Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24607
Title: | ความสำนึกต่อการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาล : ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างข้าราชการและประชาชน ในเขตเทศบาลเมืองนครสวรรค์ |
Other Titles: | Government official and citizen cousciousness of local government : a case study of Nakhon Sawan municipality |
Authors: | สมพงษ์ บุญประดิษฐ์ |
Advisors: | พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2525 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | นับตั้งแต่มีการจัดการปกครองท้องถิ่นในรูปเทศบาลขึ้นใน พ.ศ. 2476 การปกครองท้องถิ่นในรูปดังกล่าวประสบความสำเร็จน้อยมาก สามเหตุสำคัญของความล้มเหลวดังกล่าวคือ การขาดความสำนึกที่เอื้ออำนวยต่อการจัดการปกครองตนเอง ของประชาชนในท้องถิ่น และการขาดความศรัทธาและสนับสนุนจากระบบราชการ เมื่อพิจารณาถึงปรากฏการณ์ของการใช้สิทธิออกเสียงในการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลของเทศบาลเมืองนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2523 พบว่า อัตราการไปลงคะแนนเสียงต่ำมาก จึงเป็นประเด็นที่น่าศึกษาว่า ความสำนึกของข้าราชการและประชาชนต่อการปกครองท้องถิ่นเป็นอย่างไร วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะ 1. ศึกษาระดับความสำนึกต่อการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาลของข้าราชการและประชาชนในเขตเทศบาลเมืองนครสวรรค์ 2. เปรียบเทียบความสำนึกต่อการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาลระหว่างข้าราชการกับประชาชนในเขตเทศบาลเมืองนครสวรรค์ 3. เปรียบเทียบความสำนึกต่อการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาลของข้าราชการและประชาชนในเขตเทศบาลเมืองนครสวรรค์ โดยพิจารณาเปรียบเทียบตามเพศ การศึกษา อายุ และรายได้ วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามเพื่อวัดความสำนึกต่อการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาล ในประเด็นที่เกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจทางการเมือง ความสนใจและการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง ความรู้สึกในประสิทธิภาพทางการเมือง ความรู้สึกในหน้าที่พลเมือง และความรู้สึกไม่ไว้ใจทางการเมือง โดยใช้แบบสอบถามจำนวน 58 ข้อ ซึ่งได้รับการตรวจสอบจนเป็นเครื่องมือวัดที่เชื่อถือได้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ข้าราชการและประชาชนที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาพเทศบาลของเทศบาลเมืองนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2523 โดยทำการเลือกข้าราชการไว้ 180 คน และประชาชนจำนวน 320 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบโควต้า (Quota Sampling) ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการทางสถิติหลายประเภท เช่น การแจกแจงความถี่แบบร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแปรปรวนสถิติแบบ T – Test การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์การจำแนกพหุ (Multiple Classification Analysis) ผลการวิจัย 1. ข้าราชการและประชาชนในเขตเทศบาลเมืองนครสวรรค์ต่างมีความสำนึกต่อการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาลอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยของคะแนนในทุกแง่มุมแล้ว พบว่าข้าราชการมีความสำนึกต่อการปกครองท้องถิ่นสูงกว่าประชาชนเล็กน้อย 2. ความสำนึกต่อการปกครองท้องถิ่นรูปแบบเทศบาลของข้าราชการและประชาชนในเขตเทศบาลเมืองนครสวรรค์ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. เมื่อพิจารณาถึงความสำนึกต่อการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาลของข้าราชการและประชาชน โดยจำแนกตามระดับการศึกษา เพศ อายุ และรายได้พบว่า มีความสำนึกต่อการปกครองท้องถิ่นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
Other Abstract: | The objective of this research is to conduct a comparative study of the consciousness of local government, in the form of municipality of government official and people in Nakhon Sawan municipal area. The quota sampling used in this research covered 180 government official and 320 people. The variables employed are sex, age, income and level of education. The questionnaire consisting of 58 items was constructed to measure political knowledge, political interest, political participation, political efficacy, civic obligation and political distrust. Each item was tested by discriminative power, content validity and reliability. The data was there-after treated by Percentage, Mean, Standard Deviation, T-Test Analysis of Variance and Multiple Classification Analysis. The findings of this study may be summed up as follow 1. Both government official and people in Nakhon Sawan municipal area possess relatively low level of consciousness of local government. 2. Both government official and people in Nakhon Sawan municipal area statistically show no significant difference in consciousness of local government. Consequently, the null hypothesis cannot be rejected. 3. The consciousness of local government of government official and people in Nakhon Sawan municipal area corrolate with sex, age, income and level of education, relatively at .05 level statistical significance. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525 |
Degree Name: | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การปกครอง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24607 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sompong_Bo_front.pdf | 896.34 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompong_Bo_ch1.pdf | 1.04 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompong_Bo_ch2.pdf | 2.27 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompong_Bo_ch3.pdf | 2.3 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompong_Bo_ch4.pdf | 755 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompong_Bo_ch5.pdf | 2.73 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompong_Bo_ch6.pdf | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompong_Bo_back.pdf | 1.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.