Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24912
Title: | การประเมินคุณค่าหนังสือชีวประวัติของคนไทยที่พิมพ์จำหน่ายระหว่าง พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2523 |
Other Titles: | An evaluation of Thai biographies published from 1932-1980 |
Authors: | รัชนีกร อินเล็ก |
Advisors: | สุพรรณี วราทร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | ชีวประวัติ หนังสือและการอ่าน สำนักพิมพ์และการพิมพ์ |
Issue Date: | 2526 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินคุณค่าหนังสือชีวประวัติของคนไทยที่พิมพ์จำหน่ายระหว่างปีพุทธศักราช 2475 -2523 สมมุติฐานการวิจัยคือหนังสือชีวประวัติของคนไทยในช่วงเวลาดังกล่าวมีจำนวนมาก และมีประเภทต่าง ๆ แต่ส่วนใหญ่ยังไม่ได้มาตรฐานครบถ้วนในด้านเนื้อหาและการจัดพิมพ์ แม้ว่าหนังสือชีวประวัติแบ่งออกได้หลายประเภท แต่การวิจัยเรื่องนี้จำกัดเฉพาะ 2 ประเภทคือชีวประวัติและอัตประวัติ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ หนังสือชีวประวัติของคนไทยที่มีตัวเล่มอยู่บนชั้นเปิด* ในหอสมุดแห่งชาติและหอสมุดกลางของมหาวิทยาลัย 5 แห่งในเขตกรุงเทพมหานคร รวมจำนวนทั้งหมด 336 เรื่อง เป็นหนังสือชีวประวัติ 274 เรื่อง และหนังสืออัตประวัติ 62 เรื่อง *บัญญัติศัพท์โดยจารุวรรณ สินธุโสภณ( 2521 : 88 ) หมายถึงการจัดวางหนังสือและวัสดุอื่น ๆ ที่ผ่านการจัดทางเทคนิคห้องสมุดแล้ว วางไว้บนชั้นและเปิดโอกาสให้ผู้ใช้หยิบใช้เองอย่างอิสระ ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า open access shelves หรือ open shelves หรือ opening shelving. การประเมินคุณค่าใช้เกณฑ์ 2 ชุด สำหรับหนังสือชีวประวัติแต่ละชนิดเกณฑ์ดังกล่าวจัดทำขึ้นโดยการรวบรวมทฤษฎี และข้อมูลจากหนังสือ วิทยานิพนธ์ บทความจากวารสารทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ ตลอดจนจากการสัมภาษณ์ และแบ่งออกตามลักษณะที่สำคัญของหนังสือ 6 ด้าน คือ ลักษณะภายนอกของหนังสือ ความน่าเชื่อถือ เนื้อเรื่อง การเสนอเนื้อหา ส่วนประกอบอื่น ๆ และคุณภาพการผลิต หนังสือชีวประวัติแต่ละเล่มที่ประเมินจะได้คะแนนตามคุณลักษณะที่ตรงตามเกณฑ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการทางสถิติ คืออัตราร้อยละค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและโค้งปกติ ตลอดจนใช้วิธีคำนวณค่า Z-test เพื่อเปรียบเทียบสัดส่วนของระดับคุณภาพโดยกำหนดระดับความมีนัยสำคัญที่ .05 ผลการวิจัยสรุปได้ว่า หนังสือชีวประวัติและหนังสืออัตประวัติของคนไทยส่วนใหญ่มีระดับคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง เมื่อจำแนกตามลักษณะทั้ง 6 ด้านดังกล่าว ปรากฏว่าทั้งหนังสือชีวประวัติและหนังสืออัตประวัติมีจำนวนเรื่องส่วนมากในด้านเนื้อเรื่องอยู่ในเกณฑ์ดีส่วนด้านอื่น ๆ มีจำนวนเรื่องส่วนมากอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ยกเว้นแต่ด้านความน่าเชื่อถือ ที่หนังสือชีวประวัติมีจำนวนเรื่องส่วนมากมีระดับคุณภาพในเกณฑ์ปานกลาง แต่หนังสืออัตประวัติ มีระดับคุณภาพในเกณฑ์ไม่ดี ไม่มีคุณลักษณะย่อยข้อใดในด้านส่วนประกอบอื่น ๆ ที่มีจำนวนเรื่องในระดับมาก และในทางตรงข้าม ในด้านเนื้อหาก็ไม่มีคุณลักษณะย่อยข้อใดมีจำนวนเรื่องในระดับน้อย คุณลักษณะที่มีจำนวนเรื่องในระดับมากตรงกันทั้งในหนังสือชีวประวัติและอัตประวัติของคนไทย คือการมีคำนำ คำปรารภหรือคำชี้แจงเกี่ยวกับหนังสือเล่มนั้น เป็นเรื่องของบุคคลที่น่าสนใจ ใช้ภาษาและรูปประโยคที่อธิบายความได้ชัดเจน มีความหมายตรงและอ่านเข้าใจง่ายมีความถูกต้องเกี่ยวกับประวัติบุคคลเป็นส่วนมาก มีความถูกต้องเกี่ยวกับสถานที่ เวลาและเหตุการณ์เป็นส่วนมาก และตัวพิมพ์มีขนาดเหมาะสม คุณลักษณะซึ่งมีอยู่ในหนังสือชีวประวัติและหนังสืออัตประวัติของคนไทยที่มีจำนวนเรื่องในระดับน้อยได้แก่ การระบุประวัติย่อของผู้เรียน ระบุแหล่งข้อมูลที่นำมาใช้อ้างอิงในรูปของเชิงอรรถ และบรรณานุกรม มีส่วนพิเศษอื่น ๆ เช่นดรรชนี แผนที่ แผนภูมิและภาคผนวก และใช้กระดาษคุณภาพดีในการจัดพิมพ์ ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงหนังสือชีวประวัติของคนไทยให้มีคุณภาพดีขึ้น มีดังนี้ ผู้เขียนควรพัฒนาผลงานของตนให้มีคุณลักษณะตามลักษณะของหนังสือชีวประวัติที่ดี ระบุแหล่งข้อมูลที่นำมาอ้างถึงในรูปแบบของเชิงอรรถและบรรณานุกรม ตลอดจนวิเคราะห์คัดเลือกข้อมูลที่นำมาอ้างถึงอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนผู้จัดพิมพ์ควรเพิ่มทุนในการผลิตให้มากขึ้นและชักชวนให้ผู้เขียนได้จัดทำต้นฉบับให้สมบูรณ์ ถูกต้องตามแบบแผนและบรรณารักษ์ควรจัดหาหนังสือชีวประวัติที่มีคุณสมบัติเข้าข่ายหนังสือชีวประวัติที่ดีเข้ามาในห้องสมุด และแนะนำแก่ผู้ใช้ นอกจากนี้ควรชี้แนะข้อบกพร่องของหนังสือชีวประวัติและให้ข้อเสนอแนะในการผลิตหนังสือชีวประวัติที่ดีแก่ผู้จัดพิมพ์ |
