Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25000
Title: | การลดปริมาณสารฟลูออเรสเวนต์ที่ใช้ในกระบวนการเคลือบหลอด |
Other Titles: | The reduction of fluorescent phosphors for lamp in coating process |
Authors: | วิมลวรรณ กาญจนวนิชกุล |
Advisors: | จิตรา รู้กิจการพานิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดปริมาณการใช้สารฟลูออเรสเซ็นต์ที่เป็นสี Daylight ในหลอดไฟชนิด 36 วัตต์ และ 18 วัตต์ ในโรงงานหลอดไฟแห่งหนึ่ง เพื่อหาต้นทุนต่ำสุดแต่คุณภาพยังคงเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพหลอดไฟของกลุ่มประเทศยุโรป (IEC) และความต้องการของลูกค้าคือ ค่าความส่องสว่าง ค่าประสิทธิภาพความส่องสว่างสีของแสงและคุณลักษณะภายนอก โดยการดำเนินการทดลองนี้จะแบ่งเป็น 5 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นตอนการกำหนดปัญหา : จัดตั้งทีมทำการระดมสมองสำรวจปัญหา กำหนดเป้าหมายและขอบเขต 2) ขั้นตอนการวัด : คัดเลือกตัวแปรวัดปัจจัยป้อนเข้าโดยใช้ แผนผังก้างปลา ตารางสาเหตุและผล ตลอดจนทำการวิเคราะห์ความแม่นยำของระบบเครื่องมือวัดที่เกี่ยวข้อง 3) ขั้นตอนการวิเคราะห์ : ทำการทดสอบสมมติฐานของตัวแปรวัดปัจจัยป้อนเข้าที่ผ่านการคัดเลือก 4) ขั้นตอนการปรับปรุง : ทำการออกแบบการทดลองแบบบล็อกการทำซ้ำเพื่อหาอิทธิพลของตัวแปรวัดปัจจัยป้อนเข้าซึ่งเป็นคุณสมบัติสารฟลูออเรสเซ็นต์จากบริษัทผู้ผลิต 5 รายที่นำมาพิจารณาและน้ำหนักสารฟลูออเรสเซ็นต์มี 4 ระดับ (2.20, 2.60, 3.00 และ 3.40 กรัม) โดยทำการทดลองที่หลอดชนิด 36 วัตต์ (เคลือบสารรองพื้น) จากผลการทดลองพบว่าสองรายเท่านั้นที่ให้คุณสมบัติของสารฟลูออเรสเซ็นต์มีคุณภาพได้ตามมาตรฐานที่มีน้ำหนักสารฟลูออเรสเซ็นต์ที่เหมาะสมคือ 2.40 ± 0.10 กรัม จากนั้นทำการทดลองในหลอดชนิดเดิมนี้เพื่อหาอิทธิพลของสารรองพื้นที่มีต่อคุณสมบัติของสารฟลูออเรสเซ็นต์โดยออกแบบการทดลองแบบบล็อกการทำซ้ำโดยมีตัวแปร 3 ปัจจัยซึ่งได้แก่ คุณสมบัติของสารฟลูออเรสเซ็นต์ที่ได้ตามมาตรฐาน สารรองพื้น (มี/ไม่มี) และน้ำหนักสารฟลูออเรสเซ็นต์ 2 ระดับ (2.20 กับ 2.60 กรัม) จากผลการทดลองพบว่าการใช้สารรองพื้นให้คุณภาพด้านความส่องสว่างที่ดีกว่า สุดท้ายทำการทดลองที่หลอดชนิด 18 วัตต์ โดยออกแบบการทดลองแบบบล็อกการทำซ้ำมีตัวแปร 2 ปัจจัยซึ่งเป็น คุณสมบัติของสารฟลูออเรสเซ็นต์ที่ได้ตามมาตรฐาน และน้ำหนักสารฟลูออเรสเซ็นต์ 4 ระดับ (1.15, 1.35, 1.55 และ 1.75 กรัม) จากการทดลองพบว่าคุณสมบัติของสารฟลูออเรสเซ็นต์ที่มีคุณภาพได้ตามมาตรฐานในน้ำหนักสารฟลูออเรสเซ็นต์ที่เหมาะสมคือ 1.35 ± 0.10 กรัม 5) ขั้นตอนการควบคุม : ขั้นตอนนี้เป็นแนวทางให้บริษัทได้คัดเลือกคุณสมบัติของสารฟลูออเรสเซ็นต์หลักที่มีคุณภาพได้ตามมาตรฐานและให้ราคาต่ำกว่าไปทำการทดลองใช้ในสายการผลิต และพบว่าคุณสมบัติของสารฟลูออเรสเซ็นต์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานและที่ราคาต่ำกว่าสามารถใช้ในสายการผลิตได้จริง ทำให้บริษัทจะสามารถลดน้ำหนักสารฟลูออเรสเซ็นต์จากปัจจุบันได้อันจะส่งผลให้ต้นทุนหลอดลดลงได้ไปประมาณ 3 % ส่วนคุณสมบัติของสารฟลูออเรสเซ็นต์อีกรายหนึ่งทางบริษัทก็จะใช้เป็นบริษัทผู้ผลิตสำรอง |
Other Abstract: | The objective of this thesis is to reduce the amount of Daylight fluorescent powder used in both 36W&18W lamp types. The study aims to find out the lowest cost of fluorescent powder while maintaining lamp quality to International European Standard (IEC). This comprises of lumen output, lumen maintenance and texture appearance as a key process output variable (KPOV). This experiment was carried out by using 5 phases structure approach. 1) Define phase: to define problem, objective and scope. 2) Measuring phase: to define key process input variable (KPIV) and analyze the precision of measurement system. 3) Analyzing phase: to do Hypothesis test for screening significant KPIV. 4) Improving phase : to use Design of experiment (DOE) to analyze interested KPIV with blocking on replicate. The interested KPIV was the fluorescent powder made to 5 characteristics and 4 powder weight levels (2.20, 2.60, 3.00 & 3.40 g). The experiment results in the precoat 36W lamps showed that only 2 characteristics of fluorescent powder (first & second characteristics) at lowest powder weight level (2.40 ± 0.10g) were acceptable in quality. These 2 characteristics were further tested DOE in order to verify the influence of the precoat layer; whether or not it impacts to the lumen output in 36W. The results showed the lamp with precoat layer gave a better lumen output. Later, the two outstanding fluorescent powders were also applied to the precoat 18W lamps with 4 powder weight levels (1.15, 1.35, 1.55 &1.75g). The fluorescent powder at lowest powder weight (1.35 ± 0.10g) from both suppliers were found to be above standard as well. 5) Controlling phase : the fluorescent powder of the cheapest one was selected for testing on the production line. The test results showed according to standard and it was selected to be used further while the second was kept for bargaining power. Finally, the cost reduction achieved will be about 3 %. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมอุตสาหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25000 |
ISBN: | 9741738552 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wimonwan_ka_front.pdf | 3.67 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wimonwan_ka_ch1.pdf | 2.89 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wimonwan_ka_ch2.pdf | 6.35 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wimonwan_ka_ch3.pdf | 5.85 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wimonwan_ka_ch4.pdf | 6.73 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wimonwan_ka_ch5.pdf | 8.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wimonwan_ka_ch6.pdf | 879.51 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wimonwan_ka_ch7.pdf | 2.34 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wimonwan_ka_back.pdf | 10.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.