 40 m., the UBC loading produces higher internal forces in the member than those caused by the simulated earthquake in the order of 30% and 10-30% when compared to the wind load case. For taller frames (not exceeding 70 m. in this study) the wind and UBC loadings generally produce about the same internal forces, except in the upper stories, the column and beam moments under the UBC loading are some 15-20% higher. Under the artificial earthquake the internal forces induced are generally less than the wind load case in the order 10% for the stiffer frame. For the more flexible frame the internal forces are much reduced.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24377
ISBN: 9745669946
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wichai_Ka_front.pdf533.32 kBAdobe PDFView/Open
Wichai_Ka_ch1.pdf289.22 kBAdobe PDFView/Open
Wichai_Ka_ch2.pdf538.35 kBAdobe PDFView/Open
Wichai_Ka_ch3.pdf488.88 kBAdobe PDFView/Open
Wichai_Ka_ch4.pdf869.27 kBAdobe PDFView/Open
Wichai_Ka_ch5.pdf242.92 kBAdobe PDFView/Open
Wichai_Ka_back.pdf282.21 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.