Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24416
Title: บุคลิกภาพกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของครูประชาบาล จังหวัดอุบลราชธานี / ประยงค์ บัตรสมบูรณ์
Other Titles: Personality and political participation of teachers in Ubon Ratchathant
Authors: ประยงค์ บัตรสมบูรณ์
Advisors: พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: บุคลิกภาพ
ครู
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้เพื่อตรวจสอบแบบของบุคลิกภาพของครูในจังหวัดอุบลราชธานีโดยเฉพาะ โดยจุดประสงค์ส่วนใหญ่ คือ ต้องการทราบว่าบุคลิกภาพของครูที่จะอธิบายว่า บุคลิกภาพดังกล่าวจะนำมาหรือเป็นอุปสรรคแก่การพัฒนาการปกครองในระบอบประชาธิปไตย วิทยานิพนธ์นี้ เป็นผลจากการศึกษาสำรวจครูประชาบาล 600 คน จาก 8 อำเภอ โดยเก็บข้อมูลจากครูประชาบาล จำนวน 208 คน ผู้ซึ่งทำการสอนใน 3 อำเภอ ที่ซึ่งถูกกำหนดเป็นเขตแทรกซึมของคอมมิวนิสต์ และจากครู 282 คน ซึ่งทำการสอนใน 5 อำเภอ ซึ่งอยู่นอกเขตแทรกซึมของคอมมิวนิสต์ ที่สามารถตอบแบบสอบถามได้อย่างสมบูรณ์ แบบสอบถามมีทั้งหมด 34 ข้อ ซึ่งแต่ละข้อได้ทำการวัดอำนาจจำแนกความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา และความเชื่อถือมาแล้ว การศึกษานี้กำหนดตัวแปรตามคือ บุคลิกภาพแบบประชาธิปไตยและอำนาจนิยมกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง และตัวแปรตามคือเขตปฏิบัติการสอน ระดับการศึกษา เพศ และอายุ การวิจัยปรากฏผลดังนี้ 1. ครูมีบุคลิกภาพทั้งสองแบบในระดับสูง คือ มีทั้งบุคลิกภาพแบบประชาธิปไตยและอำนาจนิยม และมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับสูง 2. ความแตกต่างในด้านอายุและเขตปฏิบัติการสอนไม่มีผลต่อบุคลิกภาพและการมีส่วนร่วมทางการเมือง 3. ครูชายส่วนใหญ่มีบุคลิกภาพแบบประชาธิปไตย ครูหญิงมีบุคลิกภาพแบบอำนาจนิยม และครูชายส่วนใหญ่จะมีส่วนร่วมทางการเมืองมากกว่าครูหญิง 4. ครูที่มีระดับการศึกษาตั้งแต่อนุปริญญาตรีขึ้นไปส่วนใหญ่มีบุคลิกภาพแบบประชาธิปไตย ครูที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าอนุปริญญาตรีลงมาส่วนใหญ่มีบุคลิกภาพแบบอำนาจนิยม และครูที่มีระดับการศึกษาตั้งแต่อนุปริญญาตรีขึ้นไป[มีส่วนร่วมทางการเมือง สูงกว่าครูที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าอนุปริญญาตรีลงมา] โดยสรุป ครูในจังหวัดอุบลราชธานีมีบุคลิกภาพทั้งสองแบบ ซึ่งเป็นแบบแผนปกติของประชาชนโดยส่วนใหญ่ในประเทศกำลังพัฒนา ถ้าครูส่วนใหญ่ในประเทศไทยมีบุคลิกภาพดังกล่าว โอกาสที่ประเทศไทยจะพัฒนาไปสู่ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยทำได้ยาก
Other Abstract: This study examines certain types of personality of teachers in Ubon ratchathani province. The main purpose is to delineate the teachers’ personalities in order to describe the personality that is conducive or obstructive to the development of democratic form of government. It is also to illuminate relationships of personalities and degree of political participation. This thesis is a result of a survey research six hundred teachers from eight amphur were chosen for the study. 208 teachers who were working in three amphur designated as sensitive area could answer questionaires completely, so did the 282 teachers in non-sensitive area covering five amphur. A questionnaire consists of 34 items. Each item was tested by discriminative power, content validity and reliability. The three variables which the researcher look into were democratic and [authoritarian] personality and political participation, were taken as dependent variables while operational areas, level of education, sex and ages were treated as independent variables. The findings of this study may be summed up as follow : 1. Political Personality of the majority of the teachers are both democratic and authoritarian. The level of participation of both types of teachers is high. 2. Difference in age and operational area are not a major determinant of the teachers’ personality and political participation. 3. The majority of male teachers have democratic personality, while the majority of female teachers have authoritarian personality; moreover, male teachers have higher degree of political participation than female teachers. 4. Higher educated teachers exhibit democratic personality; while lower educated teachers trend to have authoritarian personality; moreover, higher educated teachers have higher degree of political participation than lower educated teachers. In conclusion, the majority of teacher in Ubon ratchathani have both types of personality which is the normal form of people in the developing country. If the majority of teachers in Thailand had, it would not be conducive to the development of democratic government.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24416
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prayong_Ba_front.pdf491.4 kBAdobe PDFView/Open
Prayong_Ba_ch1.pdf2.14 MBAdobe PDFView/Open
Prayong_Ba_ch2.pdf501.33 kBAdobe PDFView/Open
Prayong_Ba_ch3.pdf2.23 MBAdobe PDFView/Open
Prayong_Ba_ch4.pdf587 kBAdobe PDFView/Open
Prayong_Ba_back.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.