Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24673
Title: การเปรียบเทียบค่าสถิติของมาตราเจตคติแบบลิคเคิต เมื่อใช้เทคนิคการสุ่มเมตริกพหุคูณกับการสุ่มผู้สอบ
Other Titles: A comparison of the statistics of likert attitude scale using multiple matrix sampling and examinee sampling techniques
Authors: เนาวรัตน์ สมัครรัฐกิจ
Advisors: ดิเรก ศรีสุโย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะเปรียบเทียบเทคนิคการสุ่มผู้สอบกับเทคนิคการสุ่มเมตริกพหุคูณ โดยเปรียบเทียบค่ามัชฌิมเลขคณิต ความแปรปรวน และค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟาของครอนบาค จากเทคนิควิธีทั้ง 2 แบบนี้ เครื่องมือที่ใช้สำหรับรวบรวมข้อมูลเป็นแบบวัดเจตคติต่อสภาพแวดล้อมทางโรงเรียนตามแนวแบบของลิคเคิต มีจำนวน 80 ข้อกระทงสำหรับใช้ในการสุ่มผู้สอบและจำแนกเป็น 4 ฉบับย่อย ฉบับละ 20 ข้อสำหรับใช้กับเทคนิคการสุ่มเมตริกพหุคูณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี จำนวน 2663 คน เป็นการสุ่มตัวอย่างสำหรับการสุ่มผู้สอบ 354 คน และเป็นกลุ่มตัวอย่างสำหรับการสุ่มเมตริกพหุคูณ 2309 คน การคำนวณค่าสถิติเบื้องต้นคือค่ามัชฌิมเลขคณิต ความแปรปรวนและสัมประสิทธิ์แอลฟา สำหรับการสุ่มผู้สอบใช้เทคนิคการคำนวณตามปกติ สำหรับค่าสถิติจากการสุ่มตัวอย่างเมตริกพหุคูณนั้นคำนวณจากการประมาณค่าซึ่งพัฒนามาใช้เพื่อวิธีของเมตริกพหุคูณโดยเฉพาะ ส่วนการเปรียบเทียบค่ามัชฌิมเลขคณิต ความแปรปรวนและค่าสัมประสิทธิ์แอลฟานั้นใช้การทดสอบค่าทีของเวลช์-แอสปิน การทดสอบค่าเอฟ และการทดสอบค่าซีตามลำดับ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่ามัชฌิมเลขคณิตที่ได้จากเทคนิคการสุ่มตัวอย่างทั้งสองแบบไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. ค่าความแปรปรวนซึ่งคำนวณได้จากเทคนิคการสุ่มตัวอย่างทั้งแบบการสุ่มผู้สอบและแบบการสุ่มเมตริกพหุคูณไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ซึ่งคำนวณจากเทคนิคการสุ่มตัวอย่างทั้งแบบการสุ่มผู้สอบและการสุ่มเมตริกพหุคูณไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: The purpose of this study was to compare the means, variances and Cronbach’s alpha coefficients obtained from the techniques of examinee sampling and multiple matrix sampling. The School Environment of 80 attitudinal Likert’s scale items were used for the examinee sampling technique and it was randomly divided into 4 subscales of 20 items each for multiple matrix sampling technique. A sample of 354 Surasakmontri school students was used for examinee sampling technique and 2,663 students for multiple matrix sampling. The obtained means, variances and alpha coefficients from those two different techniques were tested by Welch-Aspin t-test, F-test and Z-test, respectively. The results from this research were as follows: 1. The means obtained from the technique of examinee sampling and the multiple matrix sampling are not statistically significant. 2. The variances obtained from the technique of examinee sampling and the multiple matrix sampling are not statistically significant. 3. The Cronbach’s alpha coefficients obtained from the techniques of examinee sampling and the multiple matrix sampling are not statistically significant.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24673
ISBN: 9745645877
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Naovarat_Sm_front.pdf472.7 kBAdobe PDFView/Open
Naovarat_Sm_ch1.pdf569.07 kBAdobe PDFView/Open
Naovarat_Sm_ch2.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open
Naovarat_Sm_ch3.pdf632.59 kBAdobe PDFView/Open
Naovarat_Sm_ch4.pdf432.12 kBAdobe PDFView/Open
Naovarat_Sm_ch5.pdf361.2 kBAdobe PDFView/Open
Naovarat_Sm_back.pdf925.69 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.