Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24813
Title: ความเครียดในงานและการจัดการความเครียดของพยาบาลวิชาชีพและพยาบาลเทคนิคโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า พ.ศ. 2546
Other Titles: Job stress and coping strategies of register nurses and technician Nursesin Somdejprapinklow hospital:2003
Authors: วรวรรณ ผู้มีโชคชัย
Advisors: องอาจ วิพุธศิริ
สมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความเป็นมา ความเครียดในการทำงานเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในชีวิตการทำงานวิชาชีพพยาบาลเป็นอาชีพที่มีภาระรับผิดชอบต่อสุขภาพของสังคมทางด้านร่างกายและจิตใจ ถ้าพยาบาลเกิดความเครียดและไม่สามารถจัดการความเครียดได้อย่างเหมาะสม ทำให้ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยและองค์กรได้ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเครียดในงานและการจัดการความเครียดของพยาบาลวิชาชีพและพยาบาลเทคนิค โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า พ.ศ. 2546 รูปแบบการวิจัย เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง ประชากรที่ศึกษา พยาบาลวิชาชีพจำนวน 415 คน และพยาบาลเทคนิคจำนวน 268 คน ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานที่มีการให้พยาบาล ในโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า พ.ศ. 2546 ทั้งหมดโดยไม่มีสุ่มตัวอย่างมีผู้ตอบกลับร้อยละ 90.6 (619 คน จากจำนวน 683 คน) เครื่องมือวิจัย เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นชนิดตอบเอง เกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางสุขภาพ ปัจจัยครอบครัวและเศรษฐกิจ ปัจจัยทางสังคม ปัจจัยทางด้านงาน และการจัดการความเครียด การรวบรวมข้อมูล ระหว่างเดือนธันวาคม 2546 ถึง กุมภาพันธ์ 2547 สถิติที่ใช้ Chi Square test ผลการศึกษา พยาบาลโรงบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 70.3 อายุเฉลี่ย 32.2 ปี สถานภาพโสด ร้อยละ 49.6 การศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาพยาบาล ร้อยละ 50.2 เป็นพยาบาลวิชาชีพร้อยละ 59.8 อายุทำงานเฉลี่ย 10.7 ปี พยาบาลวิชาชีพและพยาบาลเทคนิคมีความเครียดในงานอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 38.6 และ 50.6 ตามลำดับ ในปัจจัยด้านงาน 7 ด้าน ซึ่งมี 45 คน ดัชนีชี้วัด พบว่าพยาบาลทั้งสองกลุ่มมี 4 ดัชนีชี้วัดที่มีความเครียดในระดับมากเกินร้อยละ 50 โดย 3อันดับแรกอยู่ในด้านรายได้และสวัสดิการได้แก่ ความเหมาะสมของเงินเดือนกับปริมาณงาน ความเหมาะสมของเงินเดือนกับค่าครองชีพ และความเหมาะสมของค่าตอบแทนนอกเวลาราชการ วิธีการจัดการความเครียดที่พยาบาลทั้งสองกลุ่มใช้มากที่สุดเหมือนกัน 3 อันดับแรก คือ การหาสาเหตุแก้ไข นอนพักผ่อน และทำจิตใจให้สบาย ตามลำดับ ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเครียดในงานกับปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความเครียด พบว่าในพยาบาลวิชาชีพ เพศ อายุ อายุการทำงาน การศึกษา เงินเดือน สถานภาพสมรสและการพักผ่อน มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนในพยาบาลเทคนิค พบว่า อายุการทำงานมีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สรุป จากผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า ผู้บริหาร ควรตระหนักถึงความสำคัญและปัญหาที่ทำให้เกิดความเครียดในการทำงาน สิ่งที่ควรดำเนินการได้แก่ การปรับปรุงค่าตอบแทนให้สอดคล้องกับค่าครองชีพในปัจจุบัน และการปรับเจ้าหน้าที่ให้เหมาะสมกับปริมาณงานแต่ละหน่วยงาน
Other Abstract: Background: Job stress was unavoidable in work life. Job role of nurses were care and cure health population all about physical and mental health. If nurses themselves had stress and couldn't coping well, this condition might be impact to patients and organization. Objective: To study the rate of job stress and coping strategies of register nurses and technician nurses working in Somdejprapinklow hospital in 2003. Research Design: Cross-Sectional Descriptive Study. Participants: A lot of 415 register nurses and 268 technician nurses who work in nursing department in Somdejprapinklow hospital. The return rate was 90.6%(619 out of 683 nurses) Data Collection: The self-administered questionnaires was conducted during December 2003 to February 2004. Statistical Method: Chi-Square test Result: The majority of the nurse respondents were female (70.3%), average age 32.2 years, single 49.6%. had a bachelor degree of register nurses 50.2% and register nurses 59.8% had average working experience 10.7 years. The higher rates of job stress among register nurses and technician nurses were found at moderate stress level as 38.6 and 50.6 respectively. Among the 7 dimensions of job stress determinants. Income and welfare was rated as the highest mean, and moreover the top-3 job stress indicators were stated in this dimension as follows: unfair paid in terms of workload; daily expense; and overtime. Regarding the three most common stress coping strategic used were get rid the root causes, rest, and keep calming, respectively. Levels of stress in register nurses were statistically significant associated with age, sex, years of work, educational level, salary, marital status, and recreation (p<0.05). In contrast with technician nurses, which only years of work was shown statistically significant association (p<0.05). Conclusion: The results of the study revealed that senior, middle executives and nurses in Somdejprapinklow hospital should consider the importance of the problems and root causes created job stress and should try to solve the stress-related problem in the organization by emphasis on improvement of income and welfare in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์ชุมชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24813
ISBN: 9741750811
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Worawan_pu_front.pdf2.77 MBAdobe PDFView/Open
Worawan_pu_ch1.pdf2.3 MBAdobe PDFView/Open
Worawan_pu_ch2.pdf10.45 MBAdobe PDFView/Open
Worawan_pu_ch3.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open
Worawan_pu_ch4.pdf9.66 MBAdobe PDFView/Open
Worawan_pu_ch5.pdf4.29 MBAdobe PDFView/Open
Worawan_pu_back.pdf4.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.