Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24873
Title: | การวิเคราะห์เนื้อหาหนังสือเรื่องฟื้นความหลังของพระยาอนุมานราชธน เพื่อการบริการเอกสารสนเทศ |
Other Titles: | A content analysis of Funkhwamlang by Phya Anuman Rajadhon for reference services |
Authors: | จินตนา เอกัคคตาจิต |
Advisors: | อัมพร ทีขะระ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2524 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิเคราะห์เนื้อหาเรื่อง ฟื้นความหลัง ฉบับพิมพ์ครั้งแรกเล่ม 1 พ.ศ. 2510 เล่ม 2 พ.ศ. 2511 เล่ม 3 พ.ศ. 2512 และเล่ม 4 พ.ศ. 2513 ของพระยาอนุมานราชธน เนื่องจากหนังสือชุดนี้มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ไทย ชีวประวัติ ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม เป็นต้น การวิเคราะห์กระทำโดยแยกแยะเนื้อหาในหนังสือชุดนี้ออกตามสาขาวิชา เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการให้บริการเอกสารสนเทศ วิธีดำเนินการวิจัย เป็นการวิจัยด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา โดยศึกษาเนื้อหาจากหนังสือ ฟื้นความหลัง อย่างละเอียด พร้อมทั้งศึกษาชีวประวัติของพระยาอนุมานราชธน การวิเคราะห์เนื้อหาใช้เกณฑ์จากคู่มือการกำหนดหัวเรื่องของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย หัวเรื่องของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมของดิวอี้ การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีบันทึกเรื่องย่อจากหนังสือเป็นเรื่องๆ ลงในบัตรขนาด 5˝ × 7˝ ให้เลขที่เล่มและเลขหน้าที่มีเรื่องนั้นๆอย่างชัดเจน พร้อมทั้งให้หัวเรื่อง นับความถี่ว่าพูดหัวเรื่องอะไรซ้ำกันกี่ครั้ง รวมคะแนนความถี่ของแนวความคิดในแต่ละหัวข้อ พร้อมทั้งหาค่าร้อยละของความถี่สำหรับแนวความคิดในแต่ละหัวข้อ และแสดงในรูปแผนภูมิแท่ง ผลการวิจัยเรื่อง ฟื้นความหลัง ปรากฏว่าสาขาวิชาสังคมศาสตร์มีเนื้อหามากที่สุดร้อยละ 57.64 ของเนื้อหาทั้งหมด รองลงมาได้แก่สาขาวิชามนุษยศาสตร์ มีเนื้อหาร้อยละ 32.14 ของเนื้อหาทั้งหมด ส่วนสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ มีเนื้อหาน้อยที่สุด เพียงร้อยละ 10.22 ของเนื้อหาทั้งหมด ข้อเสนอแนะของผู้วิจัยสำหรับการวิจัยขั้นต่อไป คือ ควรจะมีการวิเคราะห์เนื้อหาหนังสือรวมความรู้อื่นๆ หรืองานรวมเรื่องอื่นๆ เพื่อเป็นการรวบรวมข้อมูลสำหรับสร้างหนังสืออ้างอิงประเภทนามวิทยานุกรม (Cyclopedia of Names) ได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ สำหรับงานบริการเอกสารสนเทศของห้องสมุด |
Other Abstract: | This research attempted to analyze the contents of Funkhwamlang, 1st ed., vol 1, B.E. 2510, vol. 2, B.E. 2511, vol. 3, B.E. 2512, and vol.4, B.E. 2513 by Phya Anuman Rajadhon which have been recognized as invaluable sources of knowledge in Thai history, biography, tradition, and culture, etc. The analysis concentrated on the classification of subject fields treated in this series which might enlighten some usefulness in information services. A method of content analysis was employed in this study. In addition to detail analysis of the contents of Funkhwamlang, Phya Anuman Rajadhon’s autobiography was also collected. In classifying contents of the book, criteria for analyzing subject headings of Thai Library Association, manuals of subject headings of Thai Library Association and of the Library of Congress, and a manual of Dewey Decimal Classification System were consulted. In collecting data, 5˝×7˝ cards were used to record a summary of each topic, in which volume number, page number, and subject heading for a particular topic were noted. Frequency count was made for the occurrence of each subject heading for the whole series. Percentage was calculated for each case and presented in the form of bar charts. It was revealed that Funkhwamlang included contents on social sciences the most which made a total of 57.64 percent in all. Humanities was second comprising of 32.14 percent. Sciences received the least treatment (10.22 percent). The researcher suggested that further research in this manner should be done on other books covering the multiplicity of subject fields so that a cyclopedia of names could be compiled to serve as a source for library reference service. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บรรณารักษศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24873 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
jintana_ag_front.pdf | 443.52 kB | Adobe PDF | View/Open | |
jintana_ag_ch1.pdf | 367.21 kB | Adobe PDF | View/Open | |
jintana_ag_ch2.pdf | 537.64 kB | Adobe PDF | View/Open | |
jintana_ag_ch3.pdf | 896.45 kB | Adobe PDF | View/Open | |
jintana_ag_ch4.pdf | 328.89 kB | Adobe PDF | View/Open | |
jintana_ag_back.pdf | 2.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.