Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24518
Title: ความรับผิดทางอาญา : ศึกษากรณีเกณฑ์อายุขั้นต่ำและขั้นสูงของเด็กและเยาวชน
Other Titles: The criminal liability of Juvinile : study of minimum age and maximum age
Authors: ปัทมปาณี พลวัน
Advisors: อมราวดี อังค์สุวรรณ
อัมพล สูอัมพันธ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาวิเคราะห์ว่า เกณฑ์อายุขั้นต่ำและขั้นสูงที่ต้องรับผิดทางอาญาในปัจจุบันมีความเหมาะสมหรือไม่ สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนหรือไม่อย่างไร ทั้งนี้กระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนผู้กระทำผิดมีจุดมุ่งหมายในการแก้ไขฟื้นฟูให้เด็กและเยาวชนผู้กระทำผิดให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อกลับเข้าสู่สังคมมากกว่าจะลงโทษให้สาสมกับความผิดที่ได้กระทำขึ้น แต่การกำหนดเกณฑ์อายุขั้นต่ำที่ต้องรับผิดทางอาญาเป็นจุดเริ่มต้นของการพิจารณาว่าเด็กผู้นั้นต้องรับผิดทางอาญาหรือไม่ ซึ่งหากเด็กนั้นอายุต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดว่าต้องรับผิด ก็ไม่ต้องรับโทษตามที่กฎหมายกำหนด แต่ถ้าการกำหนดอายุที่ไม่เหมาะสมกับสภาพจิตใจ อารมณ์ และวุฒิภาวะของเด็ก ก็จะเป็นการผลักดันเด็กเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมและไม่เป็นธรรมแก่เด็ก รวมทั้งไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กที่ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสมาชิกที่ส่งเสริมให้ภาคีสมาชิกกำหนดอายุขั้นต่ำ ทั้งนี้คณะกรรมาธิการด้านสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติได้มีการตั้งข้อกังวลเกี่ยวกับเกณฑ์อายุในการรับผิดทางอาญาของเด็กในประเทศไทยว่าจะต่ำเกินไปหรือไม่ จากการที่ผู้วิจัยได้ศึกษาเหตุผลทางการแพทย์ จิตวิทยา และพัฒนาการตามวัยของเด็ก พบว่า จากเหตุผลทางด้านกาย จิตใจ การเลี้ยงดู และสิ่งแวดล้อม ตามที่กล่าวมาในข้างต้น เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่อาจทำให้เด็กกระทำผิดได้ เพราะเด็กอายุ 7 ปี ยังไม่มีความคิดที่เป็นของตนเอง การอบรมสั่งสอนจากครอบครัวนั้นเด็กจะทราบว่าสิ่งใดถูก สิ่งใดผิด แต่ไม่เข้าใจเหตุผลที่แท้จริงว่า สิ่งนั้นถูกหรือผิดเพราะเหตุใด ซึ่งเจตนารมณ์การลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญาก็เพื่อต้องการจะลงโทษบุคคลที่กระทำผิดโดยเจตนา ดังนั้นหากเด็กไม่รู้หรือเข้าใจในการกระทำของตนจะถือว่าเด็กเจตนากระทำความผิดมิได้ ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จึงเสนอแนะให้มีการปรับเกณฑ์อายุขั้นต่ำที่ต้องรับผิดทางอาญาเป็น 10 ปี เพื่อความเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กและสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน และขณะเดียวกันก็เห็นควรแก้ไขอายุขั้นสูงในการรับผิดทางอาญาจาก 17 ปี เป็น 18 ปี เพราะอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กข้อ 37 (ก) กำหนดว่าจะไม่มีเด็กคนใดได้รับการทรมานหรือถูกปฏิบัติหรือลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือต่ำช้า จะไม่มีการลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต โดยที่ไม่มีโอกาสจะได้รับการปล่อยตัวสำหรับความผิดที่กระทำโดยบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ซึ่งในปัจจุบันหากเยาวชนกระทำความผิดร้ายแรงก็อาจถูกลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิตได้ ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงมิให้บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ถูกลงโทษในกรณีดังกล่าว จึงควรแก้ไขเกณฑ์อายุขั้นสูงให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และเพื่อมิให้เด็กและเยาวชนถูกละเมิดสิทธิด้วยผลของการกำหนดเกณฑ์อายุขั้นต่ำและขั้นสูงที่ไม่เหมาะสมอีกต่อไป
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24518
ISBN: 9741728581
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pattamapanee_ph_front.pdf2.74 MBAdobe PDFView/Open
Pattamapanee_ph_ch1.pdf3.27 MBAdobe PDFView/Open
Pattamapanee_ph_ch2.pdf12.11 MBAdobe PDFView/Open
Pattamapanee_ph_ch3.pdf17.65 MBAdobe PDFView/Open
Pattamapanee_ph_ch4.pdf10.17 MBAdobe PDFView/Open
Pattamapanee_ph_ch5.pdf3.63 MBAdobe PDFView/Open
Pattamapanee_ph_back.pdf18.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.