Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2449
Title: ความรู้และพฤติกรรมการรับประทานกรดโฟลิกในหญิงตั้งครรภ์ และบุคลากรด้านการแพทย์ซึ่งเป็นหญิงวัยเจริญพันธุ์
Other Titles: Knowledge and use of folic acid among pregnant women and childbearing-age female medical personnel
Authors: ประภาพร วิไลพันธุ์
Advisors: วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Vorasuk.S@Chula.ac.th
Subjects: กรดโฟลิก
บุคลากรทางการแพทย์
สตรีมีครรภ์
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จุดประสงค์ เพื่อศึกษาความรู้และพฤติกรรมการรับประทานกรดโฟลิกในหญิงตั้งครรภ์ และบุคลากรด้านการแพทย์ซึ่งเป็นหญิงวัยเจริญพันธุ์ รูปแบบการศึกษา การวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง ประชากรที่ศึกษา หญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ในเดือนมิถุนายน 2546-ธันวาคม 2546 และบุคลากรด้านการแพทย์ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วิธีการศึกษา เก็บข้อมูลเกี่ยวกับความรู้และพฤติกรรมการรับประทานกรดโฟลิกของหญิงตั้งครรภ์และบุคลากรด้านการแพทย์จำนวนกลุ่มละ 500 คนโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับกรดโฟลิกกับพฤติกรรมการรับประทานกรดโฟลิกก่อนการตั้งครรภ์ ผลการศึกษา หญิงตั้งครรภ์ 23.5% (90/383) มีความรู้ว่าการรับประทานกรดโฟลิกสามารถลดความพิการแต่กำเนิดได้ 3.4% (13/383) ทราบว่าควรรับประทานกรดโฟลิกก่อนการตั้งครรภ์ แต่มีเพียง 0.3% (1/376) ที่รับประทานกรดโฟลิกก่อนการตั้งครรภ์ บุคลากรด้านการแพทย์ 84.4% (356/422)มีความรู้ว่าการรับประทานกรดโฟลิกสามารถลดความพิการแต่กำเนิดได้ 40% (169/422) ทราบว่าควรรับประทานกรดโฟลิกก่อนการตั้งครรภ์ และ 14.8% (12/81) รับประทานกรดโฟลิกก่อนการตั้งครรภ์ นอกจากนี้ยังพบความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับกรดโฟลิกและการรับประทานกรดโฟลิกก่อนการตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) สรุป หญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และบุคลากรด้านการแพทย์รับประทานกรดโฟลิกก่อนการตั้งครรภ์ 0.3% และ 14.8% ตามลำดับ พฤติกรรมการรับประทานกรดโฟลิกก่อนการตั้งครรภ์สัมพันธ์กับความรู้และแหล่งที่มาของความรู้เกี่ยวกับกรดโฟลิก
Other Abstract: Objectives : To study knowledge and use of folic acid in pregnant women and childbearing-age female medical personnel. Design : Cross-sectional descriptive study. Target population : Pregnant women who attended the Antenatal Clinic of King Chulalongkorn Memorial Hospital from June 2003 through December 2003 and female medical personnel in King Chulalongkorn Memorial Hospital. Material and methods : Questionnaire surveyed of a sample of 500 pregnant women and female medical personnel age 18-45 years. Results : Of 383 pregnant women who completed questionnaire, 23.5% answered knowing that folic acid helped to prevent birth defects and 3.4% that folic acid should be taken before pregnancy. Of 422 female medical personnel, 84.4% answered knowing that folic acid helped to prevent birth defects and 40% that folic acid should be taken before pregnancy. 0.3% (1/376) of pregnant women answered taking folic acid daily before pregnancy compared with 14.8% (12/81) of female medical personnel. The women who know that folic acid helped preventing birth defects were more likely to take folic acid daily (p<0.01). Conclusions : 0.3% of pregnant women took folic acid daily before pregnancy compared with 14.8% of female medical personnel. Folic acid consumption before pregnancy is associated with knowledge about folic acid and sources of knowledge.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กุมารเวชศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2449
ISBN: 9741751672
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prapaporn.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.