Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24884
Title: การศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตไหมลูกผสมพันธุ์จีน-ญี่ปุ่นและไหมลูกครึ่ง
Other Titles: A comparative study on cost of silk production between Chinese-Japanese hybrid and Thai-hybrid
Authors: นิยะดา วิเศษบริสุทธิ์
Advisors: โชติ สูวิปกิจ
วรกัลยา วัฒนสินธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนจากการเลี้ยงไหมลูกผสมพันธุ์จีน-ญี่ปุ่นและไหมลูกครึ่ง (ไหมลูกครึ่ง คือ ไหมลูกผสมระหว่างไหมพันธุ์ไทยและไหมลูกผสมพันธุ์จีน-ญี่ปุ่น) พร้อมทั้งเปรียบเทียบต้อนทุนการผลิตและผลตอบแทนจากการเลี้ยงไหมทั้ง 2 พันธุ์ เพื่อให้ทราบว่าไหมพันธุ์ใดมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าและให้ผลตอบแทนสูงกว่า ในการศึกษาต้นทุนการผลิตและการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนจากการเลี้ยงไหมทั้ง 2 พันธุ์ ได้แยกตามฤดูการเลี้ยงไหม คือ ฤดูฝนและฤดูหนาว และตามขนาดการเลี้ยงไหม ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ขนาด คือ ปริมาณไข่ไหมน้อยกว่า 2 แผ่น ปริมาณไข่ไหม 2-3 แผ่น และปริมาณไข่ไหมมากกว่า 3 แผ่น (ไข่ไหม 1 แผ่น คือ ไข่ไหมจากการวางไข่ของแม่ผีเสื้อ 50 แม่) ขนาดการเลี้ยง 2-3 แผ่น เป็นขนาดที่เกษตรกรนิยมเลี้ยงกัน จึงศึกษารายละเอียดเฉพาะการเลี้ยงขนาดนี้เท่านั้น การศึกษาแยกเป็น 2 กรณี คือ กรณีที่เกษตรกรขายผลผลิตรังไหม และกรณีที่เกษตรกรขายผลผลิตเส้นไหม ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ได้จากการสำรวจข้อมูลการเลี้ยงไหมปี 2525 โดยการออกแบบสอบถามเกษตรกรผู้เลี้ยงไหมลูกผสมพันธุ์จีน-ญี่ปุ่นในอำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ และเกษตรกรผู้เลี้ยงไหมลูกครึ่งในอำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ สำหรับการหาผลตอบแทนจากการเลี้ยงไหมเป็นการวิเคราะห์โดยใช้อัตราผลตอบแทนจากค่าขาย ผลที่ได้จากการศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตและอัตราผลตอบแทนจากค่าขาย ปรากฏว่า ในกรณีที่เกษตรกรขายผลผลิตรังไหม การเลี้ยงไหมรุ่นฤดูฝน เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตรังไหมจากการเลี้ยงไหมลูกครึ่งต่ำกว่าไหมลูกผสมพันธุ์จีน-ญี่ปุ่นกิโลกรัมละ 15.09 บาท แต่อัตราผลตอบแทนจากค่าขายรังไหมของการเลี้ยงไหมลูกผสมพันธุ์จีน-ญี่ปุ่นสูงกว่าไหมลูกครึ่งร้อยละ 10.62 การเลี้ยงไหมรุ่นฤดูหนาว เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตรังไหมจากการเลี้ยงไหมลูกครึ่งต่ำกว่าไหมลูกผสมพันธุ์จีน-ญี่ปุ่นกิโลกรัมละ 24.95 บาท และอัตราผลตอบแทนจากค่าขายรังไหมของการเลี้ยงไหมลูกครึ่งสูงกว่าไหมลูกผสมพันธุ์จีน-ญี่ปุ่น ร้อยละ 6.44 แต่รังไหมที่ได้จากการเลี้ยงไหมลูกครึ่งนำไปสาวด้วยเครื่องจักรไม่ได้ ทำให้มีตลาดรับซื้อรังไหมจากการเลี้ยงไหมลูกครึ่งน้อยมาก ดังนั้น หากเกษตรกรต้องการเลี้ยงไหมเพื่อขายผลผลิตรังไหม ควรเลี้ยงไหมลูกผสมพันธุ์จีน-ญี่ปุ่นทั้งรุ่นฤดูฝนและรุ่นฤดูหนาว ในกรณีที่เกษตรกรขายผลผลิตเส้นไหม การเลี้ยงไหมทั้งรุ่นฤดูฝนและรุ่นฤดูหนาว เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตเส้นไหมหนึ่งจากการเลี้ยงไหมลูกผสมพันธุ์จีน-ญี่ปุ่นต่ำกว่าไหมลูกครึ่ง กิโลกรัมละ 161.58 และ 30.32 บาทตามลำดับ และอัตราผลตอบแทนจากค่าขายเส้นไหมของการเลี้ยงไหมลูกผสมพันธุ์จีน-ญี่ปุ่นสูงกว่าไหมลูกครึ่งร้อยละ 32.32 และ 6.04 ตามลำดับ ดังนั้นหากเกษตรกรต้องการเลี้ยงไหมเพื่อขายผลผลิตเส้นไหม ควรเลี้ยงไหมลูกผสมพันธุ์จีน-ญี่ปุ่น นอกจากนี้ได้เปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนจากค่ายรังไหมและเส้นไหม