Other Abstract: | The purpose of this research is to evaluate Thai biographies published from 1932 – 1980. The hypothesis is that a great number of Thai biographical writings were published in various kinds during that time, but most of them are not qualified in contend and format. This research is limited on 2 types of biographical writings, the biography and the autobiography. Population in this research are Thai biographies 0n open shelves in the National Library and 5 central university libraries in Bangkok. The Total number of books evaluated are 336 title : 274 biographies and 62 autobiographies. Two criteria are used to evaluate each kind of biographical writings. The criteria are built from theories and data collected from books, thesis, articles in both Thai and English and interviews. Each criterian is devided into 6 aspects : format, reliability, content, presentation of content, special features and printing. The books evaluated get points according to their qualities. The data are analysed by statistical methods in the form of percentage, mean, standard deviation and normal curve. The Z – test is also used to test the proportions in quality at critical region .05. The results 0f this research presented by grading show that most of Thai biographies are at medium grade in quality. According to 6 aspects of biographical writing mentioned above, most of the biographies and autobiographies are at good grade in content and are at medium grade in others aspects. The 0nly difference is in reliability that biographies are at medium grade but autobiographies are at low grade. A great number of biographies are unqualified to be counted at good grade in special features. On the contrary, they can be counted at good grade because of their contents. The qualifications that appear in most of Thai biographies and autobiographies are : introduction or preface ; interesting person ‘ s life ; direct and concise language ; correct and truthful informations on person ‘ s history, place and time ; and appropriate book face. On the other hand, the qualifications that appear in a small number of both biographies and autobiographies are : informations on writers : record of information sources in the form of footnote and biographies ; special features (index, map, chart and appendix ) ;and high quality papers. Some suggestions for improving Thai biographies are :- The writer should realize the qualification of good biographies and use them as a guide for their works. Besides, he should record the information sources in the form of footnote and biography, and make date analysis before use. The publisher should increase budgets on publishing biographies and suggest the writers produce qualified works. The librarian should provide qualified biographies for the library and made them known to the users. Besides, he should make their comments on Thai biographical writings to publishers and suggest them some advantageous ways for their good works. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บรรณารักษศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24912 |
ISBN: | 9745617806 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Rachaneekorn_In_front.pdf | 627.6 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Rachaneekorn_In_ch1.pdf | 874.2 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Rachaneekorn_In_ch2.pdf | 1.1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rachaneekorn_In_ch3.pdf | 671.76 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Rachaneekorn_In_ch4.pdf | 2.42 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rachaneekorn_In_ch5.pdf | 781.57 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Rachaneekorn_In_back.pdf | 4.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.