Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24697
Title: | การสำรวจความคิดเห็นที่เกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงาน ของข้าราชการกรมการปกครอง |
Other Titles: | Opinion survey of the department of local administration's performance evaluation |
Authors: | สมภพ เชาวน์พันธ์สกุล |
Advisors: | ศิริโสภาคย์ บูรพาเดชะ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2522 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เมื่อปี พ.ศ. 2507 กรมการปกครองของกระทรวงมหาดไทย ได้เริ่มนำเอาหลักการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการมาใช้ในการบริหารงานบุคคลแผนใหม่ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาการปฏิบัติงานของข้าราชการ และเพื่อการบริหารงานบุคคลของกรมการปกครอง ซึ่งมีข้าราชการอยู่ทั่วราชอาณาจักร โดยกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานไว้เป็นระเบียบของกระทรวงมหาดไทย การประเมินผลการปฏิบัติงานดังกล่าว เป็นการประเมินโดยระบบผู้บังคับบัญชาเหนือตนเป็นผู้ทำการประเมิน โดยใช้แบบรายงานการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี ซึ่งได้ใช้มาตั้งแต่เมื่อเริ่มแรกใช้ระเบียบกระทรวงมหาดไทย โดยมีการแก้ไขเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และข้าราชการที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องการเป็นผู้ถูกประเมินก็มีเพียงอธิบดีกรมการปกครองและรองอธิบดีอีก 3 ท่านเท่านั้น ขอบเขตของการประเมินผลการปฏิบัติงานตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยนั้นนอกจากประเมินเรื่องการปฏิบัติงานแล้วยังครอบคลุมไปถึงความประพฤติ อุปนิสัยใจคอ ทั้งส่วนตัวและเรื่องที่เกี่ยวกับความเป็นไปในครอบครัว และหลังจากผู้บังคับบัญชาโดยตรงตามสายงานได้ประเมินผลแล้ว แบบรายงานการประเมินผลจะต้องถูกนำไปเสนอต่อผู้บังคับบัญชาระดับสูงขึ้นไปอีก เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาเหล่านั้นประเมินหรือให้ความเห็นอีกชั้นหนึ่งก่อนจะส่งไปรวบรวมหรือวิเคราะห์ในกองอัตรากำลัง และส่งเสริมสมรรภาพซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ การศึกษาเรื่องการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมการปกครองฉบับนี้มีความมุ่งหมายที่จะสำรวจทัศนคติหรือความคิดเห็นของข้าราชการกรมการปกครองที่มีต่อการประเมินผลการปฏิบัติงานในฐานะที่เป็นผู้ทำการประเมินและผู้ถูกประเมิน และเพื่อศึกษาดูว่ากรมการปกครองได้นำเอาผลที่ได้รับจากการประเมินไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานบุคคลของกรมเพียงใด การสำรวจทัศนคติของข้าราชการดังกล่าว ได้กระทำโดยใช้การทอดแบบสอบถามสุ่มตัวอย่างจากกลุ่มข้าราชการกรมการปกครอง ที่เป็นเสมือนตัวแทนของข้าราชการทั่วประเทศ ผลการสำรวจและศึกษาวิจัยได้พบว่า ข้าราชการกรมการปกครองส่วนใหญ่เห็นว่ากรมการปกครองได้นำเอาผลที่ได้รับจากการประเมินไปใช้ในการบริหารงานบุคคลของกรมเพียงบางส่วน เช่น การปรับปรุงสมรรถภาพของข้าราชการที่บกพร่องในความประพฤติ กรมการปกครองได้ใช้การประเมินผลการปฏิบัติงานแบบต่างๆ อีกหลายแบบนอกเหนือจากแบบที่ใช้ประจำปีด้วยวัตถุประสงค์ต่างๆ กัน เช่น การประเมินผลเพื่อคัดเลือกบุคคลเข้ารับการศึกษาอบรมในวิทยาลัยการปกครอง เป็นต้น และยังปรากฎจากการศึกษาวิจัยนี้ด้วยว่า กรมการปกครองได้ใช้ผลจากการประเมินการปฏิบัติงานของข้าราชการในการบรรจุแต่งตั้งโยกย้ายในอัตราที่ต่ำ ผู้เขียนมีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะว่า ในทางที่ถูกกรมการปกครองควรจะได้แก้ไขปรับปรุงระเบียบวิธีการ หลักเกณฑ์และแบบที่ใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานเสียใหม่ไห้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน และกรมการปกครองควรเน้นเรื่องการใช้ผลจากการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการให้เป็นประโยชน์ในการบริหารงานบุคคลของกรมอย่างเต็มที่ |
Other Abstract: | In 1954 the local Administration Department (LAD) Ministry of Interior has started to bring performance evaluation into the department’s personnel management system. Its major contribution to personnel management as started in the Ministerial Order is to assist in improving staff performance, identifying training needs and adjusting personnels in offices through out the country. Performance evaluation as mentioned above is officially done by a supervisor in each office for the staff he supervises. Performance evaluation form which is used now is the only kind of form to be used in evaluating all levels of staff except the Director-General and his Deputies’ level who are exempt by order. The scope of evaluation includes all aspects of personal behavior towards job performance and family concerns After evaluating by an immediate supervisor, all evaluation forms are submitted to higher executive officers for their comments before sending to the personnel office in the central administration. The objective of this study is concerned with the attitude survey relating to performance evaluation of Local Administration Department’s officials and is to find out how performance evaluation in the Local Administration Department has contributed to their personnel management. The Survey is conducted by random sampling method. A certain amount of copy of questionnaires are sent out to the LAD officials both in provincial and central offices to be answered. Among those officials, some are the sole evaluates and some are both evaluates and evaluators as categorized by Ministerial Order; they are asked to complete the questionnaires as evaluates and as evaluators or both positions. The findings are quite interesting. The survey results that the majority of the officials who answered the questionnaire do not think that the Department has really used performance evaluation which is done every year as a tool in personnel management except for some kind of staff improvement. Those who are found misbehaved, through evaluation, according to rating standard must be notified by official letter form the Director-General himself. The following-year-evaluation is considered as a proof of improvement. A person who failed to improve must be renotified for 3 times before the disciplinary action is taken against him. It is evident that there are other kinds of evaluation being done in the Department’s personnel management which have other different purposes such as training and promotion. Moreover, it is also evident that there are limited uses of performance evaluation in personnel management in the local Administration Department. This thesis suggests several improvements concerning performance evaluation which should be done in order to get better uses from performance evaluation to more advantage in personnel management of the Local Administration Department. Evaluation form must be changed to suit the level and type of person to be evaluated. Different questions must be invented for different level of officials. To shcolars in personnel administration, performance evaluation is an important tool form personnel management. Its results reflect the pictures of personnels and organization they are working in the Local Administration Department should concentrate more in utilizing performance evaluation in its personnel management system. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522 |
Degree Level: | ปริญญาโท |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24697 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sompob_Ch_front.pdf | 565.42 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompob_Ch_ch1.pdf | 539.83 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompob_Ch_ch2.pdf | 1.37 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompob_Ch_ch3.pdf | 2.28 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompob_Ch_ch4.pdf | 2.12 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompob_Ch_ch5.pdf | 1.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompob_Ch_back.pdf | 1.56 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.