Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24971
Title: การถ่ายโยงเนื้อหาทางเพศจากวรรณกรรมสู่ภาพยนตร์เรื่อง "จัน ดารา"
Other Titles: Intertextuality of sexual context from "Chan Dara" novel in to film
Authors: วรางคณา จันลา
Advisors: กาญจนา แก้วเทพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่อง การถ่ายโยงเนื้อหาทางเพศจากวรรณกรรมสู่ภาพยนตร์เรื่อง “จัน ดารา” นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงลักษณะของการถ่ายโยงเนื้อหาทางเพศจากสื่อนวนิยายโดยการเปรียบเทียบกับสื่อภาพยนตร์ และปัจจัยที่มีผลต่อการถ่ายโยงเนื้อหาทางเพศ โดยอาศัยแนวคิดเรื่องการเชื่อมโยงเนื้อหา (Intertextuality) และวิเคราะห์เชิงสัญญะวิทยา มาเป็นกรอบในการศึกษาวิจัย ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า การถ่ายโยงเนื้อหาทางเพศซึ่งประกอบไปด้วย ความบกพร่องทางเพศ กามวิปริต และการทำแท้ง ในสื่อนวนิยายเรื่อง จัน ดารา ใช้ลักษณะของการถ่ายโยงเนื้อหาใน 3 ประเด็น ซึ่งประกอบไปด้วย 1. การใช้การบรรยาย 2. การใช้การเปรียบเทียบ 3. การใช้บทสนทนาในการสื่อเนื้อหาทางเพศ ส่วนการถ่ายโยงเนื้อหาทางเพศในสื่อภาพยนตร์ ใช้ลักษณะของการถ่ายโยงเนื้อหาใน 5 ประเด็น ซึ่งประกอบไปด้วย 1. การใช้การบรรยาย 2. การใช้การเปรียบเทียบ 3. การใช้บทสนทนา 4. การใช้ภาพในการสื่ออารมณ์ทางเพศของตัวละคร และ 5. การใช้เสียงในการสื่ออารมณ์ทางเพศของตัวละคร เมื่อมีการนำเนื้อหาทางเพศที่ปรากฏในสื่อนวนิยายมาศึกษาเปรียบเทียบถึงการถ่ายโยงเนื้อหาทางเพศกับสื่อภาพยนตร์เรื่อง จัน ดารา สามารถสรุปได้ว่า ในสื่อภาพยนตร์ส่วนใหญ่มีการคงเดิมเนื้อหาตามนวนิยาย มีการเพิ่มเติม การปรับเปลี่ยน และการตัดทอนเนื้อหาในระดับที่ใกล้เคียงกันทั้งนี้ เกิดจากปัจจัยที่มีต่อการถ่ายโยงเนื้อหา ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ปัจจัย คือ 1. ปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการถ่ายโยงเนื้อหา อันได้แก่ การใช้องค์ประกอบทางเทคนิคภาพยนตร์และการใช้สัญญะ 2. ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการถ่ายโยงเนื้อหา ซึ่งประกอบไปด้วย บรรทัดฐานของสัมคมไทยและพระราชบัญญัติของภาพยนตร์ไทย พ.ศ. 2473 และ 3. ปัจจัยที่เกี่ยวกับคุณสมบัติของสื่อทั้งสองประเภท
Other Abstract: This research, entitled “Intertextuality of sexual context from “CHAN DARA” novel in to film,” explores the nature of the transfer of sexual content through comparison of the novel and cinematic medium, as well as the factors affecting the transfer. The study uses the concept of intertextuality and semiology as analytical framework and qualitative measures as the research methodology. The researcher found that the transfer of sexual content in Novel including Sexual impotence, sexual perversity and abortion. It use three characteristic of content transferations in sexual content which are explanation, comparison and conversation. For the transfer of sexual content in cinema, it has two more addition characteristic from novel. By using image and sound of the actor to perform sexual emotion. The study of comparison between transfer of sexual content in Novel and in Cinema. It can be concluded that most of movie media maintain novel content. Beside that addition, modification and extraction of content have same level. This has three factors affecting the transfer of content which are factor which has benefit to transfer of content, factor which is obstrucle to transfer of content. The use of different cinematic technique including image sizes and semiology. Factor which has qualification invole the media. Composite of Thailand’s prevailing social conventions, the 1930 Film Act, and the differences between Literary and cinematic media.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24971
ISBN: 9741712049
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Warangkhana_ch_front.pdf3.12 MBAdobe PDFView/Open
Warangkhana_ch_ch1.pdf4.13 MBAdobe PDFView/Open
Warangkhana_ch_ch2.pdf13.54 MBAdobe PDFView/Open
Warangkhana_ch_ch3.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Warangkhana_ch_ch4.pdf43.31 MBAdobe PDFView/Open
Warangkhana_ch_ch5.pdf3.54 MBAdobe PDFView/Open
Warangkhana_ch_ch6.pdf2.09 MBAdobe PDFView/Open
Warangkhana_ch_back.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.