พบว่าอัตราผลตอบแทนจากค่าขายรังไหมสูงกว่าอัตราผลตอบแทนจากค่าขายเส้นไหม สำหรับการเลี้ยงไหมแต่ละพันธุ์ทั้งรุ่นฤดูฝนและรุ่นฤดูหนาว สรุปได้ว่า เกษตรกรควรเลี้ยงไหมลูกผสมพันธุ์จีน-ญี่ปุ่น เพื่อขายผลผลิตรังไหมทั้งรุ่นฤดูฝนและรุ่นฤดูหนาว ปัญหาที่เกษตรกรผู้เลี้ยงไหมประสบอยู่คือ ขาดความรู้เกี่ยวกับการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมที่ถูกวิธี การป้องกันและกำจัดโรคและศัตรูของไหม การที่มีผลผลิตใบหม่อนต่ำและการใช้แรงงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้ต้นทุนใบหม่อนและค่าแรงในการเลี้ยงไหมสูง ตลอดจนปัญหาในด้านแหล่งรับซื้อผลผลิตรังไหมและเส้นไหมมีน้อย ข้อเสนอแนะบางประการเพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการกำหนดและวางแผนการส่งเสริมการเลี้ยงไหมเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรมากยิ่งขึ้น คือ หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการเลี้ยงไหม ควรจัดให้มีการฝึกอบรมเกี่ยวกับการดูแลรักษาสวนหม่อนและการเลี้ยงไหมที่ถูกวิธี ตลอดจนวิธีป้องกันและกำจัดโรคและศัตรูของไหมให้มากขึ้น นอกจากนี้ควรให้คำแนะนำแก่เกษตรกรในการวางแผนการเลี้ยงไหมเกี่ยวกับปริมาณไข่ไหมที่จะเลี้ยง จำนวนใบหม่อนที่ต้องใช้ และจำนวนแรงงานที่พอเหมาะกับปริมาณงานในการเลี้ยงไหม พร้อมทั้งขยายจำนวนแหล่งรับซื้อผลผลิตให้มากขึ้นและควรกำหนดราคาขั้นต่ำในการรับซื้อผลผลิตโดยพิจารณาถึงต้นทุนการเลี้ยงไหมของเกษตรกรด้วย
Other Abstract: The purpose of this thesis was to study the cost of silk production from the Chinese-Japanese hybrid silkworms and Thai-hybrid silkworms, (Thai-hybrid is Thai x Chinese-Japanese hybrid). The comparison of the cost of silk production and the rate of return from the two hybrids was also made to determine which effects the lower cost of production and the higher rate of return. Observations were made on silkworm rearing both in the rainy and the cold seasons. The size of production units chosen for observation is that which produces between 2-3 sheets of silkworm eggs (50 lay of moths per sheet), per production period. The production cost of cocoon as well as of raw silk was studied and [analyzed]. The data used in this study was the primary data collected from Silkworm Rearing Survey in 1982. [Questionnaires] were sent to farmers who reared Chinese-Japanese hybrid silkworms in Nongki District and to farmers who reared Thai-hybrid silkworms in Laharn Sai District in Burirum Province. The rate of return on sales was used to analyze the yield of the silkworm rearing. The result of the comparative study made on the production cost and the rate of return on sales revealed that for farmers selling cocoons reared during the rainy season, the cocoon production cost of the Thai-hybrid silkworms would be lower than that of the Chinese-Japanese hybrid silkworms by 15.09 baht per kilogram, while the rate of return on sales of the Chinese-Japanese hybrid cocoons would be higher than that of the Thai-hybrid cocoons by 10.62 percent. For farmers selling cocoons reared during the cold season, the cocoon production cost of the Thai-hybrid silkworms would be lower than that of the Chinese-Japanese hybrid silkworms by 24.95 baht per kilogram, while the rate of return on sales of the