Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24659
Title: มาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาภาษีอากรค้าง
Other Titles: Measures for solving the problems of tax in arrears
Authors: ทรรศิน ร่มรื่นสุขารมย์
Advisors: กาญจนา นิมมาเหมินท์
ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ภาษาอากรนั้นเป็นแหล่งรายรับที่สำคัญที่สุดที่รัฐบาลเรียกเก็บจากประชาชน เพื่อใช้จ่ายในกิจการต่างๆ รวมทั้งการส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ ภาษีอากรค้างจำนวนมากก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการดำเนินกิจการต่างๆ และกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เพราะนอกจากทำให้รัฐบาลขาดรายได้แล้ว รัฐยังต้องสูญเสียเงินค่าใช้จ่ายในการเร่งรัดจัดเก็บภาษีอากรค้างอีกจำนวนหนึ่งด้วย ปัญหาภาษีอากรค้างจึงมีความสำคัญที่จะต้องเร่งรีบดำเนินการแก้ไข เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2527 ภาษีอากรที่จัดเก็บโดยกรมสรรพากรมีจำนวนค้างชำระอยู่ถึง 15,145.4 ล้านบาท หรือเท่ากับร้อยละ 24.05 ของภาษีอากรที่จัดเก็บได้ ภาษีอากรค้างนี้มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกหากมิได้ดำเนินการแก้ไข วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งที่จะชี้ให้เห็นถึงมูลเหตุที่ก่อให้เกิดภาษีอากรค้าง สภาพปัญหาของภาษีอากรค้างและมาตรการที่จะแก้ไขปัญหาภาษีอากรค้างให้บรรเทาลงด้วยวิธีการที่สามารถนำมาใช้แก้ไขปัญหาได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากนัก ซึ่งผลจากการศึกษาและวิจัยสรุปได้ว่ามีมูลเหตุสำคัญอยู่ 3 ประการที่ก่อให้เกิดปัญหาที่นำไปสู่การเกิดภาษีอากรค้าง ได้แก่ 1. มูลเหตุอันเกิดจากกฎหมายและแนวทางปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม อันก่อให้เกิดปัญหาและข้อขัดข้องในทางปฏิบัติ ซึ่งส่งผลทำให้การปฏิบัติจัดเก็บภาษีอากรไม่ได้ผลเต็มที่ 2.มูลเหตุอันเกิดจากการตีความตามกฎหมายอันสืบเนื่องจากการตีความที่ขัดแย้งกันของผู้ใช้กฎหมาย 3 ฝ่าย คือผู้เสียภาษีอากร กรมสรรพากร และศาลซึ่งทำให้เกิดความไม่ชัดแจ้งในการปฏิบัติจัดเก็บภาษีอากร 3. มูลเหตุอันเกิดจากตัวผู้เสียภาษีอากร ซึ่งขาดความสำนึกและความสมัครใจในการเสียภาษีอากร รวมทั้งขาดความเชื่อถือในประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีอากรของรัฐ มูลเหตุสำคัญทั้ง3 ประการนี้ ได้ก่อให้เกิดปัญหาหลายประการในขั้นตอนต่างๆของกระบวนการจัดเก็บภาษีอากร ซึ่งจากการศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาต่างๆแล้ว ผู้เขียนเห็นวาอาจสรุปมาตรการ เพื่อแก้ไขปัญหาภาษีอากรค้างได้ดังนี้ 1.ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น โดยการกำหนดเวลาการตรวจสอบให้แน่นอนไม่ให้มีการขยายเวลาการตรวจสอบ การสอบสวนทรัพย์สินของผู้ถูกตรวจสอบภาษีอากร การกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบ การกำหนดเวลา การพิจารณาคำอุทธรณ์ การกำหนดวิธีการส่งเอกสารและพยานหลักฐาน การลดระเยเวลาการติดตามเร่งรัด 2. ลดหรือขจัดการตีความกฎหมายภาษีอากร เพื่อมิให้มีการขัดแย้งกันในการตีความหลักการของประมวลรัษฎากร เช่น โดยการประมวลและร่างกฎหมายที่ละเอียดชัดเจน ประกอบทั้งจะต้องมีการแสดงเจตนารมณ์ในการร่างกฎหมายที่ชัดแจ้งด้วย เพื่อให้ทราบถึงหลักการดังกล่าว นอกจากนั้นคือการใช้แนวทางการตอบข้อหารือ เป็นข้อพิจารณาประกอบหลักการของประมวลรัษฎากร เพื่อแสดงให้ผู้เสียภาษีอากรทราบ 3. ให้การศึกษาและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับภาษีอากรแก่ประชาชนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยเน้นการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ประชากรทราบและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายและกฎหมายภาษีอากร ทั้งจะต้องดำเนินการลงโทษอย่างเด็ดขาดและทันทีต่อผู้หลบหลีกภาษีอากร เพื่อเป็นตัวอย่างอันจะทำให้ผู้เสียภาษีอากรโดยทั่วไปเข้าใจถึงสิทธิและหน้าที่ รวมทั้งมีความเชื่อมั่นศรัทธาในความเป็นธรรมของกฎหมายภาษีอากร และประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีอากรของรัฐ ซึ่งสิ่งทั้งหลายเหล่านี้จะช่วยให้เกิดความเข้าใจและร่วมมืออันดีระหว่างรัฐกับผู้เสียภาษีในที่สุด
Other Abstract: Like most other countries taxation has become increasingly important in Thailand. It serves not only as a major source of government revenue but also as an efficient instrument in designing economic policy. In this regard, the existence of a sizeable amount of tax perennially in arrears would thus gravely affect the government financial position as well as the country's economic development. At the end of fiscal year 1984, the delinquent account of taxes collected by the Revenue Department stood at 15,145.4 million baht, or 24.05 per cent of the total collection of this Department. So, it is intuitive that the problems causing the accumulation of tax in arrears must expediently be tackled, if the government is to effectively increase its collection. In this paper, attempts have been made on identifying the causes leading to the problems of tax in arrears. In doing so, the arrears of tax and duty have been classified a s being caused by three major factors as follows :(1) certain improper provisions of the law and regulations which are obstructive to efficient tax collection; (2) different interpretations of the tax laws among the taxpayers, the Revenue Department and the court; and (3) the low compliance on the part of the taxpayers. Having analyzed the matter as aforesaid, this study finally proposes some possible measures to deal with the problems as follows : (1) to amend the provisions of the law and regulations so as to permit greater effectiveness of tax collection process; (2) to be more careful in interpreting any provisions of the law so as to avoid unnecessary controversies; and (3) to step up campaign on taxpayer's education as well as to impose more severe punishments on tax evaders.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24659
ISBN: 9745663743
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tudsin_Ro_front.pdf581.28 kBAdobe PDFView/Open
Tudsin_Ro_ch1.pdf704.52 kBAdobe PDFView/Open
Tudsin_Ro_ch2.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open
Tudsin_Ro_ch3.pdf1.8 MBAdobe PDFView/Open
Tudsin_Ro_ch4.pdf1.84 MBAdobe PDFView/Open
Tudsin_Ro_ch5.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open
Tudsin_Ro_ch6.pdf596.83 kBAdobe PDFView/Open
Tudsin_Ro_back.pdf3.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.