Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24453
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบุญมี เณรยอด-
dc.contributor.authorโกศล อุยวรรณัง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-11-17T11:19:07Z-
dc.date.available2012-11-17T11:19:07Z-
dc.date.issued2523-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24453-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารการศึกษาระดับท้องถิ่นเกี่ยวกับการปฏิบัติจริงและความคาดหวังในบทบาททางวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตการศึกษาหก 2.เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาททางวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตการศึกษาหก ระหว่างผู้บริหารการศึกษาระดับท้องถิ่นที่ต่างสังกัดกัน 3. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาททางวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตการศึกษาหก ระหว่างผู้บริหารการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษากับผู้บริหารการศึกษานอกโรงเรียนประถมศึกษาในเขตการศึกษาหก วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างประชากรในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้บริหารการศึกษาระดับท้องถิ่นในจังหวัดที่อยู่ในเขตการศึกษาหก รวม 7 จังหวัดคือ ลพบุรี อยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี สระบุรี ชัยนาท และอุทัยธานี รวมทั้งสิ้น 637 คนโดยแยกเป็นผู้บริหารในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 24 คน ผู้บริหารการศึกษานอกโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ 144 คน ผู้บริหารการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด 389 คน ซึ่งได้รับเลือกเป็นตัวอย่างประชากร โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) และ ผู้บริหารการศึกษานอกโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาททางวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษาในด้านการสอนและการประเมินผล ด้านการปกครองและการอบรมปลูกฝังลักษณะนิสัยอันดีแก่นักเรียน ด้านการนิเทศการศึกษา และด้านการเพิ่มพูนสมรรถภาพทางวิชาการ ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามไปยังประชากรทั้งสิ้น 637 ฉบับ ได้รับคืนแบบสอบถามที่สมบูรณ์ สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ 462 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 72.53 ซึ่งนำมาวิเคราะห์โดยใช้ค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าซี (Z) ผลของการวิจัย 1. ผู้บริการการศึกษาในเขตการศึกษาหก มีความเห็นว่า บทบาททางวิชาการของครูประถมศึกษาในเขตการศึกษาหก มีความสำคัญหรือมีความจำเป็นอยู่ในเกณฑ์มาก แต่การปฏิบัติจริงของครูประถมศึกษาในเขตการศึกษาหก ทั้งโดยส่วนรวมและในแต่ละด้านยังอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างมาก 2. ผู้บริหารการศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการกับสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำคัญหรือความจำเป็นของบทบาททางวิชาการของครูประถมศึกษาไม่แตกต่างกัน ทั้งโดยส่วนรวมและในแต่ละด้าน ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติจริงแตกต่างกันในบทบาทด้านการสอนและการประเมินผล ด้านการปกครองและการอบรมปลูกฝังลักษณะนิสัยอันดีแก่นักเรียนและด้านการนิเทศการศึกษา 3. ผู้บริหารการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษากับผู้บริหารการศึกษานอกโรงเรียนประถมศึกษามีความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำคัญหรือความจำเป็นของบทบาททางวิชาการของครูประถมศึกษาไม่แตกต่างกัน ทั้งโดยส่วนรวมและในแต่ละด้าน ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติจริงแตกต่างกันในบทบาทด้านการสอนและการประเมินผล ด้านการปกครองและการอบรมปลูกฝังลักษณะนิสัยอันดีแก่นักเรียนและด้านการนิเทศการศึกษา
dc.description.abstractalternativePurposes of the Study: 1. To compare the district educational administrators’ opinions concerning the actual performance and the expectations in the academic roles of elementary school teachers in the educational region six. 2. To compare the opinions concerning the academic roles of elementary school teachers in the educational region six between the district educational administrators’ from different undersupervision. 3. To compare the opinions concerning the academic roles of elementary school teachers in the educational region six between the district educational administrators within schools and those who are outside. Procedure: The sample of this study comprised of 637 district educational administrators in the educational region six which were composed of 7 changwats namely; Lopburi, Ayudhya, Angtong, Singburi, Saraburi, Chainaat, and Utaitani. The sample was classified into 2 groups which were; administrators within schools of which 24 were undersupevision of Ministry of Education and 389 were of the Changwat Administrative Organization, and administrators outside schools; 80 were undersupevision of Ministry of Education and 144 were of the Changwat Administrative Organization. The sample were selected by using stratified random sampling technique. Questionnaires were used as the method for gathering data which concerned the academic roles of elementary school teachers in 4 categories; instruction and evaluation, student affairs, supervision, and developing of academic competencies. Out of 637 questionnaires sent out, 462 or 72.53 percent were completed and returned. Data were analyzed by using percentage, arithmetic mean, standard deviation, and Z-test. Findings: 1. Concerning academic roles of elementary school teachers in the educational region six, the administrators rated much importance to the academic roles and almost high to the actual performance of each categories and overall. 2. There is no significant difference in the opinions concerning the academic roles of elementary school teachers in the educational region six between district educational administrators from different undersupervision but significantly different in the actual performance concerning instruction and supervision, student affairs, and supervision. 3. There is no significant difference in the opinions concerning the academic roles of elementary school teachers in the educational region six between district educational administrators who are within schools and those who are outside, but significantly different in the actual performance concerning instruction and evaluation, student affairs, and supervision.
dc.format.extent699341 bytes-
dc.format.extent1247996 bytes-
dc.format.extent4818097 bytes-
dc.format.extent546328 bytes-
dc.format.extent4451603 bytes-
dc.format.extent2300744 bytes-
dc.format.extent1199084 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleความคิดเห็นของผู้บริหารการศึกษาระดับท้องถิ่น เกี่ยวกับบทบาททางวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตการศึกษาหกen
dc.title.alternativeDistrict administrators' opinions concerning the academic roles of elementary school teachers in educational region sixen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Koson_Ow_front.pdf682.95 kBAdobe PDFView/Open
Koson_Ow_ch1.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Koson_Ow_ch2.pdf4.71 MBAdobe PDFView/Open
Koson_Ow_ch3.pdf533.52 kBAdobe PDFView/Open
Koson_Ow_ch4.pdf4.35 MBAdobe PDFView/Open
Koson_Ow_ch5.pdf2.25 MBAdobe PDFView/Open
Koson_Ow_back.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.