Thai-hybrid cocoons would be higher than that of the Chinese-Japanese hybrid cocoons by 6.44 percent. Since silk from the cocoons of the Thai-hybrid silkworms could not be reeled by machine; therefore, there was a very limited market for Thai-hybrid cocoons. So, if the farmers only rear silkworms just to sell cocoon as their products, they could rear the Chinese-Japanese hybrid both in the rainy and the cold seasons. In the case where farmers sell raw silk products from their production both in the rainy and the cold seasons, the production cost of the first grade raw silk from Chinese-Japanese hybrid silkworms would be lower than that of the Thai-hybrid silkworms by 161.58 baht in the rainy season and by 30.32 baht in the cold season, while the rate of return on sales of raw silk from Chinese-Japanese hybrid silkworms would be higher than that of the Thai-hybrid silkworms by 32.32 percent in the rainy season and by 6.04 percent in the cold season. Therefore, if the farmers want to sell only raw silk products, they should concentrate on the Chinese-Japanese hybrid. In addition, from the comparative study between the rate of return on sales of cocoons and the rate of return on sales of raw silk products from both the rainy and the cold season productions, it was found that the rate of return of selling cocoons was higher than that of raw silk in both seasons. From the above study, it was concluded that the farmers should raise Chinese-Japanese hybrid silkworms both in rainy and cold seasons in order to sell cocoons as their products. The problems with which the farmers are facing are as follows: lack of knowledge in proper techniques of rearing silkworms and in protection and control of silkworm diseases and pests, short supply and high cost of production of mulberry leaves, high cost of labour due to inefficiency, and the still limited markets for cocoons and raw silk products. Recommendations to solve the above mentioned problems are as follow :- First, Government agencies, responsible for promoting silkworm rearing, should offer more training courses on appropriate rearing techniques of sericulture and silkworm disease and insect pest controls. Secondly, [a well-coordinated] plan should be conceived in advance concerning the size of cocoon production, mulberry plantation needed as well as proper amount of labour to correspond to the size of production. Finally, the government should help expanding markets and set minimum guaranteed price of raw silk with due consideration of its production cost.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24884
ISSN: 9745627437
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Niyada_Vi_front.pdf582.92 kBAdobe PDFView/Open
Niyada_Vi_ch1.pdf306.54 kBAdobe PDFView/Open
Niyada_Vi_ch2.pdf947.04 kBAdobe PDFView/Open
Niyada_Vi_ch3.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Niyada_Vi_ch4.pdf962.58 kBAdobe PDFView/Open
Niyada_Vi_ch5.pdf815.62 kBAdobe PDFView/Open
Niyada_Vi_ch6.pdf419.47 kBAdobe PDFView/Open
Niyada_Vi_back.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.