Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24981
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้าใจการใช้เครื่องสัมพันธ์ความ กับความสามารถในการอ่านเอาความภาษาอังกฤษ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นปีที่หนึ่ง
Other Titles: The relationship between understanding discourse markers and reading comprehension of university freshmen
Authors: เบญจภรณ์ ฉัตรนะรัชต์
Advisors: วาสนา โกวิทยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้าใจการใช้เครื่องสัมพันธ์ความกับความสามารถในการอ่านเอาความภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นปีที่หนึ่ง และเพื่อศึกษาความเข้าใจการใช้เครื่องสัมพันธ์ความ รวมทั้งความสามารถในการอ่านเอาความของนักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นปีที่หนึ่ง ในการดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 เป็นแบบสอบวัดความเข้าใจการใช้เครื่องสัมพันธ์ความ ฉบับที่ 2 เป็นแบบสอบวัดความสามารถในการอ่านเอาความแบบสอบทั้งสองฉบับนี้ได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 8 ท่าน และการวิเคราะห์เพื่อหาความเที่ยง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่หนึ่ง ไม่จำกัดสาขาวิชาเอก ซึ่งลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ภาคการศึกษาที่สอง ปีการศึกษา 2523 จากมหาวิทยาลัย 4 แห่ง จำนวน 305 คน นำผลที่ได้จากการทดสอบมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ สรุปผลของการวิจัยได้ดังนี้ 1. คะแนนความเข้าใจการใช้เครื่องสัมพันธ์ความ มีความสัมพันธ์กับคะแนนความสามารพในการอ่านเอาความ ในทางบวกโดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2. คะแนนความเข้าใจการใช้เครื่องสัมพันธืความของนักศึกษาค่อนข้างต่ำ คือ สามารถทำคะแนนในแบบสอบคิดเป็นร้อยละเฉลี่ย 38.95 จากคะแนนเต็ม 3. คะแนนความสามารถในการอ่านเอาความภาษาอังกฤษของนักศึกษาค่อนข้างต่ำ คือสามารถทำคะแนนในแบบสอบคิดเป็นร้อยละเฉลี่ย 54.05 จากคะแนนเต็ม
Other Abstract: This study was undertaken as an effort to study the ability in understanding discourse markers and reading comprehension of university freshmen. The overarching purpose of the study was the exploration of the relationship between understanding discourse markers and reading comprehension. The subjects used in the study were three hundred and five university freshmen who enrolled in Foundation English course in four universities in the second semester of 1980-1981 academic year. Two tests were devised in an attempt to measure the understanding of discourse markers and to measure reading comprehension ability. The two tests were administered in 60-minute session. A pilot study had been conducted to determine the amount of time needed to complete the test as well as to determine the general feasibility of the study. The data were calculated to determine the arithmetic. 1. The simple correlation coefficient between understanding discourse markers and reading comprehension ability was positive and significant at the .001 level; 2. The percentage of the students’ mean score of the understanding discourse markers was 38.95; 3. The percentage of the students’ mean score of the reading comprehension test was 54.05.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24981
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Benjaporn_Ch_front.pdf363.29 kBAdobe PDFView/Open
Benjaporn_Ch_ch1.pdf521.5 kBAdobe PDFView/Open
Benjaporn_Ch_ch2.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open
Benjaporn_Ch_ch3.pdf434.77 kBAdobe PDFView/Open
Benjaporn_Ch_ch4.pdf321.85 kBAdobe PDFView/Open
Benjaporn_Ch_ch5.pdf490.2 kBAdobe PDFView/Open
Benjaporn_Ch_back.pdf739 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.